กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโลย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโลย

น.ส.ไซนุงสาเมาะ
น.ส.นาซีล๊ะ ดาโอะ
นางนูรฮายาตี มาหม๊ะ
น.ส.ไซนะ อาแว
น.ส.ฟารีด๊ะเตะ

ตำบลบาโลยอำเภอยะหริ่่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลย

 

0.00
2 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

0.00

โรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีความรุนแรงสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
และมีผลต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันพบว่ายังมีการแพร่ระบาดอยู่เป็นจำนวนมาก
ในขณะที่การป้องกันและการควบคุมโรคโดยการกำจัดและลดจำนวนยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคด้วยการทำลายลูกน้ำ
และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนั้นอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสูงๆใดๆ เลย แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคนี้
ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้ การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นเป้าหมายหลักของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดูแล
และป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย ได้ให้ความสำคัญ
ในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก มีการวางกำหนดเป้าหมายการควบคุมโรคโดยเน้นการดำเนินการในบ้าน ชุมชน โรงเรียน
ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆเป็นเขตปลอดยุงลาย รวมทั้งการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลาย
และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการป้องกันโรคเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป
การศึกษาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดปัตตานี ปี พ.ศ.2563 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 1,024 ราย
คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 154.34 ต่อแสน ประชากรส่วนปี พ.ศ.2562 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 759 ราย
คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 114.40 ต่อแสน ประชากร ส่วนในปี พ.ศ. 25561มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งสิ้น 216 ราย
คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 32.36 ต่อแสนประชากร (สำนักงานระบาดวิทยา, 2563) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้ม
ที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี พบว่า ปี 2563
มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 110 ราย ส่วนปี พ.ศ.2562 จำนวนผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนเช่นกัน
และมีผู้ป่วยสะสมจำนวน 98 ราย จะเห็นได้ว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น จะมีแนวโน้มการระบาดที่เพิ่มขึ้น
อย่างเห็นได้ชัดเจน (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยะหริ่ง, 2563) สำหรับสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลย
จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกใน 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 15 ราย
ซึ่งมีมากเป็นอุบัติการณ์และเป็นที่ 8 ของอำเภอด้วย ต่อมาใน 2560 ลดลงเหลือ 5 ราย และ 9 รายในปี 2561
ต่อมาในปี 2562 ไม่พบผู้ป่วย และในปี 2563 พบผู้ป่วย 2 ราย จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย จึงได้จัดทำโครงการพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก
เพื่อจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.)
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อ เผยแพร่ให้กับประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจ
จะได้ช่วยกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

0.00 2.00
2 เพื่อให้ไม่่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลย

อัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลยลดลง

0.00 0.00

1.เพื่อพัฒนาทักษะ อสม. และเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออก สามารถช่วยกันป้องกัน ดูแลไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการช่วยกันป้องกันการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกในพื้นที่
3. เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความอันตรายของโรคไข้เลือดออก รู้จักวิธีการดูแลตนเองและคนใกล้เคียงไม่ให้เป็นโรค
4. เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 105
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรม/สัมมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดข้อตกลง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม/สัมมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดข้อตกลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 105 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท
1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 105 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท
1.3 ค่าป้ายโครงการ (ไวนิล) ขนาด 1 x 3 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท
1.4 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและให้ความร่วมมือในการดูแลตนเองและช่วยกันป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13050.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ โดย อสม. 25 คน และประชาชนทั่วไป

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ โดย อสม. 25 คน และประชาชนทั่วไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ โดย อสม. 25 คน
และประชาชนทั่วไปหมู่ละ 20 คน รวม 105 คน
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 105 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 105 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,625 บาท
- ค่าป้ายรณรงค์ (ไวนิล) ขนาด 1 x 3 เมตร ตารางเตรละ 250 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท
- ค่าน้ำมันดีเซลและเบนซินสำหรับเครื่องพ่มนสารเคมี เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าสเปรย์ฉีดยุง 300 มล. จำนวน 10 ขวดๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย ได้ถูกกำจัดและทำลาย ทั้งในโรงเรียน และบ้านเรือนของประชาชนในพื้นที่ตำบลบาโลย ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12275.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมกรรมการ สรุปผลการดำเนินโครงการ ถอดบทเรียน และติดตามข้อตกลง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมกรรมการ สรุปผลการดำเนินโครงการ ถอดบทเรียน และติดตามข้อตกลง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินโครงการ ถอดบทเรียน และติดตามข้อตกลง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ ถอดบทเรียน และติดตามข้อตกลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,325.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.ในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออกมากขึ้น
สามารถช่วยป้องกันดูแลไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
2. ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและให้ความร่วมมือ
ในการดูแลตนเองและช่วยกันป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
3. พื้นที่เป้าหมายไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก


>