กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็ก 0-5ปี ไร้โรคด้วยวัคซีน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพื่อให้เด็ก(0-5 ปี)ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และเพื่อให้ผู้ปกครองเด็กทราบถึงปัญหาโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

 

120.00

หลักการและเหตุผล
แม้ปัจจุบันโรคที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน จะสามารถควบคุมและป้องกันได้มาก โดยเฉพาะการให้วัคซีนในกลุ่มเด็ก โดยเริ่มมีการให้ตั้งแต่แรกเกิดและมีการนัดมารับอย่างต่อเนื่องเพื่อการรับวัคซีนตามสถานบริการต่างๆโดยกระทรวงสาธารณสุขต้องการจะให้เด็กทุกคน โดยเฉพาะเด็ก ๐-๕ ปี ได้รับวัคซีนครบทุกคนและได้รับอย่างมีประสิทธิภาพ
รพ.สต.กะลูบี รับผิดชอบ ๔ หมู่บ้าน มีประชากร ๓,๒92 คน มีเด็กอายุ ๐-๕ ปี จำนวน 285 คน โดยในรอบปีที่ผ่านมา ปี 2561 มีสถิติการมารับบริการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 89.58 ปี ๒๕62 มีสถิติการมารับบริการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 89.51 ปี 2563 มีสถิติการมารับบริการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 89.6 ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ รพ.สต.กะลูบี ต้องมีการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตลอดจนต้องมีการปรับแผนและรูปแบบการดำเนินงานตามสภาพของพื้นที่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด แต่อย่างไรก็ดีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุ ๐-๕ ปี เป็นปัญหาที่สำคัญของ รพ.สต.กะลูบี เนื่องจากหลายสาเหตุมาจากการขาดความรู้ในด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ผู้ปกครองลืมนัด มีการย้ายถิ่นฐาน มีการประกอบอาชีพรับจ้างระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย หรือความเชื่อที่ผิดๆของผู้ปกครองตลอดจนนิสัยการขาดการเอาใจใส่ในการดูแลบุตรที่ไม่ถูกต้องและสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความยากจน สาเหตุเหล่านี้มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กเกิดภาวะภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ทั้งในด้านการเจริญเติบโตตามวัย ซึ่งจะมีผลต่อตัวเด็กเอง ครอบครัวและประเทศชาติ การช่วยเหลือวิธีหนึ่งที่จะทำให้เด็กได้รับภูมิคุ้มกันโรคดีขึ้นคือการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กในเขตรับผิดชอบด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ถูกต้อง
ด้วยการนี้ทาง รพ.สต.กะลูบี จึงได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดอบรมเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก ให้ทราบถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนทุกชนิดรวมไปถึงความเสีย หากไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ทาง รพ.สต.กะลูบี ได้จัดทำโครงการเด็ก ๐-๕ ปีไร้โรคด้วยวัคซีน เพื่อลดปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บที่จะเกิดได้ในอนาคต และ ให้เด็ก ๐-๕ ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก ๐-๕ ปี ในพื้นที่รับผิดชอบทุกคน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

เด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ มากกว่า ร้อยละ90

120.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กทราบและตระหนักถึงปัญหาโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ผู้ปกครองเข้าร่วมอบรม ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 1.2 ปรึกษาหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 1.3 เขียนโครงการเพื่อเสนออนุมัติ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 ประสานกับหน่วยงานและบุคลากรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง 2.2 ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.3 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดั้งนี้
2.3.1 ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องและกำหนดวัน เวลาในการดำเนินการ 2.3.2 ให้สุขศึกษาผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี 2.3.3 มีการติดตามการรับวัคซีนในหมู่บ้านโดย อสม.ประจำหมู่บ้าน 2.3.4 สรุป ติดตาม และประเมินผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 งบประมาณ

ชื่อกิจกรรม
งบประมาณ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณโครงการงบดำเนินงานจากงานพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส เป็นเงิน  10,950   บาท (หนึ่งหมื่นเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งจำแนกเป็น -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม    จำนวน 40 คน x 25 บาท (1 มื้อ) x 3 รุ่น เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน        จำนวน 40 คน x 50 บาท x 3 รุ่น          เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าจัดทำป้ายโครงการ  1×3 เมตร จำนวน 1 ผืน                 เป็นเงิน  750  บาท -ค่าแผ่นพับ           จำนวน 40 แผ่น x 10 บาท x 3 รุ่น      เป็นเงิน 1,200 บาท         รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,950 บาท (หนึ่งหมื่นเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น
2.ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับผลของการได้รับวัคซีนแต่ละชนิด
3.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน


>