กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา รหัส กปท. L5166

อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
บ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิกขยับอีกนิดด้วยตาราง 9 ช่อง
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่2 บ้านโหนด
3.
หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ; WHO) ได้สำรวจพบว่า โรคที่มีส่วนทำให้ประชากรเสียชีวิตมากที่สุดถึงร้อยละ 70 คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ non-communicable diseases ; NCDs (WHO, 2019 ) เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การขาดการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ความเครียด เป็นต้น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นพื้นฐานสำคัญอันดับแรกของการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย (วายุ, 2562) จากงานวิจัยพบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ช่วยให้การบีบตัวของหัวใจดีขึ้น ความตึงตัวของหลอดเลือดลดลง มีการขยายตัวมากขึ้น ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL-C) และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ ทั้งนี้จะต้องเป็นการออกกำลังกายในระดับปานกลาง โดยในขณะออกกำลังกายจะเพิ่มการเผาผลาญอย่างน้อยร้อยละ 40 - 60 ของความต้องการออกซิเจนสูงสุด และต้องมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องวันละ 30 - 45 นาที เป็นเวลา 3 - 4 วัน ใน 1 สัปดาห์จะสามารถลดความดันโลหิตได้ 4 - 9 มิลลิเมตรปรอท (นิพพาภัทร์, จิณวัตร และบุปผา, 2560) ดังนั้น การป้องกันที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้วิธีหนึ่งคือการออกกำลังกาย ในปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนั้น ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นจากประชาชนเกือบทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จากการทำแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับการออกกำลังกายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 20.39 น. คนที่ไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อยมีจำนวน 57,122 คน คิดเป็นร้อยละ 46.8คนที่ออกกำลังกายบางครั้งจำนวน 8,783 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 และคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำจำนวน 56,124 คน คิดเป็นร้อยละ 46.0 จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 122,029 คน พบว่ามีคนจำนวนมากกว่าครึ่งที่ไม่การออกกำลังกายซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของคนไทยในอนาคตได้ จากการสำรวจแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มตัวอย่าง หมู่ 2 บ้านโหนด ตำบลคลองหลา จำนวน 67 คน พบว่า ประชากรในชุมชนจำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 68.66 มีโรคประจำตัว โดยโรคที่พบ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน และประชากรมีพฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 46.27 อีกทั้งจากการสอบถามส่วนใหญ่พบว่าประชากรยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน การส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนจึงถือเป็นการจัดปัจจัยเอื้อที่สำคัญ ฉะนั้นการเสริมสร้างสุขภาพโดยเฉพาะการออกกำลังกายของประชากรก็ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับประชากรมีความรู้ในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง มีความใส่ใจในสุขภาพที่ดี หากมีชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นแกนนำหลักในการออกกำลังกาย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพภาวะร่างกายของประชาชนในพื้นที่ นำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์เเข็งแรง เกิดเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพและส่งผลให้ประชาชนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากชุมชนบ้านโหนดมีศิลปะการแสดงที่หลากหลาย มีครูสอนมโนราห์อยู่ในชุมชนซึ่งเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ที่พบเห็นได้เฉพาะภาคใต้ของไทย จึงได้นำการรำมโนราห์มาประยุกต์กับการออกกำลังกายที่เรียกว่า “โนราบิก” เป็นการประยุกต์ศิลปะท่ารำของมโนราห์มาเป็นการเต้นแอโรบิก เพื่อคนในชุมชนสามารถมีกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยความเพลิดเพลิน และคุ้นเคยกับเสียงเพลงมโนราห์ ซึ่งโนราบิกยังเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย เนื่องจากเน้นการขยับร่างกายโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เอ็น ข้อต่อที่ไม่ต้องใช้แรงกระแทกของร่างกาย มีการเคลื่อนไหวร่างกายได้ทุกส่วน ส่งผลดี ต่อระบบการหายใจ และการไหลเวียนโลหิต (บุญประจักษ, รัถยานภิศ, วัลลภา, และเบญจวรรณ, 2562) และตารางเก้าถูกนำมาใช้ในการยืดเหยียดและคลายกล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายโนราบิก ซึ่งจะช่วยเพิ่มออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น ส่งเสริมให้ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายดียิ่งขึ้น จากการจัดประชาคมและสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 16 คน เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่ที่ 2 มีมติที่จะแก้ปัญหาเรื่องการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังของสมาชิกในชุมชน จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 68.75 ดังนั้นทางกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2 บ้านโหนด ร่วมกับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จึงจัดทำโครงการ “บ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิก ขยับอีกนิดด้วยตาราง 9 ช่อง” เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาวะสุขภาพที่ดีต่อชุมชน องค์กร และสังคม อีกทั้งสร้างผู้นำออกกำลังกายให้มีทักษะในการถ่ายทอดที่ถูกต้องและเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายของสมาชิกในชุมชน เมื่อชุมชนมีสุขภาวะสุขภาพที่ดีย่อมส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน องค์กร สังคม ประเทศชาติให้มีศักยภาพและมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้านต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. 1.. เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกลุ่มเสี่ยง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถตอบคำถามจากแบบสอบถามได้อย่างน้อย 7 ใน 10 ข้อ
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. 2.เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะในการออกกำลังกายแบบโนราบิกและตาราง 9 ช่องที่ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านผ่านแบบประเมินการออกกำลังกายแบบโนราบิก และตาราง 9 ช่อง
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 100.00
  • 3. 3.เพื่อสร้างแกนนำการออกกำลังกายแบบโนราบิก และตาราง 9 ช่อง ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผ่านการอบรมและได้รับประกาศนียบัตร
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. 1.อบรมกลุ่มแกนนำ เรื่องการออกกำลังกายและตาราง 9 ช่อง 2.อบรมกลุ่มแกนนำ เรื่องโนราบิก 3.กิจกรรมโครงการบ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิกขยับอีกนิดด้วยตาราง 9 ช่อง
    รายละเอียด

