กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพฟัน “หนูน้อยวัยใส ใส่ใจรักษ์ฟัน”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

โรงเรียนบ้านเจาะบือแม

1. นายแวการิน แส๊ะเด็ง
2. นางนาดียะห์ หะสาแม
3. นางโนรียะ แวมะลง
4. นางสาวยีหาน สาหาด
5. นางสาวคอรีเย๊าะ ดีปาตี

โรงเรียนบ้านเจาะบือแม ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันนี้เด็กนักเรียนส่วนใหญ่นิยมบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมขบเคี้ยว ช็อคโกแลต ขนมที่มีรสหวานต่าง ๆ เนื่องจากมีการผลิตในรูปแบบที่หลากหลาย มีความเจริญทางการโฆษณาที่น่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้มีการบริโภคขนมหวานเป็นจำนวนมาก โดยขนมเหล่านี้มีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคฟันผุง่ายขึ้นหากขาดการดูแลสุขภาพฟันและการแปรงฟันที่ถูกวิธี โรคฟันผุเป็นโรคที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียน หากเกิดโรคฟันผุจะทำให้นักเรียนไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ เชื้อโรคที่อยู่ในช่องปากจะส่งผลให้เกิดอาการอักเสบ ปอดบวม อันจะส่งผลต่อสภาวะโภชนาการ การพัฒนาการด้านการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านบุคลิกภาพของนักเรียนเป็นอย่างมาก โรคฟันผุเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยใช้มาตรการการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ฟลูออไรด์การใช้สารเคลือบหลุมร่องฟัน การแปรงฟันอย่างถูกวิธี จากการตรวจสุขภาพช่องปากของนักเรียนโรงบ้านเจาะบือแมเบื้องต้น พบว่ายังมีนักเรียนที่มีฟันผุ อันเนื่องมาจากการบริโภคขนมหวานมากจนเกินไปและการขาดการดูแลสุขภาพช่องฟันโดยเฉพาะอย่างยิ่งแปรงฟันที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพทางโรงเรียนบ้านเจาะบือแม ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพฟัน “หนูน้อยวัยใส ใส่ใจรักษ์ฟัน” ขึ้น เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพฟันที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและการรักษาสุขภาพช่องปาก 3. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพฟันที่แข็งแรงปราศจากปัญหาฟันผุ
  1. นักเรียนมีความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้อย่างถูกต้อง
  2. นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและการรักษาสุขภาพช่องปาก
  3. นักเรียนมีสุขภาพฟันที่แข็งแรงปราศจากปัญหาฟันผุ
0.00

1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและการรักษาสุขภาพช่องปาก
3. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพฟันที่แข็งแรงปราศจากปัญหาฟันผุ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 126
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 15/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพฟัน “หนูน้อยวัยใส ใส่ใจรักษ์ฟัน”

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพฟัน “หนูน้อยวัยใส ใส่ใจรักษ์ฟัน”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินงานของกิจกรรม

  1. ประชุมหารือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

  2. เขียนโครงการและนำเสนอโครงการ เพื่อของบประมาณดำเนินโครงการ

  3. ชี้แจงรายละเอียดโครงการและกำหนดการให้กลุ่มเป้าหมาย

  4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  5. ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพฟัน “หนูน้อยวัยใส ใส่ใจรักษ์ฟัน” ดังนี้

    5.1 ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนที่แปรงฟันไม่ถูกวิธีในช่วงสัปดาห์แรกก่อนจัดโครงการฝึกอบรมโดยการใช้แบบบันทึกการสังเกตการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน

    5.2 ดำเนินการจัดโครงการโดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ดังนี้

    5.2.1 ช่วงเช้าเป็นการจัดกิจกรรมฝึกอบรมการบรรยายประกอบสื่อต่าง ๆ และเอกสารประกอบการอบรม เพื่อให้ความรู้กับนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพฟันและขั้นตอนการแปรงฟันอย่างถูกวิธี โดยมีวิทยากร 2 คน

และนักเรียน จำนวน 126 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • นักเรียนระดับอนุบาลและระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 2 จำนวน 63 คน

  • นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 63 คน

    5.2.2 จัดกิจกรรมกลุ่มย่อยโดยให้นักเรียนนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้อย่างถูกต้อง

    5.2.3 ช่วงบ่ายจัดกิจกรรมสาธิตการแปรงฟันอย่างถูกวิธี โดยให้นักเรียนทุกคนได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนการแปรงฟันอย่างถูกวิธี

    5.3 ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนที่แปรงฟันอย่างถูกวิธีหลังจากการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพฟัน “หนูน้อยวัยใส ใส่ใจรักษ์ฟัน” โดยการใช้แบบบันทึกการสังเกตการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน

ุ6. สรุปผลการดำเนินงาน

งบประมาณสำหรับจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพฟัน “หนูน้อยวัยใส ใส่ใจรักษ์ฟัน” งบประมาณ 20,000 บาท

  1. ค่าวิทยากรบรรยาย 2 คน จำนวน 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท

  2. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ 126 คน x 25 บาท 2 มื้อ (1 วัน) เป็นเงิน 6,300 บาท

  3. ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดโครงการ ดังนี้

    3.1 เอกสารประกอบการอบรม 126 เล่ม เล่มละ 20 บาท เป็นเงิน 2,520 บาท

    3.2 ป้ายไวนิลขนาด 80x400 ซม. 2 ชิ้น ชิ้นละ 800 บาทเป็นเงิน 1,600 บาท

    3.3 ป้ายไวนิลขนาด 80x200 ซม. 2 ชิ้น ชิ้นละ 400 บาทเป็นเงิน 800 บาท

    3.4 โปสเตอร์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลฟันและการแปรงฟัน 10 แผ่น แผ่นละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    3.5 แปรงฟัน 126 อัน อันละ 20 บาท เป็นเงิน 2,520 บาท

    3.6 ยาสีฟัน 9 กล่อง กล่องละ 20 บาท เป็นเงิน 180 บาท

    3.7 น้ำยาบ้วนปาก 1 ขวด ขวดละ 192 บาท เป็นเงิน 192 บาท

    3.8 ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน 1 กล่อง กล่องละ 88 บาทเป็นเงิน 88 บาท

    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,000 บาท (เงินสองหมื่นบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 15 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้อย่างถูกต้อง
  2. นักเรียนมีการตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและการรักษาสุขภาพช่องปาก
  3. นักเรียนมีสุขภาพฟันที่แข็งแรงปราศจากปัญหาฟันผุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
20,000.00

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้และมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียนมีการตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและการรักษาสุขภาพช่องปาก
3. นักเรียนมีสุขภาพฟันที่แข็งแรงปราศจากปัญหาฟันผุ


>