กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือด)และประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ที่ วังยาง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือด)และประชาชนกลุ่มเสี่ยง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ที่ วังยาง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลวังยาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยาง

รพ.สต.วังยาง และศาลาหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปี 2562 จังหวัดกำแพงเพชร มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 31,716 คน (อัตราป่วย 5,724.16 ต่อแสนประชากร) อำเภอคลองขลุง มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3,305 คน (อัตราป่วย 6,937.74 ต่อแสนประชากร) ตำบลวังยาง มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 285 คน (อัตราป่วย 8,110.41 ต่อแสนประชากร) จังหวัดกำแพงเ

 

250.00

โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในหลอดเลือด เป็นโรคเรื้อรัง และเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ความชุกและอุบัติการณ์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในชุมชนเมืองและในชนบท ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน และการพัฒนาประเทศ ในช่วงปีที่ผ่านมา องค์กรระดับชาติ ไม่ว่าจะเป็น องค์การอนามัยโลก องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก และรัฐบาลจากประเทศต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญต่อการจัดการปัญหาโรคเรื้อรังดังกล่าว เกิดเป็นเครือข่าย ระดับนานาชาติขึ้น โดยเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์โลกในเรืองการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ การลดอัตรา การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ร้อยละ 25 ภายในปี พ.ศ. 2568 จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ปี 2562 จังหวัดกำแพงเพชร มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 31,716 คน (อัตราป่วย 5,724.16 ต่อแสนประชากร) อำเภอคลองขลุง มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3,305 คน (อัตราป่วย 6,937.74 ต่อแสนประชากร) ตำบลวังยาง มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 285 คน (อัตราป่วย 8,110.41 ต่อแสนประชากร) จังหวัดกำแพงเพชรมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 82,187 คน (อัตราป่วย 15,086.27 ต่อแสนประชากร) อำเภอคลองขลุง มีผู้ป่วย 9,023 คน (อัตราป่วย 19,275.79 ต่อแสนประชากร) ตำบลวังยาง มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 684 คน (อัตราป่วย 19,723.18 ต่อแสนประชากร) จะเห็นว่า ตำบลวังยาง มีอัตราป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มากกว่าอัตราป่วยของจังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอคลองขลุง ตำบลวังยาง ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จำนวน 51 คน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดกรองสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง และส่งรักษาต่อเมื่อพบโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

1.จำนวนผู้ที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง และส่งรักษาต่อเมื่อพบโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

250.00 270.00
2 2.1. เพื่อส่งเสริมความรู้และแนวทางการปฏิบัติตัวให้กับประชาชนทั่วไป/ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนผู้ที่ตอบแบบสอบถามมีความรู้มากขึ้นร้อยละ80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 270
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมส่งเสริมความรู้และแนวทางการปฏิบัติให้กับประชาชนทั่วไป/ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมส่งเสริมความรู้และแนวทางการปฏิบัติให้กับประชาชนทั่วไป/ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันและ อาหารว่าง2มื้อ จำนวน90 คน ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท 2.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 100cm*400 cm จำนวน 1 ผืน ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน600บาท รวมเป็นเงิน 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่ได้รับการคัดกรองมีความรู้มากยิ่งขึ้น สามารถแนะนำการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและสามารถแนำนำคนรอบข้างได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดย การตรวจคัดกรอง โรคเบาหวาน โรคไขมัน โรคความดันโลหิตสูง ประเมินค่า BMI

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดย การตรวจคัดกรอง โรคเบาหวาน โรคไขมัน โรคความดันโลหิตสูง ประเมินค่า BMI
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เครื่องวัดความดันอัตโนมัติ จำนวน 4 เครื่องๆละ 2500 บาท            เป็นเงิน   10,000 บาท 2.เครื่องตรวจระดับไขมันแบบอัตโนมัติ ชนิดใช้สตริปตรวจ จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 2,800บาท                                 เป็นเงิน 2,800 บาท 3.สตริปตรวจระดับไขมันสำหรับใช้กับเครื่องเครื่องตรวจระดับไขมันแบบอัตโนมัติ จำนวน 270 แผ่นๆ ละ 80 บาท  เป็นเงิน 21,600 บาท 4.เครื่องชั่งน้ำหนักร่างกายมาตรฐาน จำนวน 4 เครื่องๆละ 800 บาท       เป็นเงิน 3,200 บาท รวมเป็นเงิน 37,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้ที่ได้รับการคัดกรองมากขึ้น และแนะนำผู้อื่นให้ได้รับการคัดกรองมากขึ้นด้วย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร่วมโครงการมีความรู้และทราบแนวทางการปฏิบัติในเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
2.ผู้ร่วมโครงการได้รับการการตรวจคัดกรอง โรคเบาหวานโรคไขมันโรคความดันโลหิตสูง ประเมินค่า BMI และได้รับการส่งรักษาต่อเมื่อมีภาวะผิดปกติ
3.เกิดกิจกรรมที่สนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของหน่วยงาน


>