กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อย วัยใส ห่างไกลไข้หวัด (โรงเรียนสุขภาวะ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกตรี

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกตรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กมีอาการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ (ร้อยละ)

 

50.00

ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่กำลังขยายตัวไปทั่วโลกโดยประเทศไทยมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเกิดการระบาดอย่างต่อเนื่องภายในประเทศ

ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงน้อยและอัตราป่วยตายต่ำเชื้อไวรัสอาจมีการเปลี่ยนแปลงมีความรุนแรงมากขึ้นจึงต้องประเมินสถานการณ์และปรับการป้องกันและควบคุมเป็นระยะ ๆ เมื่อเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่ายเด็กเล็กมีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยได้บ่อยส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและสุขภาพโดยรวมของเด็กจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจโรคนี้พบเป็นสาเหตุอันดับแรกของอาการไข้ที่เกิดขึ้นพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัยตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่จะเกิดขึ้นบ่อยมากกับเด็กปฐมวัยเนื่องด้วยในวัยนี้มีภูมิต้านทานน้อยเกิดโรคนี้ได้ง่าย

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกตรีได้ให้ความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพจึงได้จัดโครงการหนูน้อยวัยใสห่างไกลไข้หวัด” เพื่อให้เด็กนักเรียนและผู้ปกครองได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่และวิธีการป้องกันและปลูกฝังจิตสำนึกการรักษาความสะอาดและให้ความรู้เด็กและผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีการล้างมือ ๗ ขั้นตอน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่เบื่องต้น

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่

0.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง

ร้อยละ 80 ของเด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง

0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองเรียนรู้เฝ้าระวังติดตามวิธีการป้องกันสาเหตุการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองได้เรียนรู้วิธีป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคไข้หวัดใหญ๋

0.00

1.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่เมื่อต้น
2.เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง
3.เพื่อให้ผู้ปกครองเรียนรู้เฝ้าระวังติดตามวิธีการป้องกันสาเหตุการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่
4.เพื่อลดการไอจามน้ำมูกไหล

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 55
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 จัดมุมให้ความรู้ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 จัดมุมให้ความรู้ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ

  • จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ

  • ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการแก่ผู้เกี่ยวข้อง

  • จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ และสถานที่สำหรับการดำเนินโครงการ

ขั้นดำเนินการ

  • จัดซุ้มให้ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่

ขั้นประเมินผล

  • ผู้ปกครองได้เรียนรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าภาพโป๊สเตอร์ให้ความรู้โรคไข้หวัดใหญ่ ขนาด A4 จำนวน 10 แผ่น แผ่นละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท

  • ค่าฟิวเจอร์บอร์ด ขนาด 26*30 นิ้ว แผ่นละ30 บาท จำนวน2 แผ่น เป็นเงิน 60 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
210.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ ป้องกันไข้หวัดใหญ่

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ ป้องกันไข้หวัดใหญ่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ

  • จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติ

  • ประชุมชี้แจงโครงการและแนวทางการดำเนินการแก่ผู้เกี่ยวข้อง

  • จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ และสถานที่สำหรับการดำเนินโครงการ

ขั้นดำเนินการ

  • จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่แก่ผู้ปกครอง

  • กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพของเด็กปฐมวัย

ขั้นประเมินผล

  • ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าวิทยากร 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลขนาด 2.00x1.50 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 450 บาท

  • ค่าอาหารว่างจำนวน 55 คน ๆ ละ2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 55 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4,400 บาท

  • ค่าเจลล้างมือ จำนวน 1 ขวด ขวดละ 180 บาท

  • ค่าหน้ากากอนามัย จำนวน2 กล่อง (50 ชิ้น/กล่อง) กล่องละ 125 บาท เป็นเงิน 250 บาท

รวมเป็นเงิน 10,430 บาท

ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10430.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,640.00 บาท

หมายเหตุ :
07.30 - 08.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วม โครงการหนูน้อยวัยใส ห่างไกลไข้หวัดใหญ่
08.00 - 08.30 น. เปิดพิธีโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี/ตัวแทน
08.30 - 10.30 น. บรรยายเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่และวิธีการป้องกัน
10.30 - 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
11.00 - 12.00 น. บรรยายเรื่องโรคไข้หวัดใหญ่และวิธีการป้องกัน(ต่อ)
12.00 - 13.30 น. รับประทานอาหารเที่ยง/ปฏิบัติศาสนกิจ
13.30 - 14.30 น.แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัย
14.30 - 16.00 น. กิจกรรมกลุ่มตอบปัญหาการรักษาสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัยโดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกตรี/กองกาารศึกษาฯอบต.เกตรี
16.00 - 16.30 น. ปิดพิธีโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกตรี/ตัวแทน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่เบื่องต้น
2.เด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง

3.ผู้ปกครองเรียนรู้เฝ้าระวังติดตามวิธีการป้องกันสาเหตุการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่
4.ลดการไอ จามน้ำมูกไหลได้


>