กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

พลังองค์กรชุมชนสู่การเปลี่ยนแปลง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

กลุ่มปฏิวัติขยะบ้านปงตา

1.นายกอเซงดอรอแมง
2.อาแวลาบอซีเต๊ะ
3.นายสุกรีฆานิเซ็ง
4.นางสาวพาดีล๊ะวาเต๊ะ
5.นายอารียะลียะ
6.นางสาวกอรอยะสะแม
7.นางรูสะนะดอรอแมง
8.นายอับดุลฮาดีตาเฮ
9.อัสมานดอละ

หมู่ที่5 บ้านปงตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

 

3.00
2 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

20.00
3 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

60.00
4 จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

1.00
5 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

1.00

หลักการและเหตุผล
ปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้ปัจจุบันมีปริมาณขยะอยู่ทุก ๆบริเวณพื้นที่ของหมู่ที่5ตำบลบือมัง โดยเฉพาะไหลทางบริเวณถนนทางหลวงที่ผ่านมาเทางองค์การบริหารส่วนตำบลบือมังไ ด้มีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ขยะโดยเฉพาะกิจกรรมรณรงค์ความสะอาดบริเวณหน้าและหลังบ้านของทุกคนในตำบลบือมังแต่เนื่องจากกิจกรรมที่ผ่านมา การกำจัดขยะขาดความร่วมมือขากประชาชน เพื่อเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะ(การคัดแยกและเพิ่มมูลค่าขยะก่อนทิ้ง)อย่างต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืนต่อไป โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย แบบบูรณาการ หมู่ที่5 ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จึงจัดทำโครงการปฏิวัติขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

3.00 1.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

60.00 100.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

20.00 40.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

1.00 2.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

1.00 3.00
6

ชุมชนโรงเรียน โรงพยาบาล และตลาดเดิมใน พ.ศ. 2564 จำนวน5คุ้มบ้าน ได้แก่ - คุ้มบ้านปงตา - คุ้มบ้านลือมุ - คุ้มบ้านบือแนลอรอง - คุ้มบ้านบูเกะตืองาะห์ - คุ้มบ้านทาเนาะปือเราะห์

0.00

1. ส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน
2. เพื่อส่งเสริมและเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะจากต้นทาง ก่อนนำไปจัดการทิ้งโดยการเพิ่มมูลค่าขยะหรือดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก
3. เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสร้างสังคมแห่งความร่วมมือ
4. ส่งเสริมเพื่อให้ประชาชนทราบถึงแนวทางและรูปแบบการรณรงค์บริหารจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เวทีสร้างความเข้าใจ 2วัน จำนวน 60 คน

ชื่อกิจกรรม
เวทีสร้างความเข้าใจ 2วัน จำนวน 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ประชุมวางแผน และกำหนดทีมงานผู้รับผิดชอบในการดำเนินการดังนี้ -ประชุมชี้แจงทำตวามเข้าใจโครงการกิจกรรมให้ชุมชนทราบ -นำเสนอวิธีการจัดการขยะ แบบครบวงจร เช่น ชยะเศษอาหารนำมาหมักเป้นปุ๋ยอินทรีย์ ทำปุ๋ยชีวภาพ หรือนำไปเป็นอาหารสัตว์ ขยะรีไซเคิลนำมาขายเป็นรายได้ ขยะอันตรายกำจัดอย่างถูกวิธ
1.ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย ป้ายกว้าง1x3เมตร ป้ายละ 900 บาท เป็นเงิน 900 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 2วัน 2มื้อ วันละ 60 คน คนละ50บาท เป็นเงิน6,000บาท 3.ค่าอาหารว่าง 2วัน วันละ 60 คน คนละ 25บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 4.ค่าเช่าเครื่องเสียง 2วัน วันละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
5.ค่าวิทยากร 2 วัน วันละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท รวม4ชั่วโมง เป็นเงิน2,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนในเขตหมู่ที่5 ตำบลบือมังอำเภอรามันจังหวัดยะลา ได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน
  2. ประชาชนในเขตหมู่ที่5 ตำบลบือมังอำเภอรามันจังหวัดยะลา ได้รับ แรงจูงใจในการคัดแยกขยะจากต้นทาง ก่อนนำไปจัดการทิ้งโดยการเพิ่มมูลค่าขยะหรือดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก 3ชุมชนมีสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสร้างสังคมแห่งความร่วมมือ
  3. ประชาชนในเขตหมู่ที่5 ตำบลบือมังอำเภอรามันจังหวัดยะลา มีส่วนร่วมถึงแนวทางและรูปแบบการรณรงค์บริหารจัดการขยะมูลฝอย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14300.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์และเก็บขยะโดยบูรณาการชุมชน โรงเรียน มัสยิด รพ.สต 9วัน จำนวน60คน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์และเก็บขยะโดยบูรณาการชุมชน โรงเรียน มัสยิด รพ.สต 9วัน จำนวน60คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กำหนดวันตรวจเยี่ยมโดยวิธีเคาะประตูและติดตามผลการดำเนินการตามโครงการอย่างต่อเนื่อง -จัดเวทีประชุมชาวบ้านเพื่อชี้แจงความเข้าใจแนวความคิด หลักการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชนและจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน -ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

