กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่ายกายสำหรับผู้พิการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

ศูนย์บริการคนพิการบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล

ที่ปรึกษา
๑. นายสุนทร ชูบัณฑิต ประธานชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล
๒. นางสาวนาฏนธีผิวเหลือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านมะนัง

คณะกรรมการ
๑.นายสมบูรณ์ สุวาหลำ ผู้อำนวยการ
๒.นายอาลี เล็มโดย รองผู้อำนวยการ
๓.นางสาวจริน ซ้ายเส้ง เหรัญญิก
๔.นางสาวสุพิชชาเกตุทอง กรรมการ/ฐานข้อมูล
๕.นายสมมิตร แท่นประมูล กรรมการ/ฝ่ายกิจกรรม
๖.นางวันดี วิริยะกิจ กรรมการ/ฝ่ายประชาสัมพันธ์
๗.นางฮาเดี๊ยะ เล่ห์ทองคำ กรรมการ
๘.นางสมใจ ลักษณาวงศ์ กรรมการ
๙.นางสาวรุ้งพิรุณ แดงเหม กรรมการ/เลขานุการ

ศูนย์บริการคนพิการบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูลหมู่ที่ 7ซอยคลองขุด23ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

 

50.00
2 ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

 

40.00
3 ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้

 

50.00

ศูนย์บริการคนพิการบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูล จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรภาคประชาชนชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้พิการและผู้ดูแลให้เข้าถึงสิทธิและให้ได้มาด้วยสิทธิอันพึงจะได้รับตามกฎหมายในทุกด้านรวมถึงการฟื้นฟูและพัฒนาสมรรถภาพผู้พิการตามศักยภาพและความสามารถของแต่ละบุคคลโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กพิการให้มีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตให้พัฒนาเด็กไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดีมีวินัยรวมถึงคุณภาพชีวิตของครอบครัวคนพิการและผู้ดูแลให้ดีขึ้นอยู่ร่วมสังคมอย่างปกติสุข
บุคคลออทิสติกเป็นผู้พิการที่มีลักษณะอาการของโรคออทิซึมมีความบกพร่องเกี่ยวกับระบบการทำงานที่ผิดปกติของสมองรวมถึงระบบการรับรู้และกลไกการเคลื่อนไหวของข้อต่อส่งผลให้มีปัญหาในด้านพฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและด้านการสื่อสารดังนั้น ศูนย์บริการคนพิการบุคคลออทิสติกจังหวัดสตูลตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของเด็กพิเศษ จึงจัดทำ “โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่ายกายสำหรับผู้พิการ” ขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษมีอุปกรณ์และกายอุปกรณ์พัฒนาการด้านระบบประสาทสัมผัสการรับรู้ทางผิวสัมผัสของร่างกายเช่นฝ่ามือและฝ่าเท้าการรับรู้ความแตกต่างของผิวสัมผัสโดยการควบคุมน้ำหนักและความอดทนในการใช้ฝ่ามือและฝ่าเท้าลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือแปลกๆของผู้พิการบุคคลออทิสติกการเคลื่อนไหวและการทรงตัวดีขึ้นผ่านการฝึกด้วยกายอุปกรณ์ส่งผลให้ผู้พิการมีร่างกายที่แข็งแรงลดพฤติกรรมเคลื่อนไหวที่ช้าเกินไปและเร็วเกินไปของคนพิการบุคคลออทิสติกมีความสมดุลในการเคลื่อนไหวและการใช้งานอวัยวะภายนอกของส่วนต่างๆโดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลการจัดกิจกรรมทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรภาพ

ร้อยละของคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟู

50.00 100.00
2 เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต

40.00 100.00
3 เพิ่มศักยภาพผู้ดูแลหรือญาติสามารถดูแลคนพิการ

ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 20
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ 10
ผู้ดูแลผู้พิการ 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมความรู้การใช้กายอุปกรณ์แก่ เจ้าหน้าที่ ครู อาสาสมัคร และผู้ดูแลคนพิการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมความรู้การใช้กายอุปกรณ์แก่ เจ้าหน้าที่ ครู อาสาสมัคร และผู้ดูแลคนพิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  ประชุมคณะกรรมการวางแผนการดำเนินงานและเตรียมความพร้อม 2.  จัดหา/ซื้อเครื่องกายอุปกรณ์  สำหรับการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ 3.  จัดอบรมความรู้การใช้กายอุปกรณ์แก่  เจ้าหน้าที่  ครู  อาสาสมัคร  และผู้ดูแลคนพิการ งบประมาณ กิจกรรมที่  1  จัดหา/ซื้อเครื่องกายอุปกรณ์  สำหรับการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ    จำนวน  6  รายการ  เป็นเงิน    33,900  บาท     1.1  ค่ากายอุปกรณ์สะพานทรงตัว      เป็นเงิน    16,100   บาท     1.2  ค่ากายอุปกรณ์บริหารขาและหลัง      เป็นเงิน      8,900   บาท     1.3  ค่ากายอุปกรณ์จักรยานปั่น      เป็นเงิน      8,900  บาท     กิจกรรมที่  2  จัดอบรมให้ความรู้การใช้กายอุปกรณ์แก่  เจ้าหน้าที่  ครู  อาสาสมัคร  และผู้ดูแลคนพิการ  จำนวน  30  คน  จำนวน  1  วัน  เป็นเงิน  15,060  บาท     2.1  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  30  คน  x  25  บาท  x  2  มื้อ    เป็นเงิน  1,500   บาท     2.2  ค่าอาหารกลางวัน  30  คน  x  80  บาท  x  1  มื้อ      เป็นเงิน  2,400   บาท     2.3  ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 3 คน
                เป็นเงิน  10,800   บาท     2.4  ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์  1  ผืน ขนาด 1x3 เมตร ตารางเมตรละ 120 บาท
                เป็นเงิน       360  บาท     กิจกรรมที่  3  ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ   เป็นเงิน  500  บาท     3.1 ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้และถ่ายเอกสารจัดทำรายงาน  2  เล่ม  เป็นเงิน      500  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.เจ้าหน้าที่ครูอาสาสมัครและผู้ดูแลคนพิการ มีความรู้เรื่องการใช้กายอุปกรณ์ในการส่งเสริมสมรรถภาพทางร่ายกายของผู้พิการคิดเป็นร้อยละ100 2.ผู้พิการมีกายอุปกรณ์และได้รับบริการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่ายกายตามแผนพัฒนาศักยภาพรายบุคคลคิดเป็นร้อยละ100

ผลลัพธ์ 1.เจ้าหน้าที่ครูอาสาสมัครและผู้ดูแลคนพิการ นำความรู้เรื่องการใช้กายอุปกรณ์ในการส่งเสริมสมรรถภาพทางร่ายกายของผู้พิการ ไปถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพผู้พิการ 2.ผู้พิการ มีพัฒนาการและสมรรถภาพด้านร่างกายดีขึ้น ตามแผนพัฒนาศักยภาพรายบุคคล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
49460.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,460.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต
1.เจ้าหน้าที่ครูอาสาสมัครและผู้ดูแลคนพิการ มีความรู้เรื่องการใช้กายอุปกรณ์ในการส่งเสริมสมรรถภาพทางร่ายกายของผู้พิการคิดเป็นร้อยละ100
2.ผู้พิการมีกายอุปกรณ์และได้รับบริการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่ายกายตามแผนพัฒนาศักยภาพรายบุคคลคิดเป็นร้อยละ100
3.ผู้พิการมีอาสาสมัคร1คนให้บริการส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่ายกายผู้พิการทุกวันจันทร์-วันเสาร์เวลา08.30-15.30น. ระยะเวลา6เดือน
ผลลัพธ์
1.เจ้าหน้าที่ครูอาสาสมัครและผู้ดูแลคนพิการ นำความรู้เรื่องการใช้กายอุปกรณ์ในการส่งเสริมสมรรถภาพทางร่ายกายของผู้พิการ ไปถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพผู้พิการ
2.ผู้พิการ มีพัฒนาการและสมรรถภาพด้านร่างกายดีขึ้น ตามแผนพัฒนาศักยภาพรายบุคคล
3.มีผู้พิการสามารถช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น


>