กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายลดเสี่ยงโรคเรื้อรังจากการทำงานปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนสตอ

กลุ่มงานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จจุบันปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในประชากรทั่วไปอย่างรวดเร็ว และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆก็คือโรคเรื้อรัง ที่สำคัญโรคเรื้อรังเหล่านี้ไม่ได้เป็นกันเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยเพียงเท่านั้น เพราะพบว่ากลุ่มคนวัยทำงานกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตราของโรคนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าผู้สูงวัย เมื่อเป็นแล้วมักเกิดอาการเรื้อรัง รักษาให้หายขาดยาก ส่งผลกระทบต่อการงานและการเงิน ซึ่งความน่ากลัวของโรคเรื้อรังอย่างหนึ่งคือมันไม่ได้แสดงอาการให้เห็นในทันที แต่จะค่อย ๆ สะสมไปเรื่อย ๆทำให้คนส่วนใหญ่ไม่เกิดความตระหนักต่อสุขภาพของตัวเองโดยเฉพาะคนวัยทำงานซึ่งร่างกายยังแข็งแรง จึงมักละเลยการใส่ใจดูแลสุขภาพ ประกอบกับพฤติกรรมในชีวิตที่ให้ความสำคัญกับการทำงาน ใช้ชีวิตเร่งรีบ พฤติกรรมการบริโภค การไม่พักผ่อนให้เพียงพอ มีความเสี่ยงต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค
แผนกกายภาพบำบัดโรงพยาบาลควนโดนจึงตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้จะเห็นได้จากปีงบประมาณ2563ที่ผ่านมาผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในแผนกกายภาพบำบัดนั้น อันดับ1มาด้วยอาการปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า และไหล่คิดเป็นร้อยละ23.29 รองลงมาคืออาการปวดหลังคิดเป็นร้อยละ7.76 และอาการข้อไหล่ติดแข็งคิดเป็นร้อยละ5.09ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนกลุ่มวัยทำงานที่ประกอบอาชีพเกษตรกรและพนักงานออฟฟิศ ทางแผนกกายภาพบำบัดโรงพยาบาลควนโดนจึงอยากเผยแพร่ความรู้และจัดการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยสอนวิธีการออกกำลังกายที่เฉพาะเจาะจงกับโรคที่เราพบบ่อยเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงโรคเรื้อรังที่เกิดจากการทำงานเป็นการบริการประชาชนเชิงรุกและแก้ปัญหาจากต้นเหตุเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนและที่สำคัญการออกกำลังกายเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่มีการหด คลายของกล้ามเนื้อ ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ประกอบด้วย ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบต่อมไร้ท่อ รวมทั้งปฏิกิริยาในการสร้างพลังงานของเซลล์กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหดตัว โดยการออกกำลังกายต้องมีการกำหนดรูปแบบ และวิธีการที่ชัดเจน มีการกระทำซ้ำๆ เพื่อเสริมสร้างหรือคงไว้ซึ่งองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายให้สมบูรณ์ ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของสมรรถภาพของหัวใจ ความแข็งแรง และกำลังของกล้ามเนื้อ ความสมดุลของร่างกาย และความอ่อนตัว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อส่งเสริม ฟื้นฟู ป้องกัน และรักษาสุขภาพของประชาชน ข้อที่ 2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการการออกกำลังกายลดเสี่ยงโรคเรื้อรังจากการทำงานได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและสามารถถ่ายถอดองค์ความรู้ในการการออกกำลังกายลดเสี่ยงโรคเรื้อรังจากการทำงานได้ 2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายลดเสี่ยงโรคเรื้อรังจากการทำงาน ปี 2564

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายลดเสี่ยงโรคเรื้อรังจากการทำงาน ปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายลดเสี่ยงโรคเรื้อรังจากการทำงาน ปี 2564 ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 300บ.x 4 ชม.= 1,200บ. ค่าอาหารชุด 80 บ.x 1 มื้อ x 40 คน =3,200บ. ค่าอาหารว่าง 25 บ.x 2 มื้อ x 40คน= 2,000บ. ค่าเอกสารคู่มือ 50 บ.x 40 คน= 2,000บ. ค่าวัสดุอุปกรณ์ = 1,000บ. รวม9,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
2.ประชาชนลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังที่มาจากการทำงาน
3.เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการออกกำลังในการดูแลตนเองมากขึ้น


>