1.ค่าน้ำขวด 9 วัน วันละ 60 คน คนละ 10 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท 2.ค่าป้ายไวนิล 3 จุด ป้ายกว้าง1x3เมตร ป้ายละ 900 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท 3.ค่าไม้กวาดไม้ไผ่ 20อัน อันละ35บาท เป็นเงิน 700 บาท 4.ค่าจัดซื้อเข่งขนาดใหญ่ 10 ใบ ใบละ 185 บาทเป็นเงิน 1,850 บาท 5.ค่าหน้ากกากผ้า 60อัน อันละ15 บาท เป็นเงิน 900 บาท 6.ค่าถุงมือยางสีส้ม กล่อง100ชิ้น 6กล่อง กล่องละ229บาท เป็นเงิน 1,374 บาท
7.ถุงขยะดำ ขนาด 30x40 นิ้ว แพ็ค 1 กก. ราคา 60 บาท จำนวน 10 แพ็ค เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการลดปริมาณขยะลงได้ เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ออกไป เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ก็จะเหลือปริมาณขยะจริงที่จำเป็นต้องกำจัดหรือทำลายน้อยลง ซึ่งขยะนี้สถานที่ที่ใช้ทำลายขยะก็นับวันแต่จะหายากลงทุกวัน 2.ได้วัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่เรียกว่า (Recycle) เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ เช่น กระดาษ ๑ ตัน ได้มาจากการตัดต้นไม้ใหญ่ถึง ๑๗ ต้น เพื่อมาใช้ทำเยื่อกระดาษ 3.ช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะในเมื่อขยะน้อยลง สิ่งแวดล้อมก็จะต้องดีขึ้น สะอาดขึ้น ปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของทุกคนในท้องถิ่นร่วมกั

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13524.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,824.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในเขตหมู่ที่5 ตำบลบือมังอำเภอรามันจังหวัดยะลา ได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน
2. ประชาชนในเขตหมู่ที่5 ตำบลบือมังอำเภอรามันจังหวัดยะลา ได้รับแรงจูงใจในการคัดแยกขยะจากต้นทาง ก่อนนำไปจัดการทิ้งโดยการเพิ่มมูลค่าขยะหรือดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก
3. ประชาชนในเขตหมู่ที่5 ตำบลบือมังอำเภอรามันจังหวัดยะลา ชุมชนมีสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสร้างสังคมแห่งความร่วมมือ
4. ประชาชนในเขตหมู่ที่5 ตำบลบือมังอำเภอรามันจังหวัดยะลา มีส่วนร่วมถึงแนวทางและรูปแบบการรณรงค์บริหารจัดการขยะมูลฝอย


>