กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเขาเจียก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียก
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,710.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริกานต์ จันทร์รัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-5 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
25.30
2 ร้อยละของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีความรู้ด้านโภชนาการในเด็กเล็ก (2-5 ปี)
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานการติดตามภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ถึง 30 เมษายน 2563 ของ รพ.สต.บ้านหัวถนน ตำบลเขาเจียก อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวนทั้งหมด 61 คน ผลภาวะโภชนาการ ดังนี้
1. น้ำหนักต่ออายุ ต่ำกว่าเกณ์ปกติ จำนวน 9 คน
2. ส่วนสูงต่ออายุ ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ จำนวน 5 คน
3. น้ำหนักต่อส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ จำนวน 9 คน (เกณฑ์กรมอนามัย น้ำหนัก/ส่วนสูง ต้องมากกว่า 70% )
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเขาเจียก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมภาวะทางโภชนาการในเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงจัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโพชนาการของเด็กเล็ก (2-5 ปี) ลง

ร้อยละของเด็ก (2-5 ปี)ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโพชนาการ

25.30 0.00
2 เพื่อเพิ่มความรู้ด้่านโภชนาการในเด็กเล็ก(2-5ปี)แก่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก

ร้อยละของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กที่มีความรู้ด้านโภชนการ

70.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,710.00 0 0.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ประเมินคัดกรองภาวะโภชนาการเด็ก 0 0.00 -
27 ส.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการ 0 9,010.00 -
27 ส.ค. 64 สาธิตการทำอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนการ 0 2,800.00 -
1 - 30 ก.ย. 64 ติดตามเฝ้าระวังเด็กที่ตกเกณฑ์มาตรฐานภาวะโภชนาการ 0 6,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโพชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง
  2. เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงการเลี้ยงดูบุตรให้มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2564 13:46 น.