กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 รพ.เขาชัยสน
รหัสโครงการ 2564-L3310-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเขาชัยสน
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอภิญญา เพ็ชรศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมส่งผลกระทบต่อแบบแผนการดำเนินชีวิต และภาวการณ์ดำรงชีพของประชาชน พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องมีภาระหน้าที่ในการหารายได้มากขึ้น โดยพบว่า ส่วนใหญ่ทำงานนอกบ้าน จึงไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้เองหรือมีเวลาในการเลี้ยงดูน้อยลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพการเลี้ยงดูเด็ก โดยเฉพาะในส่วนของการรับประทานอาหารและการดูแลในเรื่องของทันตสุขภาพประกอบกับการเข้ามาของแบบแผนวิถีชีวิตวัฒนธรรมตะวันตก ความเจริญและวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี รวมทั้งความเจริญทางการสื่อสาร สิ่งต่างๆเหล่านี้ ส่งผลทางอ้อมให้เกิดค่านิยมการบริโภคอาหารที่อยู่ในกลุ่มแป้งและน้ำตาลสูงขึ้น ขณะเดียวกันพัฒนาการของรูปแบบขนมหวานต่างๆ เช่น ของว่าง ของขบเคี้ยวต่างๆ ในกลุ่มแป้งและน้ำตาล และเครื่องดื่มจำพวกน้ำหวาน น้ำอัดลมฯลฯ ที่ได้เพิ่มจำนวนชนิดมากขึ้นด้วยรูปแบบที่หลากหลายกระตุ้นให้เด็กบริโภคมากขึ้น และส่งผลต่อภาวะทันตสุขภาพในที่สุด
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ในประเทศไทย พ.ศ. 2560 พบว่า เด็กกลุ่มวัยเรียน(อายุ 12 ปี) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานในกลุ่มเด็กประถมศึกษา มีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 52.0และมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุเฉลี่ย 1.4 ซี่/คน และจากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพัทลุง พ.ศ. 2562 พบว่า เด็กอายุ 12 ปี ในจังหวัดพัทลุงมีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 45.85 และมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุเฉลี่ย 1.47 ซี่/คนเมื่อเจาะลึกลงมาในอำเภอเขาชัยสน พบว่า เด็กอายุ 12 ปี ในอำเภอเขาชัยสนมีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 63.01 และมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุเฉลี่ย 1.99 ซี่/คนจะเห็นได้ว่าในปี 2562 เด็กอายุ 12 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเขาชัยสนมีความชุกของโรคฟันผุและมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุที่มากกว่าในระดับประเทศในปี 2562 (สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพัทลุง, 2562) แสดงว่ายังมีประเด็นปัญหาสำคัญที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการป้องกันและควบคุมโรคฟันผุในกลุ่มนี้ เช่น พฤติกรรมการบริโภคขนมกรุบกรอบและการดื่มน้ำอัดลม ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามกระแสนิยม จึงจำเป็นที่จะต้องให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลภาวะทันตสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยเด็กจะต้องเกิดความเชื่อทางสุขภาพและมีการรับรู้ความสามารถของตนเองว่ามีความสามารถในการดูแลทันตสุขภาพของตนเองได้ โดยทฤษฎีทางสุขศึกษาที่มีความเหมาะสมในการที่จะนำมาใช้เพื่อให้กระบวนการแก้ปัญหาทันตสุขภาพของเด็กกลุ่มนี้ คือ ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ (health belief model) โดยการรับรู้ว่าตนเองอาจเกิดอันตรายจากโรค จึงปรับพฤติกรรมการรับรู้ผลเสียหรืออันตรายของโรคนั้นๆ การรับรู้ประโยชน์ของการกระทำพฤติกรรมในการป้องกันหรือควบคุมโรค ก็จะกระทำพฤติกรรมเหล่านั้น เพื่อลดความรุนแรงหรือควบคุมอาการของโรค และทฤษฎีความสามารถตนเอง (Self-efficacy theory) โดยการรับรู้ความสามารถของตนเอง เป็นหนึ่งในแนวคิด 3 ประการของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมปัญญาของแบนดูรา ซึ่งแบนดูราเห็นว่า ความสามารถของคนเรานั้นไม่ตายตัว หากแต่ยืดหยุ่นตามสภาพการณ์ ดังนั้นประสิทธิภาพของการแสดงออก จึงขึ้นอยู่กับการรับรู้ความสามารถของตนเองในสภาวการณ์นั้นๆ ถ้าเรามีการรับรู้ว่าเรามีความสามารถเราก็จะแสดงออกถึงความสามารถนั้นได้ และมีความอดทน อุตสาหะ ไม่ท้อถอย และจะประสบความสำเร็จในที่สุด
เมื่อพิจารณาถึงปัญหาทันตสุขภาพของนักเรียนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง พบว่า เด็กอายุ 12 ปี มีความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ 38.63 และมีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุเฉลี่ย 1.10ซี่/คน (สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพัทลุง, 2563) ซึ่งพบว่านักเรียนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเขาชัยสน ยังมีปัญหาในเรื่องของทันตสุขภาพ ผู้จัดทำโครงการจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพฟันและป้องกันโรคในช่องปากแก่เด็กนักเรียน เนื่องจากช่วงอายุนี้จะมีฟันถาวรขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลต่อการเกิดปัญหาทันตสุขภาพที่มีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต จากสภาพปัญหาทันตสุขภาพของนักเรียนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเขาชัยสนและทฤษฎีดังกล่าว ผู้จัดทำโครงการจึงสนใจที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่4-6โดยเน้นการเรียนรู้แบบมีสวนร่วมเข้ามาใช้ในโครงการโดยให้นักเรียนได้สัมผัสและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน อันจะนำไปสู่การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องด้านทันตสุขภาพ ทำให้ลดภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ลดการสูญเสียเวลาเรียน ซึ่งจะมีผลก่อให้เกิดการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สมาชิกในครอบครัวและสังคมอีกทั้งยังนำผลของโครงการนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการให้ทันตสุขศึกษาในโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนอื่นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ได้มีกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ ๘๐ ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ได้เข้าร่วมกิจกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก

0.00
2 เพื่อกระตุ้นเพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6รักการดูแลสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ ๘๐ ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ได้มีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

0.00
3 เพื่อให้เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ ๘๐ ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6ได้ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมจัดกิจกรรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ แก่นักเรียนโดยใช้กิจกรรม Health Walk rally จำนวน 3 ฐาน 0 10,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • เด็กประถมศึกษาชั้นปีที่4-6 มีสภาวะช่องปากที่ดี สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้อง
  • เด็กนักเรียนรู้จักการแปรงฟันที่ถูกวิธีและตระหนักถึงความสำคัญของการแปรงฟันและรักษาสุขภาพช่องปาก
  • เด็กนักเรียนได้รับความรู้การดูแลช่องปาก ส่งผลให้มีฟันที่สะอาดปราศจากคราบจุลินทรีย์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 14:38 น.