กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 รพ.เขาชัยสน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

โรงพยาบาลเขาชัยสน

โรงพยาบาลเขาชัยสน

โรงพยาบาลเขาชัยสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลกระทบต่อแบบแผนการดำเนินชีวิต และภาวการณ์ดำรงชีพของประชาชน พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องมีภาระหน้าที่ในการหารายได้มากขึ้น โดยพบว่า ส่วนใหญ่ทำงานนอกบ้าน จึงไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้เองหรือมีเวลาในการเลี้ยงดูน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพการเลี้ยงดูเด็ก โดยเฉพาะในส่วนของการรับประทานอาหารและการดูแลในเรื่องของทันตสุขภาพประกอบกับการเข้ามาของแบบแผนวิถีชีวิตวัฒนธรรมตะวันตก ความเจริญและวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี รวมทั้งความเจริญทางการสื่อสาร สิ่งต่างๆเหล่านี้ ส่งผลทางอ้อมให้เกิดค่านิยมการบริโภคอาหารที่อยู่ในกลุ่มแป้งและน้ำตาลสูงขึ้น ขณะเดียวกันพัฒนาการของรูปแบบขนมหวานต่างๆ เช่น ของว่าง ของขบเคี้ยวต่างๆ ในกลุ่มแป้งและน้ำตาล และเครื่องดื่มจำพวกน้ำหวาน น้ำอัดลมฯลฯ ที่ได้เพิ่มจำนวนชนิดมากขึ้นด้วยรูปแบบที่หลากหลายกระตุ้นให้เด็กบริโภคมากขึ้น และส่งผลต่อภาวะทันตสุขภาพในที่สุด
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ในประเทศไทย พ.ศ. 2560 พบว่า เด็กกลุ่มวัยเรียน(อายุ 12 ปี) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานในกลุ่มเด็กประถมศึกษา มีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 52.0และมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุเฉลี่ย 1.4 ซี่/คน และจากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2562 พบว่า เด็กอายุ 12 ปี ในจังหวัดพัทลุงมีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 45.85 และมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุเฉลี่ย 1.47 ซี่/คนเมื่อเจาะลึกลงมาในอำเภอเขาชัยสน พบว่า เด็กอายุ 12 ปี ในอำเภอเขาชัยสนมีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 63.01 และมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุเฉลี่ย 1.99 ซี่/คนจะเห็นได้ว่าในปี 2562 เด็กอายุ 12 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเขาชัยสนมีความชุกของโรคฟันผุและมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุที่มากกว่าในระดับประเทศในปี 2562 (สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพัทลุง, 2562) แสดงว่ายังมีประเด็นปัญหาสำคัญที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการป้องกันและควบคุมโรคฟันผุในกลุ่มนี้ เช่น พฤติกรรมการบริโภคขนมกรุบกรอบและการดื่มน้ำอัดลม ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามกระแสนิยม จึงจำเป็นที่จะต้องให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลภาวะทันตสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยเด็กจะต้องเกิดความเชื่อทางสุขภาพและมีการรับรู้ความสามารถของตนเองว่ามีความสามารถในการดูแลทันตสุขภาพของตนเองได้ โดยทฤษฎีทางสุขศึกษาที่มีความเหมาะสมในการที่จะนำมาใช้เพื่อให้กระบวนการแก้ปัญหาทันตสุขภาพของเด็กกลุ่มนี้ คือ ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ (health belief model) โดยการรับรู้ว่าตนเองอาจเกิดอันตรายจากโรค จึงปรับพฤติกรรมการรับรู้ผลเสียหรืออันตรายของโรคนั้นๆ การรับรู้ประโยชน์ของการกระทำพฤติกรรมในการป้องกันหรือควบคุมโรค ก็จะกระทำพฤติกรรมเหล่านั้น เพื่อลดความรุนแรงหรือควบคุมอาการของโรค และทฤษฎีความสามารถตนเอง (Self-efficacy theory) โดยการรับรู้ความสามารถของตนเอง เป็นหนึ่งในแนวคิด 3 ประการของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมปัญญาของแบนดูรา ซึ่งแบนดูราเห็นว่า ความสามารถของคนเรานั้นไม่ตายตัว หากแต่ยืดหยุ่นตามสภาพการณ์ ดังนั้นประสิทธิภาพของการแสดงออก จึงขึ้นอยู่กับการรับรู้ความสามารถของตนเองในสภาวการณ์นั้นๆ ถ้าเรามีการรับรู้ว่าเรามีความสามารถเราก็จะแสดงออกถึงความสามารถนั้นได้ และมีความอดทน อุตสาหะ ไม่ท้อถอย และจะประสบความสำเร็จในที่สุด
เมื่อพิจารณาถึงปัญหาทันตสุขภาพของนักเรียนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง พบว่า เด็กอายุ 12 ปี มีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 38.63 และมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุเฉลี่ย 1.10ซี่/คน (สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพัทลุง, 2563) ซึ่งพบว่านักเรียนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเขาชัยสน ยังมีปัญหาในเรื่องของทันตสุขภาพ ผู้จัดทำโครงการจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพฟันและป้องกันโรคในช่องปากแก่เด็กนักเรียน เนื่องจากช่วงอายุนี้จะมีฟันถาวรขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อการเกิดปัญหาทันตสุขภาพที่มีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต จากสภาพปัญหาทันตสุขภาพของนักเรียนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเขาชัยสนและทฤษฎีดังกล่าว ผู้จัดทำโครงการจึงสนใจที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่4-6โดยเน้นการเรียนรู้แบบมีสวนร่วมเข้ามาใช้ในโครงการโดยให้นักเรียนได้สัมผัสและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน อันจะนำไปสู่การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องด้านทันตสุขภาพ ทำให้ลดภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ลดการสูญเสียเวลาเรียน ซึ่งจะมีผลก่อให้เกิดการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สมาชิกในครอบครัวและสังคมอีกทั้งยังนำผลของโครงการนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการให้ทันตสุขศึกษาในโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนอื่นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ได้มีกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ ๘๐ ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ได้เข้าร่วมกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

