กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันสตรีจากมะเร็งเต้านมและปากมดลูก ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน

พื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ๑๐,๐๐๐รายและเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก๕,๐๐๐รายอัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก๗คน/วันเป็น๑๔คน/วันสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ร้อยละ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง
สถานการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนาในประเทศไทยโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่าง 45-50 ปี
จากเหตุผลเบื้องต้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นงานหลักให้กับทุกสถานบริการเร่งรัดการดำเนินการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 30- 60 ปี โดยจาการดำเนินงาน ในรอบ5 ปีที่ผ่านมา ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลานมีอัตราการตรวจมะเร็งปากมดลูกสะสมในระยะเวลา 5ปี เพียง ร้อยละ46.39ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายค่อนข้างมาก จากการดำเนินการตามนโยบายที่ผ่านมายังพบปัญหาในการดำเนินงานเพื่อจะบรรลุเป้าอีกมาก เพราะประชาชน ยังไม่ตระหนักถึงความอันตรายของโรค มีความอายในการตรวจ มีความกลัวที่จะรู้ว่าเป็นมะเร็งและกลัวเจ็บในการมาตรวจ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลานตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเนื่องจากสามารถรักษาได้ หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันสตรีจากมะเร็งเต้านมและปากมดลูกปี256๔ โดยดึงพลังแกนนำ ของประชาชนทุกภาคส่วนเช่น อสม. กลุ่มสตรี มาร่วมดำเนินงานโดยมุ่งหวังเพื่อติดตามผู้รับบริการโดยเน้นการตรวจPapSmear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม ลดอัตราป่วย ตาย ลง เป้าหมาย กลุ่มอสม./แกนนำครอบครัว และสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปีจำนวน ๑๒๐ คน พื้นที่ดำเนินการพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย ๓๐ – ๖๐ ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

2. กลุ่มเป้าหมายได้แก่อสม.,แกนนำครอบครัวและสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๖๐ปีทุกคนมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
3.รายที่มีอาการผิดปกติหรือพบเซลล์ผิดปกติจากการตรวจ ได้รับการติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เฝ้าระวังป้องกันสตรีจากมะเร็งเต้านมและปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังป้องกันสตรีจากมะเร็งเต้านมและปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบและอนุมัติโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ 2.ประสานโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้เคียง เพื่อขอสนับสนุนวิทยากรในการให้ความรู้ และการตรวจคัดกรอง 3.ติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องจัดเตรียม วัสดุอุปกรณ์ แบบฟอร์ม เอกสารที่จำเป็น 4.สำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย ๕.ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมและตรวจคัดกรองตามนัดหมาย โดย อสม /เจ้าหน้าที่ และไวนิลประชาสัมพันธ์ ๖. จัดอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก แก่กลุ่มเป้าหมายก่อนการคัดกรอง ๗. ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมาย ๘.ติดตามผลในรายที่มีอาการผิดปกติ หรือมีอาการอย่างต่อเนื่อง สำรวจกลุ่มเป้าหมาย หญิงอายุ ๓๐ -๖๐ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งลานไม่ใช้งบประมาณ เดือนพฤศจิกายน๒๕๖๓ กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ แก่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในชุมชน โดยอสม.และเจ้าหน้าที่และ ไวนิลประชามสัมพันธ์ ค่าแผ่นป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ จำนวน๙ แผ่นๆละ๕๐๐บ.= ๔,๕๐๐บ. เดือนมีนาคมถึง เมษายน๒๕๖๔ กิจกรรมจัดอบรม ให้ความรู้ เกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมก่อนการตรวจคัดกรอง แก่อสม.,แกนนำครอบครัวและสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๖๐ปีจำนวน ๒ รุ่นๆละ ๖๐คน รวม จำนวนเป้าหมายทั้งสิ้น ๑๒๐ คน
(อสม. ๑ คน ต่อเป้าหมายสตรี ๒ คน) ในหัวข้อดังนี้ -สถานการณ์มะเร็งเต้านม ปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค
และการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก - สาธิตการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม /ฝึกปฏิบัติ
-ค่าวิทยากร.๖๐๐บ.x๖ชม x ๒วัน =๗,๒๐๐บ. -ค่าอาหารกลางวัน..๕๐..บ.x.๑๒๐..คน =๖,๐๐๐บ. -ค่าอาหารว่าง...๒๕..บ.x๒มื้อx๑๒๐คน =๖,๐๐๐บ. -ค่าวัสดุ/เอกสารการอบรม= ๒,๐๐๐บ. รุ่นที่ ๑วันที่ ๒๙เมษายน๒๕๖๔ รุ่นที่ ๒วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔ กิจกรรม จัดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมาย หลังจากกิจกรรมอบรมให้ความรู้ต่อเนื่องไปจนสิ้นสุดปีงบประมาณ -ค่าวัสดุ เพื่อใช้สนับสนุนการรณรงค์การตรวจมะเร็งปากมดลูก จำนวน ๑๐๐ บาท x ๑๒๐ คน = ๑๒,๐๐๐บาท -ค่าโมเดลตรวจเต้านม= ๖,๐๐๐ บ. -ค่าอ่านผลเซลล์ จากรพ.หาดใหญ่ ใช้งบประมาณจากกองกลางคปสอ.คลองหอยโข่ง ๑พ.ค.- ๓๐ ก.ย.๒๕๖๔ การติดตามกลุ่มเป้าหมายหลังการอบรม ให้ได้รับการตรวจเต้านม/ปากมดลูก ไม่ใช้งบประมาณ๑พ.ค.- ๓๐ ก.ย.๒๕๖๔ ติดตามในรายที่มีอาการผิดปกติหรือมีอาการอย่างต่อเนื่องเพื่อพบแพทย์ ไม่ใช้งบประมาณ ๑พ.ค.- ๓๐ ก.ย.๒๕๖๔ (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้)
รวม..........๔๓,๗๐๐........................บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ อัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ปี๒๕๖๔≥ร้อยละ ๒๐ (ผลงานคิดต่อเนื่อง ๕ ปี) อัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ปี๒๕๖๓≥ ร้อยละ ๘๐ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ร้อยละ ๘๐ (จากแบบทดสอบความรู้)

กลุ่มที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการติดตามเพื่อการส่งต่อและรักษาโดยเร็ว ร้อยละ ๑๐๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,700.00 บาท

หมายเหตุ :
1.สตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอายุ 30-60 ปีได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม หากพบภาวะที่ผิดปกติทุกชนิดได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน
2.อสม.และแกนนำครอบครัวมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมายและสามารถนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุม
3.รายที่มีอาการผิดปกติหรือพบเซลล์ผิดปกติจากการตรวจ ได้รับการติดตาม อาการอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการป่วย/ตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอายุ 30-60 ปีได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม หากพบภาวะที่ผิดปกติทุกชนิดได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน
2.อสม.และแกนนำครอบครัวมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กลุ่มเป้าหมายและสามารถนำกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างครอบคลุม
3.รายที่มีอาการผิดปกติหรือพบเซลล์ผิดปกติจากการตรวจ ได้รับการติดตาม อาการอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอัตราการป่วย/ตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและเต้านม


>