กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีอยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือ เมื่อประเทศใดมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรือ ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 ซึ่งทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศแรกที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาวะโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้มีความรู้ในการดูแลตัวเองและได้รับการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดภาวะเสี่ยงของโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุให้ดีขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้มีความรู้ในการดูแลตัวเอง

 

0.00
3 เพื่อลดภาวะเสี่ยงของโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อกิจกรรม
ผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนการเตรียมการ
1. ร่วมกันประชุมวางแผน เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ 2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ 3. ประสานดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายประชาสัมพันธ์ของ อบต. ผู้นำชุมชน เผยแพร่แนะนำ ชวนเชิญสมาชิกเพิ่มเติม 2. ดำเนินการจัดโครงการผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2564 3. ประเมินผลการดำเนินงาน ขั้นตอนสรุปผลดำเนินการ
1. สรุปผลโครงการ 2. รายงานผลโครงการ

  • ค่าอาหารกลางวัน 80 บาท x 1 มื้อ x 80 คน เป็นเงิน 6,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 80 คน เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 1,050 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าเช่าเต็นท์, เก้าอี้, เครื่องเสียง เป็นเงิน 4,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ
2. ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุให้มีความรู้ในการดูแลตัวเอง
3. สามารถลดภาวะเสี่ยงของโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ


>