กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

รพ.สต.ทุ่งใหญ่

ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

10.00
2 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

 

5.00
3 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

 

15.00

การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหาร จากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุง การประกอบอาหารเองที่บ้านหรือใน ครัวเรือน อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของ การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือก รับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลัก โภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบ คุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ในปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหาร ไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน สะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือน หรือการจัดเลี้ยง อาหารในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นการควบคุม ดูแล ให้การประกอบกิจการการจัดบริการอาหารโดยสถาน ประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม เน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ได้เห็นความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภคและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารโดยการลดใช้สารเคมี ส่งเสริมให้ใช้เกษตรอินทรีย์ในภาคครัวเรือน จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้เกษตรอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมีในภาคครัวเรือน และให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริโภคสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆในชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

15.00 10.00
2 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

10.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 90
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ตั้งคณะทำงานโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ตั้งคณะทำงานโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แต่งตั้งคณะทำงานโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2564 ถึง 7 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจด้านสถานการณ์ในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์โครงการ ให้ประชาชนรับทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 7 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้อันตรายจากสารเคมีฆ่าแมลง และประโยชน์จากเกษตรอินทรีย์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้อันตรายจากสารเคมีฆ่าแมลง และประโยชน์จากเกษตรอินทรีย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้อันตรายจากสารเคมีฆ่าแมลง และประโยชน์จากเกษตรอินทรีย์แก่ประชาชน - ค่าอาหารกลางวัน 50 คนx60 บ. = 3,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนx30 บ.x2มื้อ = 3,000 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ 6 ชั่วโมงx600บ.= 3,600 บาท -ค่าป้ายไวนิลโครงการ 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤษภาคม 2564 ถึง 13 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ และสามารถเลือกบริโภคอาหารที่ปราศจาคยาฆ่าเเมลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10050.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 ตรวจหาสารเคมีในเลือดจากสารฆ่าแมลงในกลุ่มประชาชนที่บริโภคผัก และเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 ตรวจหาสารเคมีในเลือดจากสารฆ่าแมลงในกลุ่มประชาชนที่บริโภคผัก และเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาสารเคมีในเลือดจากสารฆ่าแมลงในกลุ่มประชาชนที่บริโภคผัก และเกษตรกร
-ค่าชุดตรวจสารเคมีกระดาษโคลีนเอสเตอเรสพร้อมอุปกรณ์ 100 ชุด = 2,000 บาท -เข็มเจาะปลายนิ้ว 100 ชิ้น = 350 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากรฐานเจาะเลือด 2 คนx3ชั่วโมงx600บ. =3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2564 ถึง 19 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่มีสารเคมีในเลือดสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5950.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้ประชาชนที่พบสารเคมีตกค้างในเลือด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้ประชาชนที่พบสารเคมีตกค้างในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ประชาชนที่พบสารเคมีตกค้างในเลือด -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนx30บ.=1,500 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชั่วโมงx600บ. =1,800 บาท -ค่ารางจืดแคปซูล 50 ชุดx100บ.=5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2564 ถึง 27 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร และการใช้สินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงเกษตรกรมีการใช้เกษตรอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมีในระดับครัวเรือน


>