กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และหญิงวัยเจริญพันธ์
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
0.00
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
0.00
3 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
0.00
4 ร้อยละของเยาวชน (อายุต่ำกว่า 20 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการตั้งครรภ์ซ้ำ
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันเริ่มแรกของการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ บุคคลจะมีสุขภาพแบบครบองค์ประกอบทั้งกาย จิตวิญญาณที่ดีได้เริ่มจากการดูแลเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัวและสังคม การดูแลควรเริ่มจากการวางแผนครอบครัว การมีบุตรเมื่อพร้อม การดูแลครรภ์ตั้งแต่ เริ่มตั้งครรภ์ (ก่อน 12 สัปดาห์ของอายุครรภ์)การดำเนินการตั้งครรภ์ที่ดี มีโภชนาการและพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ดี การดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ การคลอดที่ปลอดภัยและการเลี้ยงลูกหลังคลอดด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก โดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ พร้อมสร้างความรักความอบอุ่น และพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิด ลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต เป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในตำบลริโก๋ ปี 2563 มีหญิงมีครรภ์ 63 ราย พบอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ จำนวน 59 ราย คิดเป็นร้อยละ 93.65 ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ จำนวน 58 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.06 การท้องซ้ำในแม่วัยใส ยังคงเกิดขึ้นในอำเภอสุไหงปาดี แต่ยังไม่พบในตำบลริโก๋ เพื่อเป็นการป้องกันการท้องซ้ำในแม่วัยใส จึงต้องมีการวางแผนการคุมกำเนิด อีกทั้งยังต้องเร่งดำเนินการ การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในสตรีอายุ 30 – 70 ปี การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในหญิงหลังคลอดทุกราย และสตรีอายุ 30 – 60 ปี
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลริโก๋ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และหญิงวัยเจริญพันธ์ โดยร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลริโก๋ เพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และหญิงวัยเจริญพันธ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

0.00 60.00
2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงการตั้งครรภ์ซ้ำ

ร้อยละของเยาวชน (อายุต่ำกว่า 20 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการตั้งครรภ์ซ้ำ ลดลง

0.00 14.50
3 สตรีอายุ 30 – 60 ปี การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี pap smear มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ผลงานสะสม ปี 2563-2567)

16.00
4 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80

ร้อยละของสตรีอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม

80.00
5 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก โดยทันตบุคลากร ทุกราย

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก โดยทันตบุคลากร ทุกราย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,400.00 0 0.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรม ให้ความรู้ เยี่ยมบ้าน ตรวจคัดกรอง 0 16,400.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 75
  3. หญิงอายุน้อยกว่า 20 ปี มีการตั้งครรภ์ซ้ำ ไม่เกิน ร้อยละ 14.5
  4. สตรีอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80
  5. สตรีอายุ 30 – 60 ปี การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี pap smear มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 (ผลงานสะสม ปี 2563-2567)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 11:39 น.