2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง พบว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตมาก ประมาณปีละกว่า 5,000 ราย เฉลี่ยวันละ 14 ราย แต่ละปีพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นประมาณ 10,000 ราย อายุที่พบเฉลี่ยประมาณ 30-50 ปี ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 มีอายุต่ำกว่า 60 ปี สาเหตุการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ชื่อว่า ฮิวแมนเพ็บพิโลม่าไทป์ 16 และ18 หรือที่เรียกว่า เอชพีวี (Human Papillomavirus : HPV) กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าคนทั่วไปได้แก่ ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน หรือติดเชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อเริมโรคหรือเอดส์ มีประวัติการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม รวมทั้งผู้หญิงที่สูบบุหรี่เป็นประจำด้วย (สำนักงานพัฒนาระบบระบบข้อมูลข่าวสุขภาพ)
อย่างไรก็ตาม การดำเนินของโรคนี้ค่อนข้างช้า เริ่มตั้งแต่เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง จนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง จะใช้เวลาประมาณ 10-12 ปี ทำให้ผู้หญิงที่เป็นโรคมักจะไม่รู้ตัวมาก่อน โดยพบว่าผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกกว่า ร้อยละ 80 จะมาพบแพทย์ในระยะที่เซลล์มะเร็งลุกลามแล้ว ยิ่งหากลุกลามไปอวัยวะอื่นนอกเชิงกราน การรักษาจะไม่ค่อยได้ผล ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาประมาณรายละ 1 ล้านบาท โอกาสรักษาหายขาดมีน้อยมาก และมักจะเสียชีวิตหลังจากเป็นแล้วประมาณ 5 ปีขณะนี้มีระบบการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ที่สามารถตรวจพบรอยโรคในระยะก่อนเป็นมะเร็ง และรักษาก่อนที่เซลล์มะเร็งจะลุกลาม สามารถรักษาหายขาดได้เกือบ 100 เปอร์เซนต์ ดังนั้นผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้ว ให้ตรวจภายในที่เรียกว่า วิธีแป็บสเมียร์ (Pap Smear) โดยป้ายเยื่อบุปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์มะเร็งทุก 5 ปี จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า จะช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูกลงได้ร้อยละ 84 และลดการตายของผู้หญิงจากโรคนี้ได้มาก (สำนักงานพัฒนาระบบระบบข้อมูลข่าวสุขภาพ)
จากผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี อายุ 30-60 ปี ในตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง ปี 2563พบว่า มีสตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ 30-60 ปี จำนวน 1,554 คน ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 5.01 ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อย ปัญหาที่เป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคือปัญหาด้านความรู้และมีทัศนะคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจอีกทั้งอาจเข้าใจว่าโรคมะเร็งปากมดลูกไม่เกิดกับทุกคนเพราะในหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ยังพบผู้ป่วยน้อยเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเจาะไอร้อง อำเภอเจาะไอร้อง จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการควบคุมป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ตำบลจวบอำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ปี 2564 เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกได้มากขึ้น และจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2021
กำหนดเสร็จ 30/09/2021
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพที่ถูกต้องเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
3. สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับส่งต่อและรักษาทุกราย