0.00
2 เพื่อกระตุ้นเพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6รักการดูแลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ ๘๐ ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ได้มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

0.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ ๘๐ ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ได้ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดกิจกรรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ แก่นักเรียนโดยใช้กิจกรรม Health Walk rally จำนวน 3 ฐาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดกิจกรรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ แก่นักเรียนโดยใช้กิจกรรม Health Walk rally จำนวน 3 ฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.  จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาชัยสน 2.  ประสานงานพื้นที่ โรงเรียนวัดหัวเขาชัยสน และโรงเรียนบ้านเทพราช 3.   จัดกิจกรรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติแก่นักเรียนโดยใช้กิจกรรม Health Walk rally จำนวน  3 ฐานดังนี้ ฐานที่ 1 เรียนรู้เรื่องฟัน - โครงสร้างและชนิดของฟัน - ความรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ ฐานที่ 2 การแปรงฟันถูกวิธี (แจกแปรงสีฟัน) - การเลือกแปรงสีฟัน ยาสีฟัน - การแปรงฟันตามสูตร 2-2-2 - การแปรงแห้ง
ฐานที่ 3 ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพร่างกาย และการตรวจร่างกาย 10 ท่า           4.   จัดกิจกรรมประกวดผู้เข้าร่วมกิจกรรมดีเด่น           5.   ประเมินความพึงพอใจของผู้มารับบริการ           6.   สรุปและประเมินผลโครงการ
งบประมาณ ค่าอาหารว่าง25บาท 70คน รวม1,750บาท ค่าวิทยากร ๓ชม.ๆละ ๖๐๐ รวม 1,800บาท ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ  800บาท ค่าชุดฝึกทักษะแปรงฟัน35บาท*70ชุด รวม       2,450บาท ค่าไวนิลให้ความรู้  รวม ๒,๐00บาท ค่าอุปกรณ์สร้างแรงจูงใจการเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมดีเด่นจำนวน 6 ชุดๆละ ๒๐๐ บาท รวม 1,200บาท

รวมทั้งหมด  10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กประถมศึกษาชั้นปีที่4-6 มีสภาวะช่องปากที่ดี สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้อง
  • เด็กนักเรียนรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและรักษาสุขภาพช่องปาก
  • เด็กนักเรียนได้รับความรู้การดูแลช่องปาก ส่งผลให้มีฟันที่สะอาดปราศจากคราบจุลินทรีย์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เด็กประถมศึกษาชั้นปีที่4-6 มีสภาวะช่องปากที่ดี สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้อง
- เด็กนักเรียนรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและรักษาสุขภาพช่องปาก
- เด็กนักเรียนได้รับความรู้การดูแลช่องปาก ส่งผลให้มีฟันที่สะอาดปราศจากคราบจุลินทรีย์


>