กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และหญิงวัยเจริญพันธ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ริโก๋

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋

ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

0.00
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

0.00
3 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

0.00
4 ร้อยละของเยาวชน (อายุต่ำกว่า 20 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการตั้งครรภ์ซ้ำ

 

0.00

สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันเริ่มแรกของการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ บุคคลจะมีสุขภาพแบบครบองค์ประกอบทั้งกาย จิตวิญญาณที่ดีได้เริ่มจากการดูแลเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัวและสังคม การดูแลควรเริ่มจากการวางแผนครอบครัว การมีบุตรเมื่อพร้อม การดูแลครรภ์ตั้งแต่ เริ่มตั้งครรภ์ (ก่อน 12 สัปดาห์ของอายุครรภ์)การดำเนินการตั้งครรภ์ที่ดี มีโภชนาการและพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ดี การดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ การคลอดที่ปลอดภัยและการเลี้ยงลูกหลังคลอดด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก โดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ พร้อมสร้างความรักความอบอุ่น และพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิด ลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต
สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในตำบลริโก๋ ปี 2563 มีหญิงมีครรภ์ 63 ราย พบอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ จำนวน 59 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.65 ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ จำนวน 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.06 การท้องซ้ำในแม่วัยใส ยังคงเกิดขึ้นในอำเภอสุไหงปาดี แต่ยังไม่พบในตำบลริโก๋ เพื่อเป็นการป้องกันการท้องซ้ำในแม่วัยใส จึงต้องมีการวางแผนการคุมกำเนิด อีกทั้งยังต้องเร่งดำเนินการ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในสตรีอายุ 30 – 70 ปี การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในหญิงหลังคลอดทุกราย และสตรีอายุ 30 – 60 ปี
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และหญิงวัยเจริญพันธ์ โดยร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลริโก๋ เพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และหญิงวัยเจริญพันธ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

0.00 60.00
2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงการตั้งครรภ์ซ้ำ

ร้อยละของเยาวชน (อายุต่ำกว่า 20 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการตั้งครรภ์ซ้ำ ลดลง

0.00 14.50
3 สตรีอายุ 30 – 60 ปี การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี pap smear มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ผลงานสะสม ปี 2563-2567)

16.00
4 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80

ร้อยละของสตรีอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม

80.00
5 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก โดยทันตบุคลากร ทุกราย

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก โดยทันตบุคลากร ทุกราย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรม ให้ความรู้ เยี่ยมบ้าน ตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
อบรม ให้ความรู้ เยี่ยมบ้าน ตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ 2. ประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการในพื้นที่รับผิดชอบ

ขั้นดำเนินการ 1. อบรม ให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมายเรื่องการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม การวางแผนครอบครัว การบริบาลหญิงหลังคลอด รวมจำนวน 120 คน 2. เยี่ยมบ้านหญิงหลังคลอด ทารกแรกเกิด วางแผนครอบครัวในหญิงหลังคลอด ป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ ในมารดาอายุ น้อยกว่า 20 ปี เพื่อความพร้อมในการเลี้ยงบุตร และบุตรได้รับสารอาหารเพียงพอจากมารดา 3. ตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม 4. ร่วมมือกับ อสม.ในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในหมู่บ้าน

ขั้นสรุปผล 1. สรุปผลการดำเนินการโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
2. หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 75
3. หญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี มีการตั้งครรภ์ซ้ำ ไม่เกิน ร้อยละ 14.5
4. สตรีอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80
5. สตรีอายุ 30 – 60 ปี การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี pap smear มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 (ผลงานสะสม ปี 2563-2567)


>