กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ 30 ยังแจ๋ว ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L3039-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง
วันที่อนุมัติ 4 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 35,554.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุลากง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมีทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
60.00
2 ร้อยละของสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
4.00
3 ร้อยละของสตรีอายุ 30 ปี ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก
0.20

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สําคัญในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญ เพราะทําให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหาโดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทํา pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 35,40,45,50,55,60ปี (หรือทุกๆ 5 ปี/ครั้ง) ทําให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ถึงแม้ว่าใน 5 ปีที่ผ่านมา จากการลงพื้นที่คัดกรองโรคมะเร็งด้วยวิธีการตรวจแบบ Pap smear จะยังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ ก็ตาม แต่การตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วยวิธีนี้ ย่อมคุ้มค่ากว่าการรักษา โดยจากการที่โรคนี้สามารถตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นได้จากการตรวจคัดกรองโดยการทํา Pap smear ซึ่งหากตรวจพบในระยะเริ่มแรกจะทําให้มีโอกาสรักษาหายขาดได้มากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้ มีทักษะสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ด้วยตัวเอง

เพื่อให้ประชาชนอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้ มีทักษะสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมได้ด้วยตัวเอง ถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 50

4.00 50.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป

อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

0.20 0.10
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 170 35,554.00 0 0.00
12 ก.พ. 64 - 31 มี.ค. 64 ประชุมชี้แจง การคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 0 0.00 -
22 ก.พ. 64 - 31 พ.ค. 64 อบรมให้ความรู้เรื่อง โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก แก่สตรีอายุ 30 ปี ขึ้นไป 90 14,190.00 -
23 ก.พ. 64 - 30 เม.ย. 64 กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย (ลงแขกช่วยตรวจ ช่วยคัดกรอง) ด้วยวิธี Pap smear 80 21,364.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีวัยเจริญพันธ์ อายุ 30 ปีขึ้นไป มีความรู้และมีทักษะการตรวจโรคมะเร็งเต้านม สามรถเต้านมด้วยตัวเองได้ และได้รับการตรวจคัดกรองเบื้องต้นมะเร็งปากมดลูก (Pap smear)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 00:00 น.