    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน คนละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท -ป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2 x 2.4 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท  เป็นเงิน 432  บาท
    -ป้ายไวนิลยินดีต้อนรับ ขนาด 1 x 1.5 เมตร
    ตารางเมตรละ 150 บาทเป็นเงิน 150 บาท -กระดาษ A4 ราคา 110 บาท x 1 รีม เป็นเงิน 110 บาท -เทปผ้ากาว ขนาด 3 นิ้ว ราคา 37 บาท x 5 ม้วน เป็นเงิน 185 บาท -ถุงดำหนาขนาด 36 x 45 นิ้ว ราคา 60บาท x 1 แพ็ค เป็นเงิน 60 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 30 คน คนละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน  900 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 2 ท่าน จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน  1,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 60 คน คนละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 2  มื้อ  เป็นเงิน  3,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 60 คน คนละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ  เป็นเงิน  3,000 บาท
    -กระดาษประกาศนียบัตร ราคา 20 บาท x  15 แผ่น เป็นเงิน 300 บาท
    -แผ่น DVD ราคา 10 บาท x  2 แผ่น เป็นเงิน 20 บาท
    -ป้ายไวนิลความรู้ 1 x 1.5 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท x 6 แผ่น เป็นเงิน 1,350 บาท -กระดาษโปสเตอร์สีบางสองหน้า ราคา 5 บาท x 20 แผ่น เป็นเงิน 100 บาท -เชือกฟอกขาว ราคา 80 x 3 กิโล เป็นเงิน 240 บาท
    -กาวลาเท็กซ์ 16 ออนซ์ ราคา 35 x 1 ขวด เป็นเงิน 35 บาท -ซองจดหมาย ราคา 42 บาท x 1 แพ็ค เป็นเงิน 42 บาท -ฟิวเจอร์บอร์ดขนาดกลาง ราคา 78 x 6 แผ่น
    เป็นเงิน 468 บาท -เยื่อกาวขนาด 1 นิ้ว ราคา 30 x 3 ม้วน เป็นเงิน 90  บาท
    -ปากกาลูกลื่น ราคา 5 บาท x 5 ด้าม เป็นเงิน 25 บาท -เชือกฟางขนาดกลาง ราคา 20 บาท x 2 ม้วน เป็นเงิน 40 บาท -เจลล้างมือแอลกอฮอล์ ราคา 150 บาท x 1 ขวด เป็นเงิน 150 บาท
    -ค่าถ่ายเอกสาร ราคา 1 บาท x  100 แผ่น เป็นเงิน 100 บาท -ลำโพงล้อลากและไมค์ ราคา 4,000 บาท x 1 เครื่อง เป็นเงิน 4,000 บาท

    งบประมาณ 17,497.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 17,497.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เกิดกลุ่มแกนนำการออกกำลังกายในชุมชนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกในชุมชน
  2. สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพกาย และจิตที่ดี
  3. สามารถป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ในบุคคลที่ไม่มีโรคประจำตัว และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในบุคคล ที่มีโรคประจำตัว
    1. สมาชิกในชุมชนเกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา รหัส กปท. L5166

อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา รหัส กปท. L5166

อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 17,497.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................