กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ 30 ยังแจ๋ว ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง

1. ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมีทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

 

60.00
2 ร้อยละของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

 

4.00
3 ร้อยละของสตรีอายุ 30 ปี ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

0.20

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สําคัญในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญ เพราะทําให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหาโดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทํา pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 35,40,45,50,55,60ปี (หรือทุกๆ 5 ปี/ครั้ง) ทําให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ถึงแม้ว่าใน 5 ปีที่ผ่านมา จากการลงพื้นที่คัดกรองโรคมะเร็งด้วยวิธีการตรวจแบบ Pap smear จะยังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ ก็ตาม แต่การตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยวิธีนี้ ย่อมคุ้มค่ากว่าการรักษา โดยจากการที่โรคนี้สามารถตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นได้จากการตรวจคัดกรองโดยการทํา Pap smear ซึ่งหากตรวจพบในระยะเริ่มแรกจะทําให้มีโอกาสรักษาหายขาดได้มากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้ มีทักษะสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ด้วยตัวเอง

เพื่อให้ประชาชนอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้ มีทักษะสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ด้วยตัวเอง ถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 50

4.00 50.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป

อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

0.20 0.10

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจง การคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจง การคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 32 คน เป็นเงิน 800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่อง โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก แก่สตรีอายุ 30 ปี ขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่อง โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก แก่สตรีอายุ 30 ปี ขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารเที่ยง มื้อละ 50 บาท x 80 คน เป็นเงิน 4000 บาท
  • ค่าอาหารว่าง มื้อละ 25 บาท x 2 มื้อ x 80 คน เป็นเงิน 4000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรมเป็นเงิน 2900บาท
  • ป้ายโครงการ750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็ง และมีทักษะในการตรวจมะเร็งเต้านมได้ถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างสำหรับผูัเข้าร่วมกิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) 25 บาท x 120 คน เป็นเงิน 3000 บาท
  • ค่าวัสดุสำหรับใช้ในการตรวจ120 บาท x 120 คนเป็นเงิน 14400 บาท
  • speculum dispose กล่องละ 3840 บาท x 1 กล่อง เป็นเงิน 3840 บาท
  • ถุงมือ sterile zise M, S กล่องละ 460 บาท x 2 กล่อง เป็นเงิน 920 บาท
  • แผ่นสไลด์กล่องละ 72 บาท x 2 กล่อง เป็นเงิน 144 บาท
  • แปรงไม้พาย (Ayres's spatula) กล่องละ 50 บาท x 1 กล่อง เป็นเงิน 50 บาท
  • ป้ายโครงการ750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) ร้อยละ 20 /ปี (สะสม ปี 2564 = 50%)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23854.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,554.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สตรีวัยเจริญพันธ์ อายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้และมีทักษะการตรวจโรคมะเร็งเต้านม สามรถเต้านมด้วยตัวเองได้ และได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นมะเร็งปากมดลูก (Pap smear)


>