กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ เขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L8280-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรูลอาย มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนแกนนำ อย.น้อยรายใหม่ในสถานศึกษา
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขต้องการให้คนไทยได้บริโภคอาหาร,ใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางที่ปลอดภัยจึงมีนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับทุกส่วนราชการและภาคประชาชนได้มีการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางร่วมกันโดยในส่วนสาธารณสุขมีหน้าที่สุ่มตรวจสารปนเปื้อนในอาหารออกตรวจผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอาหารทั่วประเทศเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชนผู้บริโภคทั่วไปและมีการขยายฐานการให้ความรู้เข้าไปในโรงเรียน เพราะนักเรียน คือ ประชาชนที่เป็นอนาคตของชาติซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในหารทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นที่ผู้ที่มีศักยภาพในตัวเองสามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผลทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักการเลือกซื้ออาหารผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอางที่ปลอดภัยคณะกรรมการประสานงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนจึงได้จัดทำโครงการ อย.น้อยเพื่อนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ได้โดยเป้าหมายคือตัวแทนแกนนำนักเรียน อย.น้อย เพื่อให้นักเรียนแกนนำเป็นแบบอย่างที่ดีมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ดีใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องและอ่านฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอางก่อนใช้และสามารถเผยแพร่ข้อมูลความรู้ตลอดจนประชาสัมพันธ์โครงการได้อย่างทั่วถึงซึ่งจะส่งผลต่อการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการ อย.น้อย ปี ๒๕๖๓ พบว่านักเรียน อย.น้อยยังขาดทักษะในการตรวจสารปนเปื้อนและการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการเน้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนายังมีน้อยทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดจึงดำเนินการจัดกิจกรรมในรูปแบบของการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อฝึกแกนนำ อย.น้อยให้มีความรู้ในการตรวจสารปนเปื้อนและสามารถนำชุดทดสอบอย่างง่ายไปใช้ในตรวจอาหารในร้านค้าบริเวณโรงเรียนและชุมชนของตนเองเพื่อสะท้อนผลการสุ่มตรวจไปยังคณะผู้บริหารของแต่ละโรงเรียนพิจารณาต่อไปซึ่งจะส่งผลให้โครงการ อย.น้อยมีความยั่งยืนมากขึ้นและนักเรียนในโรงเรียนมีความปลอดภัยในการบริโภคอาหารในโรงเรียนและชุมชนของตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มแกนนำ อย.น้อย สามารถตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 90 ของแกนนำนักเรียน อย.น้อยสามารถตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น

50.00 45.00
2 เพื่อให้แกนนำนักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ให้เพื่อนนักเรียนและครอบครัว

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจหลังการอบรม เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 90

50.00 45.00
3 เพื่อกระตุ้นให้โรงเรียนทุกแห่งมีการดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา มีชมรม อย.น้อย และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

2.00 2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
26 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ 0 14,000.00 -
รวม 0 14,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้บริหารโรงเรียนและครูที่รับผิดชอบโครงการ อย.น้อย ทราบ รวมทั้งให้ความสำคัญและผลักดันให้มีการดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียน ให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืน
  2. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และเฝ้าระวังความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเครื่องสำอางที่มีจำหน่ายในโรงเรียน ชุมชน และสามารถนำามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองในชีวิตประจำวันได้
  3. โรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตามีแกนนำเป็นศูนย์การเผยแพร่ความรู้ ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคสู่ชมชน และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 00:00 น.