กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาเจียก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเขาเจียก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขาเจียก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียก

นางสาวกาญจนา นกแก้ว
โทร.086-0026738

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียก ต.เขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-5 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

25.30
2 ร้อยละของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีความรู้ด้านโภชนาการในเด็กเล็ก (2-5 ปี)

 

70.00

จากรายงานการติดตามภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ถึง 30 เมษายน 2563 ของ รพ.สต.บ้านหัวถนน ตำบลเขาเจียก อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวนทั้งหมด 61 คน ผลภาวะโภชนาการ ดังนี้
1. น้ำหนักต่ออายุ ต่ำกว่าเกณ์ปกติ จำนวน 9 คน
2. ส่วนสูงต่ออายุ ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ จำนวน 5 คน
3. น้ำหนักต่อส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ จำนวน 9 คน (เกณฑ์กรมอนามัย น้ำหนัก/ส่วนสูง ต้องมากกว่า 70% )
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมภาวะทางโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงจัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโพชนาการของเด็กเล็ก (2-5 ปี) ลง

ร้อยละของเด็ก (2-5 ปี)ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโพชนาการ

25.30 0.00
2 เพื่อเพิ่มความรู้ด้่านโภชนาการในเด็กเล็ก(2-5ปี)แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก

ร้อยละของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีความรู้ด้านโภชนการ

70.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลเด็กและบุคลากรทางการศึกษา/ผู้ประกอบอาหาร 10
ผู้ปกครองเด็ก 63

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินคัดกรองภาวะโภชนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ประเมินคัดกรองภาวะโภชนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหัวถนน ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็ก แล้วแปลผลภาวะการเจริญเติบโต(ตามกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด-5ปี,กรมอนามัย) ทุกเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ข้อมูลภาวะการเจริญเติบโตของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย (ขนาด 1.5*2 เมตร) เป็นเงิน 510 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 73 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,650 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 73 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 สิงหาคม 2564 ถึง 27 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง/ครูผู้ดูแลเด็กเกิดความรู้ด้านโภชนาการสำหรับเด็กเล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9010.00

กิจกรรมที่ 3 สาธิตการทำอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนการ

ชื่อกิจกรรม
สาธิตการทำอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สาธิตการทำอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ แก่ผู้ปกครอง/ครูผู้ดูแลเด็ก โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าตอบแทนวิทยาการสาธิตการทำอาหาร จำวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าวัสดุในการสาธิตประกอบการทำอาหาร เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 สิงหาคม 2564 ถึง 27 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง/ครูผู้ดูแลเด็กเกิดทักษะในการประกอบอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2800.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเฝ้าระวังเด็กที่ตกเกณฑ์มาตรฐานภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเฝ้าระวังเด็กที่ตกเกณฑ์มาตรฐานภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหัวถนน ติดตามเฝ้าระวังเด็กที่ตกเกณฑ์มาตรฐานของภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน โดยแจก วิตามินบำรุง อาหารเสริมโปรตีน และพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำต่อไปโดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
- นมกล่อง UHT(รสจืด)ขนาด 200 มิลลิลิตรจำนวน 23 คน ๆ ละ 30 วัน ๆ ละ 1 กล่อง ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 6,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ข้อมูลภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,710.00 บาท

หมายเหตุ :
ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโพชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง
2. เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
3. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงการเลี้ยงดูบุตรให้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์


>