กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกทักษะการลอยตัวและป้องกันเด็กจมน้ำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ

นางพาตีเม๊าะ ดอละ ครู คศ.2
นางสาวฮาบีบ๊ะ กอแล ครู คศ.2
นายนรินทร์ มาดีโมงครู ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

รายงานทางวิชาการ พบว่า กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า5 ปีที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ มักเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การไม่มีรั้วรอบแหล่งน้ำ เพื่อแบ่งแยกเด็กออกจากแหล่งน้ำ การจัดให้มีพื้นที่เล่นที่ไม่เหมาะสมให้แก่เด็ก และการที่ผู้ปกครองผู้ดูแลเด็กและเด็กไม่มีความรู้ในการกู้ชีพ/ ปฐมพยาบาลผิดวิธี เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้ในกิจกรรมกาเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้สอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการสอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง หมายถึง สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เน้นการสอน “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” และการตะโกนขอความช่วยเหลือ และผู้ปกครองถือว่ามีความสำคัญเป็นอยากมาก ต้องมีความรู้ ในการสอนบุตรหลาน ให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง และหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจในการกู้ชีพ / ปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ ร่วมกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบือมัง จึงได้จัดโครงการฝึกทักษะการลอยตัวและป้องกันเด็กจมน้ำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕64 โดยให้ความรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการลอยตัวและป้องกันเด็กจมน้ำให้กับเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปีแย๊ะ เพื่อนำไปใช้ได้อย่างถูกวิธี เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสอดคล้องตามหลักสูตรสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กรู้และตระหนักถึงอันตรายจากแหล่งน้ำที่เสี่ยง

ลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็ก

0.00
2 2. เพื่อให้เด็กนักเรียนฝึกทักษะการลอยตัวหรือว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้

ร้อยละ 70 ของเด็กที่เข้ารับการอบรมมีการลอยตัวหรือว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดได้

0.00
3 3. เพื่อให้เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้และทักษะพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำ

ร้อยละ 70 ของเด็ก ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษาที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 57
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้ทักษะการลอยตัวการเอาตัวรอดในน้ำ
  • อบรมให้ความรู้การป้องกันเด็กจมน้ำ และทักษะพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำ
    1.ค่าป้ายไวนิลตามโครงการฯ ขนาด 1.00×3.00 เมตร (1ป้าย) เป็นเงิน 900.-บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท × 61 คน เป็นเงิน 3,050.-บาท 3.ค่าอาหารว่าง จำนวน2มื้อๆละ 25 บาท × 61 บาท เป็นเงิน 3,050.-บาท 4.วัสดุจัดบอร์ด 4.1ฟิวเจอร์บอร์ดขนาด 65×122 ซม. 4 แผ่นๆละ 50 บาท เป็นเงิน 200.-บาท 4.2 กาวลาเท็กซ์ ขนาด 32 ออนซ์ 1 ขวด เป็นเงิน 75.-บาท 4.3 สติ๊กเกอร์เส้นเลเซอร์ 5 มิล 5 ม้วนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 250.-บาท 4.4 ภาพโปสเตอร์ความปลอภัยทางน้ำ 4 ใบๆละ 50 บาทเป็นเงิน 200.-บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม (สมุด, ปากกา,แฟ้ม) 5.1 สมุด จำนวน 57 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 570.-บาท 5.2 ปากกา จำนวน 57 ด้ามๆละ 5 บาท เป็นเงิน 285.-บาท 5.3 แฟ้มซองพลาสติก ขนาด A4 จำนวน 57 ใบๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,140.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กนักเรียนได้รู้และตระหนักถึงอันตรายจากแหล่งน้ำที่เสี่ยง
  2. เด็กนักเรียนมีความรู้และทักษะเบื้องต้นในการเอาชีวิตรอดในน้ำ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9720.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการลอยตัวและป้องกันเด็กจมน้ำให้กับเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการลอยตัวและป้องกันเด็กจมน้ำให้กับเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการลอยตัว
  • ฝึกการป้องกันเด็กจมน้ำให้กับเด็กนักเรียน
  1. ค่าวัสดุ และอุปกรณ์ ที่จำเป็นในการฝึกอบรม 1.1 สระน้ำเป่าลม พร้อมเครื่องสูบลมไฟฟ้า ขนาด 200x 150x 50 CM จำนวน 2ชุดๆละ 2,550บาท เป็นเงิน 5,100.-บาท 1.2 ลูกบอลสำหรับเด็กจำนวน 5 ลูกๆละ 150 บาท เป็นเงิน 750.-บาท 1.3 ห่วงยาง สำหรับเด็ก จำนวน 5 ห่วงๆละ 50 บาท เป็นเงิน 250.-บาท 1.4 กางเกงว่ายน้ำ จำนวน 20 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000.-บาท 1.5 โฟมลอยตัว จำนวน 5 ชุดๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,250.-บาท 1.6 เชือกยาว จำนวน 2 เส้นๆละ 50 บาท เป็นเงิน 100.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้พื้นฐานในการว่ายน้ำหรือการลอยตัวเพื่อเอาตัวรอดในน้ำได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนได้รู้และตระหนักถึงอันตรายจากแหล่งน้ำที่เสี่ยง
2. เด็กนักเรียนมีความรู้และทักษะเบื้องต้นในการเอาชีวิตรอดในน้ำ
3. เด็กนักเรียน และผู้ปกครองมีความรู้พื้นฐานในการว่ายน้ำหรือการลอยตัวเพื่อเอาตัวรอดในน้ำได้


>