กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการลดปริมาณขยะ การทิ้ง การคัดแยกขยะและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี ประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3053-1-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 20 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 6 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 37,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสูซานา ดือราแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง เนื่องจากมีประชาชนอาศัยเพิ่มมากขึ้น มีการปลูกที่อยู่อาสัยเพิ่มมากขึ้น มีร้านค้าจำหน่ายอาหารเพิ่มขึ้น ประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านจากเดิมที่เคยปรุงอาหารรับประทานเอง ปัจจุบันหันมาซื้ออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเวลาเพราะเร่งรีบในการประกอบอาชีพ เช่น ข้าราชการ เกษตรกร รับจ้าง เป็นต้น จึงส่งผลให้มีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น บางบ้านยังใช้วิธีกำจัดและจัดการแบบเดิมๆด้วยการเทกองไว้กลางแจ้ง ฝังกลบ หรือใช้วิธีเผาทำลาย ทำให้เกิดควันลอยในอากาศ เป็นการเพิ่มมลภาวะโลกร้อน และของเหลือทิ้งจำพวกเศษอาหารที่เหลือจากปรุงอาหารการบริโภค รวมทั้งเศษอาหารพลาสติก และสารพิษจากขยะได้แพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติมากขึ้น และของที่ไม่ใช้แล้วขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งอยู่ตามถนน แม่น้ำ ลำคลอง ที่สาธารณะต่างๆส่วนใหญ่จะเป็นใบไม้ เศษกระดาษ ถุงพลาสติก เศษดิน เป็นต้น ซึ่งมูลฝอยเหล่านี้ หากไม่กำจัดและมีการจักการอย่างถูกวิธี นอกจากจะทำให้ชุมชนหมู่บ้านขาดความสะอาดเรียบร้อย ยังทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย เช่น การปนเปื้อนของแหล่งน้ำและการปนเปื้อนของอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของเชื้อโรคที่ก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยทุกประเภท

 

0.00
2 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับแกนนำชุมชนในการลดปริมาณขยะ การทิ้งการคัดแยกขยะและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

 

0.00
3 เพื่อลดอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากอันตรายในทุกๆชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 37,950.00 0 0.00
1 - 6 มิ.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 37,950.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนทั้ง 6 หมู่บ้าน มีความรู้ความเข้าใจและสามารถคัดแยกขยะอันตราย ออกจากขยะทั่วไปด้วยตนเอง
  2. ลดอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากอันตรายในทุกๆหมู่บ้านในองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง
  3. ประชาชนทั้ง 6 หมู่บ้าน ไม่ทิ้งขยะอันตรายรวมกับขยะทั่วไปในถังขยะที่ อบต.ตะบิ้งวางไว้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2564 14:31 น.