กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อห่างไกลโรคเรื้อรัง ชุมชนภูมีน้ำพุ่ง ประจำปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อห่างไกลโรคเรื้อรัง ชุมชนภูมีน้ำพุ่ง ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหริ่ง

ชุมชนภูมีน้ำพุ่ง

1. นางอามีนะห์ เละดูวี
2. นางภัศราภรณ์ มามะ
3. นางสาวซะรีฟะอ์ อูมา

ชุมชนภูมีน้ำพุ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

 

50.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

40.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

 

50.00
4 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

50.00
5 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

50.00
6 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

50.00
7 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

40.00
8 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

40.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

50.00 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

50.00 30.00
3 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

50.00 70.00
4 เพื่อลด ประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

ร้อยละของประชากร (อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

50.00 30.00
5 เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ของคนในชุมชน

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม เพิ่มขึ้นเป็น

40.00 60.00
6 ลดพฤติกรรมดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานจัด

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

50.00 30.00
7 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

40.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 15/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารการเพิ่มแหล่งผลิตอาหารสุขภาพ การมีอาหารคุณภาพ ปลอดภัย และ การใช้ประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารการเพิ่มแหล่งผลิตอาหารสุขภาพ การมีอาหารคุณภาพ ปลอดภัย และ การใช้ประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม การจัดทำสวนผักปลอดสารพิษในชุมชนและการเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อแก้ปัญหาอาหารโภชนาการและอาหารปลอดภัย โดยมีการสนับสนุนกลุ่มแกนนำเกษตรรุ่นใหม่ หัวใจออร์แกนิคชุมชนภูมีน้ำพุ่งเพื่อการผลิตสัตว์น้ำและผลิตพืชผักที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ จำหน่ายราคาย่อมเยาว์ให้กับสมาชิกในชุมชน โดยสนับสนุนการดำเนินการเลี้ยงสัตว์และจัดทำสวนผักปลอดสารพิษในชุมชน ดังนี้ - ค่าวัสดุสร้างโรงเรือนปลูกผักออร์แกนิคขนาด 3x12 เมตร 2 โรง พร้อมค่าจ้าง 8,000 บาท - เมล็ดพันธ์ุพืช 500บาท - วัสดุปลูกและปุ๋ยอินทรีย์ 3,500บาท - แว่นบ่อปูนซีเมนต์เลี้ยงปลาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง80 ซม. จำนวน 10 แว่น 350x10= 3,500บาท - พันธุ์สัตว์น้ำ2,000 บาท - อาหารสัตว์น้ำ 5,000 บาท รวมงบประมางาณกิจกรรที่1= 20,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 20 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนมีสวนผักปลอดสารพิษและแหล่งผลิตสัตว์น้ำปลอดสารพิษในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20500.00

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในชุมชน มีการรวมกลุ่มและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ มุ่งพัฒนาศักยภาพแกนนำเกษตรกรรุ่นใหม่ หัวใจออร์แกนิคชุมชนภูมีน้ำพุ่ง ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการผลิตและการจัดการอาหารในชุมชนชุมชน
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1) ศึกษาดูงาน ณ แหล่งผลิตอาหาร ฟาร์มเลี้ยงสัตว์และแปลงปลูกฝักที่ประสบผลสำเร็จ
2) สร้างแกนนำและคัดเลือกบุคคล ครัวเรือนต้นแบบเพื่อขยายองค์ความรู้แก่คนในชุมชน โดยมีงบประมาณดำเนินการดังนี้ - ค่าอาหารแกนนำเพื่อศึกษาดูงาน ณ แหล่งเรียนรู้ อาหารกลางวัน 20X50 =1,000บาท อาหารว่าง 20X25=500 - ค่ารถเพื่อการเดินทางศึกษาดูงาน ณ แหล่งเรียนรู้ 1,000 บาท - ค่าของที่ระลึกแก่วิทยากร 500 บาท
รวมงบประมางาณกิจกรรที่1= 3,000 บาท

กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาความรู้และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อห่างไกลโรคเรื้อรัง
โดยดำเนินการอบรมเพื่อเสริมและทบทวนความรู้เกี่ยวการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน โดยเน้นหลัก 3 อ. (1อาหาร=ลดและเลือกอาหารหวาน เค็ม มัน 2ออกกำลังกาย=ให้เพียงพอ 3อารมณ์=จัดการให้ได้) และมีการสาธิตและฝึกทักษะการปรุงอาหารและการใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ อาหารกลางวัน 100X50 =5,000บาท อาหารว่าง 100X25=2,500 - ค่าวิทยากร 3,000 บาท ไวนิลขนาด 2x3เมตร ราคา 6x200 =1,200 บาท รวมงบประมางาณกิจกรรที่1= 11,700 บาท
กิจกรรมที่ 3 การรณรงค์และสนับสนุนการใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน และชุมชน โดยใช้เมนูอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารเป็นยา เมนูชูสุขภาพ ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมและป้องกันโรค โดยการสำรวจเมนูอาหารพื้นที่เป้าหมายในชุมชน และแจกแผ่นพับรณรงค์และสนับสนุนการใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย
ค่าแผ่นพับรณรงค์การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย 500 บาท รวมงบประมางาณกิจกรรที่3= 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2564 ถึง 15 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คนในชุมชน มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในชุมชน มีการรวมกลุ่มและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
  2. กลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเช่น เด็ก/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ ฯลฯ มีการบริโภค อาหารครบ 5 หมู่ มีการบริโภค ผัก ผลไม้ เพิ่มขึ้น
  3. พฤติกรรมการบริโภคของคนในครัวเรือน /โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก และชุมชน มีการลด หวาน มัน เค็ม ลดการบริโภคน้ำหวานน้ำอัดลม ไขมันทรานซ์
  4. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
  5. สมาชิกในชุมชนมีเมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย โดยส่งเสริมเมนูอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารเป็นยา เมนูชูสุขภาพ ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15200.00

กิจกรรมที่ 3 การปรับระบบ กลไก

ชื่อกิจกรรม
การปรับระบบ กลไก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การติดตามภาวะโภชนาการของคนในชุมชน โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
  2. การสนับสนุนชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร เช่น กลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ.เกษตรอินทรีย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเครื่องแกง ฯลฯ
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2564 ถึง 20 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ภาวะโภชนาการของคนในชุมชน โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุดีขึ้น
  2. มีการจัดตั้งชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร เช่น กลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ.เกษตรอินทรีย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเครื่องแกง ฯลฯ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. พัฒนาแกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
  2. การทำแผนชุมชน สนับสนุนให้ชุมชนที่ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อการมีและเข้าถึงอาหาร ทำให้มีอาหารปลอดภัยบริโภค และบริโภคที่ถูกต้อง มีโภชนาการที่สมวัย
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2564 ถึง 20 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
  2. มีแผนชุมชน ชุมชนที่ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อการมีและเข้าถึงอาหาร ทำให้มีอาหารปลอดภัยบริโภค และบริโภคที่ถูกต้อง มีโภชนาการที่สมวัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน 1. เกิดธรรมนูญสุขภาพ 2. เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วม 3. เกิดมาตรการของชุมชนและท้องถิ่น

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน 1. เกิดธรรมนูญสุขภาพ 2. เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วม 3. เกิดมาตรการของชุมชนและท้องถิ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การรณรงค์และกำหนดนโยบายชุมชนปลอดน้ำอัดลม ในงานเลี้ยง งานบุญ งานประเพณี และงดการขายเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมขบเคี้ยวในบริเวณ ใกล้หรือในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
  2. ข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน
  3. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2564 ถึง 20 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. การรณรงค์และกำหนดนโยบายชุมชนปลอดน้ำอัดลม ในงานเลี้ยง งานบุญ งานประเพณี และงดการขายเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมขบเคี้ยวในบริเวณ ใกล้หรือในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
  2. ข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน
  3. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักและมีความสามารถในการจัดการอาหารปลอดสารพิษมากขึ้น
2. สมาชิกในชุมชนภูมีน้ำพุ่ง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพส่งผลในกห่างไกลโรคเรื้อรัง


>