กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโลย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
รหัสโครงการ 64-L3044-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโลย
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 เมษายน 2564 - 31 มีนาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไซนุง สาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 105 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลย
0.00
2 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีความรุนแรงสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้และมีผลต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันพบว่ายังมีการแพร่ระบาดอยู่เป็นจำนวนมาก
ในขณะที่การป้องกันและการควบคุมโรคโดยการกำจัดและลดจำนวนยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคด้วยการทำลายลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนั้นอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสูงๆใดๆ เลย
แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคนี้ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้ การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นเป้าหมายหลักของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดูแลและป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
มีการวางกำหนดเป้าหมายการควบคุมโรคโดยเน้นการดำเนินการในบ้าน ชุมชน โรงเรียน ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆเป็นเขตปลอดยุงลาย รวมทั้งการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลาย
และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการป้องกันโรคเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป การศึกษาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดปัตตานี ปี พ.ศ. 2563 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 1,024 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 154.34ต่อแสนประชากร ส่วนปี พ.ศ. 2562มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 759 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 114.40 ต่อแสน
ประชากร ส่วนในปี พ.ศ. 25561มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งสิ้น 216 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 32.36 ต่อแสนประชากร (สำนักงานระบาดวิทยา, 2563) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี พบว่า ปี 2563 มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 110 ราย ส่วนปี พ.ศ.2562
จำนวนผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนเช่นกัน และมีผู้ป่วยสะสมจำนวน 98 ราย จะเห็นได้ว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น จะมีแนวโน้มการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน
(สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยะหริ่ง, 2563) สำหรับสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลย จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกใน 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 15 ราย
ซึ่งมีมากเป็นอุบัติการณ์และเป็นที่ 8 ของอำเภอด้วย ต่อมาใน 2560 ลดลงเหลือ 5 ราย และ 9 รายในปี 2561 ต่อมาในปี 2562 ไม่พบผู้ป่วย และในปี 2563 พบผู้ป่วย 2 ราย
จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย จึงได้จัดทำโครงการพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก เพื่อจัดอบรม สัมมนาให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อ เผยแพร่ให้กับประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจ
จะได้ช่วยกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

0.00 2.00
2 เพื่อให้ไม่่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลย

อัตราผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลยลดลง

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,325.00 3 27,325.00
1 เม.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ โดย อสม. 25 คน และประชาชนทั่วไป 0 12,275.00 12,275.00
1 พ.ค. 64 - 31 ก.ค. 64 กิจกรรมอบรม/สัมมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดข้อตกลง 0 13,050.00 13,050.00
1 มิ.ย. 64 - 30 ก.ย. 64 ประชุมกรรมการ สรุปผลการดำเนินโครงการ ถอดบทเรียน และติดตามข้อตกลง 0 2,000.00 2,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.ในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออกมากขึ้น สามารถช่วยป้องกันดูแลไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  2. ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและให้ความร่วมมือในการดูแลตนเองและช่วยกันป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
  3. พื้นที่เป้าหมายไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 14:29 น.