กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการลดปริมาณขยะ การทิ้ง การคัดแยกขยะและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

หมู่ที่ 1-6 ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง เนื่องจากมีประชาชนอาศัยเพิ่มมากขึ้น มีการปลูกที่อยู่อาสัยเพิ่มมากขึ้น มีร้านค้าจำหน่ายอาหารเพิ่มขึ้น ประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านจากเดิมที่เคยปรุงอาหารรับประทานเอง ปัจจุบันหันมาซื้ออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเวลาเพราะเร่งรีบในการประกอบอาชีพ เช่น ข้าราชการ เกษตรกร รับจ้าง เป็นต้น จึงส่งผลให้มีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น บางบ้านยังใช้วิธีกำจัดและจัดการแบบเดิมๆด้วยการเทกองไว้กลางแจ้ง ฝังกลบ หรือใช้วิธีเผาทำลาย ทำให้เกิดควันลอยในอากาศ เป็นการเพิ่มมลภาวะโลกร้อน และของเหลือทิ้งจำพวกเศษอาหารที่เหลือจากปรุงอาหารการบริโภค รวมทั้งเศษอาหารพลาสติก และสารพิษจากขยะได้แพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติมากขึ้น และของที่ไม่ใช้แล้วขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งอยู่ตามถนน แม่น้ำ ลำคลอง ที่สาธารณะต่างๆส่วนใหญ่จะเป็นใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก เศษดิน เป็นต้น ซึ่งมูลฝอยเหล่านี้ หากไม่กำจัดและมีการจักการอย่างถูกวิธี นอกจากจะทำให้ชุมชนหมู่บ้านขาดความสะอาดเรียบร้อย ยังทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ำและการปนเปื้อนของอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรคที่ก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยทุกประเภท

 

0.00
2 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับแกนนำชุมชนในการลดปริมาณขยะ การทิ้งการคัดแยกขยะและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

 

0.00
3 เพื่อลดอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากอันตรายในทุกๆชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 06/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตรเป็นเงิน 1,050 บาท
  2. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 18 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
  3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 180 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
  4. ค่าอาหารกลางวัน 180 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท
  5. ค่าอาหารว่างเครื่องดื่ม จำนวน 180 คนๆละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 6 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนทั้ง 6 หมู่บ้าน มีความรู้ความเข้าใจและสามารถคัดแยกขยะอันตราย ออกจากขยะทั่วไปด้วยตนเอง
2. ลดอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากอันตรายในทุกๆหมู่บ้านในองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง
3. ประชาชนทั้ง 6 หมู่บ้าน ไม่ทิ้งขยะอันตรายรวมกับขยะทั่วไปในถังขยะที่ อบต.ตะบิ้งวางไว้


>