กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนสีขาว ปลอดยาเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านนาดา

1.นายมามะ สาและ (ประธาน)
2.นางการีหม๊ะ สาและ(รองประธาน)
3.นางซารีฮะ สาและ กรรมการ
4.นางสุไรนี อุมาแง กรรมการ
5.นางคอลีเย๊าะ ยามา กรรมการ

ห้องประชุมโรงพยาบาลรือเสาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนในพื้นที่ยังตกเป็นทาสสารเสพติดโดยไม่รู้ตัว

 

55.00

จากสถานการณ์ปัจจุบันปัญหายาเสพติดนับเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญและต้องการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่่องจากปัจจุบันมีการใช้ยาเสพติดอย่างแพร่หลายเกือบทุกวัย เช่น วัยเรียน วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ จึงทำให้ผู้ใช้ยาเสพติดตกเป็นทาสสารเสพติดโดยไม่รู้ตัวและหากผู้ใช้ยาเสพติดขาดความรู้ ความเข้าใจถึงพิษและโทษภัยยาเสพติดแต่ละชนิดนั้นก็จะทำให้ยากต่อการเลิกสารเสพติดได้ในอนาคตจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางด้านสมองและด้านการใช้ชีวิตประจำวัน/การทำกิจวัตรประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและหากใช้ไปเป็นเวลานานก็จะมีหลายปัจจัยที่่อาจนำไปสู้ปัญหาสุขภาพจิตและการก่อให้เกิดความรุนแรงต่อทรัพย์สินและบุคคลได้อีกทั้งส่งผลกระทบต่างๆต่อครอบครัว ชุมชนและสังคมก็จะทำให้ขาดการยอมรับได้
ดังนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดูแลบุคคลในครอบครัว ชุมชน เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องพิษและโทษภัยของยาเสพติดแต่ละชนิด รวมถึงการประเมินเบื้องต้นในผู้ใช้สารเสพติด เพื่อส่งเข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้สารเสพติดในสถานบำบัดใกล้บ้านมากยิ่งขึ้นและเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการดูแลบุตรหลานที่ใช้สารเสพในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องพิษและโทษของยาเสพติดแต่ละชนิด

ร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องพิษและโทษของยาเสพติดแต่ละชนิด

55.00 20.00
2 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

ร้อยละ 80 ยาเสพติดในชุมชนลดลง

55.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 55
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องพิษโทษยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องพิษโทษยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องพิษโทษยาเสพติดแต่ละชนิด
-ค่าอาหารกลางวัน 55 คน × 50 บาท × 1 มื้อ =2,750 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 55 คน × 25 บาท × 2 มื้อ = 2,750 บาท -ค่าวิทยากร 1 คน × 600 บาท ×3 ชม.= 1,800 บาท -ค่าสื่อการสอน(ประเภท Roll up)ขนาด 80×200cm.จำนวน 8 ชุดๆละ 3,000 บาท = 24,000 บาท -ค่าสมุดปกอ่อน เล่มละ 10 บาท 55 เล่ม = 550 บาท
-ปากกา ด้ามละ 5 บาท 55 ด้าม = 275 บาท
-กระเป๋า 55 ใบๆละ 60 บาท = 3,300 บาท -ค่าจัดจ้างทำป้ายไวนิล 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับพิษโทษยาเสพติดแต่ละชนิด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36225.00

กิจกรรมที่ 2 Take care ทีม

ชื่อกิจกรรม
Take care ทีม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินและดูแลผู้ที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้สารเสพติดในชุมชน -ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมิน/คัดกรอง/แบบบันทึกการติดตาม ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 55 ชุดๆละ 6 บาท=330 บาท -ค่าวิทยากร 1 คน × 600 บาท ×3 ชม.= 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนสามารถประเมินและดูแลผู้ที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ใช้สารเสพติดในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2130.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,355.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษและโทษสารเสพติดแต่ละชนิดได้ถูกต้อง
2.ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้


>