กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ เขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด

นางสาวนูรูลอาย มามะ

โรงเรียนเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตาในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนแกนนำ อย.น้อยรายใหม่ในสถานศึกษา

 

50.00

สืบเนื่องจากรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขต้องการให้คนไทยได้บริโภคอาหาร,ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางที่ปลอดภัยจึงมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับทุกส่วนราชการและภาคประชาชนได้มีการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางร่วมกันโดยในส่วนสาธารณสุขมีหน้าที่สุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารออกตรวจผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอาหารทั่วประเทศเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชนผู้บริโภคทั่วไปและมีการขยายฐานการให้ความรู้เข้าไปในโรงเรียน เพราะนักเรียน คือ ประชาชนที่เป็นอนาคตของชาติซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในหารทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นที่ผู้ที่มีศักยภาพในตัวเองสามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผลทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักการเลือกซื้ออาหารผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางที่ปลอดภัยคณะกรรมการประสานงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนจึงได้จัดทำโครงการ อย.น้อยเพื่อนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ได้โดยเป้าหมายคือตัวแทนแกนนำนักเรียน อย.น้อย เพื่อให้นักเรียนแกนนำเป็นแบบอย่างที่ดีมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ดีใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องและอ่านฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอางก่อนใช้และสามารถเผยแพร่ข้อมูลความรู้ตลอดจนประชาสัมพันธ์โครงการได้อย่างทั่วถึงซึ่งจะส่งผลต่อการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการ อย.น้อย ปี ๒๕๖๓ พบว่านักเรียน อย.น้อยยังขาดทักษะในการตรวจสารปนเปื้อนและการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการเน้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนายังมีน้อยทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดจึงดำเนินการจัดกิจกรรมในรูปแบบของการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกแกนนำ อย.น้อยให้มีความรู้ในการตรวจสารปนเปื้อนและสามารถนำชุดทดสอบอย่างง่ายไปใช้ในตรวจอาหารในร้านค้าบริเวณโรงเรียนและชุมชนของตนเองเพื่อสะท้อนผลการสุ่มตรวจไปยังคณะผู้บริหารของแต่ละโรงเรียนพิจารณาต่อไปซึ่งจะส่งผลให้โครงการ อย.น้อยมีความยั่งยืนมากขึ้นและนักเรียนในโรงเรียนมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหารในโรงเรียนและชุมชนของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มแกนนำ อย.น้อย สามารถตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 90 ของแกนนำนักเรียน อย.น้อยสามารถตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น

50.00 45.00
2 เพื่อให้แกนนำนักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ให้เพื่อนนักเรียนและครอบครัว

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจหลังการอบรม เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 90

50.00 45.00
3 เพื่อกระตุ้นให้โรงเรียนทุกแห่งมีการดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา มีชมรม อย.น้อย และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

2.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำแผนโครงการและขออนุมัติโครงการ
  2. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและประสานโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา เพื่อเข้าร่วมโครงการ

- ไวนิลโครงการ ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 3 เมตร จำนวน 1 ป้ายๆละ 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท - ไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 2 เมตร จำนวน 2 ป้ายๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
3. จัดอบรมและพัฒนาศักยภาพ อย.น้อย
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม ครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม ครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรบ เป็นเงิน 4,500 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 4 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 4. กำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 5. สรุปและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน เพื่อเสนอผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำนักเรียน อย.น้อย สามารถตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพิ่มขึ้น
  3. โรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา มีชมรม อย.น้อย และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่รับผิดชอบโครงการ อย.น้อย ทราบ รวมทั้งให้ความสำคัญและผลักดันให้มีการดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียน ให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน
2. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และเฝ้าระวังความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเครื่องสำอางที่มีจำหน่ายในโรงเรียน ชุมชน และสามารถนำามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองในชีวิตประจำวันได้
3. โรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตามีแกนนำเป็นศูนย์การเผยแพร่ความรู้ ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคสู่ชมชน และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง


>