กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

บ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิกขยับอีกนิดด้วยตาราง 9 ช่อง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่2 บ้านโหนด

หมู่ที่ 2 ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ; WHO) ได้สำรวจพบว่า โรคที่มีส่วนทำให้ประชากรเสียชีวิตมากที่สุดถึงร้อยละ 70 คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ non-communicable diseases ; NCDs (WHO, 2019 ) เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การขาดการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ความเครียด เป็นต้น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นพื้นฐานสำคัญอันดับแรกของการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย (วายุ, 2562) จากงานวิจัยพบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ช่วยให้การบีบตัวของหัวใจดีขึ้น ความตึงตัวของหลอดเลือดลดลง มีการขยายตัวมากขึ้น ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL-C) และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ ทั้งนี้จะต้องเป็นการออกกำลังกายในระดับปานกลาง โดยในขณะออกกำลังกายจะเพิ่มการเผาผลาญอย่างน้อยร้อยละ 40 - 60 ของความต้องการออกซิเจนสูงสุด และต้องมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องวันละ 30 - 45 นาที เป็นเวลา 3 - 4 วัน ใน 1 สัปดาห์จะสามารถลดความดันโลหิตได้ 4 - 9 มิลลิเมตรปรอท (นิพพาภัทร์, จิณวัตร และบุปผา, 2560) ดังนั้น การป้องกันที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้วิธีหนึ่งคือการออกกำลังกาย ในปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนั้น ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นจากประชาชนเกือบทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จากการทำแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับการออกกำลังกายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 20.39 น. คนที่ไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อยมีจำนวน 57,122 คน คิดเป็นร้อยละ 46.8คนที่ออกกำลังกายบางครั้งจำนวน 8,783 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 และคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำจำนวน 56,124 คน คิดเป็นร้อยละ 46.0 จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 122,029 คน พบว่ามีคนจำนวนมากกว่าครึ่งที่ไม่การออกกำลังกายซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของคนไทยในอนาคตได้
จากการสำรวจแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มตัวอย่าง หมู่ 2 บ้านโหนด ตำบลคลองหลา จำนวน 67 คน พบว่า ประชากรในชุมชนจำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 68.66 มีโรคประจำตัว โดยโรคที่พบ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน และประชากรมีพฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 46.27 อีกทั้งจากการสอบถามส่วนใหญ่พบว่าประชากรยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน การส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนจึงถือเป็นการจัดปัจจัยเอื้อที่สำคัญ ฉะนั้นการเสริมสร้างสุขภาพโดยเฉพาะการออกกำลังกายของประชากรก็ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับประชากรมีความรู้ในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง มีความใส่ใจในสุขภาพที่ดี หากมีชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นแกนนำหลักในการออกกำลังกาย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพภาวะร่างกายของประชาชนในพื้นที่ นำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์เเข็งแรง เกิดเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพและส่งผลให้ประชาชนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากชุมชนบ้านโหนดมีศิลปะการแสดงที่หลากหลาย มีครูสอนมโนราห์อยู่ในชุมชนซึ่งเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ที่พบเห็นได้เฉพาะภาคใต้ของไทย จึงได้นำการรำมโนราห์มาประยุกต์กับการออกกำลังกายที่เรียกว่า “โนราบิก” เป็นการประยุกต์ศิลปะท่ารำของมโนราห์มาเป็นการเต้นแอโรบิก เพื่อคนในชุมชนสามารถมีกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยความเพลิดเพลิน และคุ้นเคยกับเสียงเพลงมโนราห์ ซึ่งโนราบิกยังเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย เนื่องจากเน้นการขยับร่างกายโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เอ็น ข้อต่อที่ไม่ต้องใช้แรงกระแทกของร่างกาย มีการเคลื่อนไหวร่างกายได้ทุกส่วน ส่งผลดี ต่อระบบการหายใจ และการไหลเวียนโลหิต (บุญประจักษ, รัถยานภิศ, วัลลภา, และเบญจวรรณ, 2562) และตารางเก้าถูกนำมาใช้ในการยืดเหยียดและคลายกล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายโนราบิก ซึ่งจะช่วยเพิ่มออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น ส่งเสริมให้ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายดียิ่งขึ้น
จากการจัดประชาคมและสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 16 คน เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่ที่ 2 มีมติที่จะแก้ปัญหาเรื่องการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังของสมาชิกในชุมชน จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 68.75 ดังนั้นทางกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2 บ้านโหนด ร่วมกับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จึงจัดทำโครงการ “บ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิก ขยับอีกนิดด้วยตาราง 9 ช่อง” เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาวะสุขภาพที่ดีต่อชุมชน องค์กร และสังคม อีกทั้งสร้างผู้นำออกกำลังกายให้มีทักษะในการถ่ายทอดที่ถูกต้องและเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายของสมาชิกในชุมชน เมื่อชุมชนมีสุขภาวะสุขภาพที่ดีย่อมส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน องค์กร สังคม ประเทศชาติให้มีศักยภาพและมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้านต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.. เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถตอบคำถามจากแบบสอบถามได้อย่างน้อย 7 ใน 10 ข้อ

50.00 80.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะในการออกกำลังกายแบบโนราบิกและตาราง 9 ช่องที่ถูกต้อง

ร้อยละ 100 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านผ่านแบบประเมินการออกกำลังกายแบบโนราบิก และตาราง 9 ช่อง

60.00 100.00
3 3.เพื่อสร้างแกนนำการออกกำลังกายแบบโนราบิก และตาราง 9 ช่อง ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ร้อยละ 100 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผ่านการอบรมและได้รับประกาศนียบัตร

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/02/2021

กำหนดเสร็จ 16/02/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมกลุ่มแกนนำ เรื่องการออกกำลังกายและตาราง 9 ช่อง 2.อบรมกลุ่มแกนนำ เรื่องโนราบิก 3.กิจกรรมโครงการบ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิกขยับอีกนิดด้วยตาราง 9 ช่อง

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมกลุ่มแกนนำ เรื่องการออกกำลังกายและตาราง 9 ช่อง 2.อบรมกลุ่มแกนนำ เรื่องโนราบิก 3.กิจกรรมโครงการบ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิกขยับอีกนิดด้วยตาราง 9 ช่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน คนละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 900 บาท -ป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2 x 2.4 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท  เป็นเงิน 432  บาท
-ป้ายไวนิลยินดีต้อนรับ ขนาด 1 x 1.5 เมตร
ตารางเมตรละ 150 บาทเป็นเงิน 150 บาท -กระดาษ A4 ราคา 110 บาท x 1 รีม เป็นเงิน 110 บาท -เทปผ้ากาว ขนาด 3 นิ้ว ราคา 37 บาท x 5 ม้วน เป็นเงิน 185 บาท -ถุงดำหนาขนาด 36 x 45 นิ้ว ราคา 60บาท x 1 แพ็ค เป็นเงิน 60 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 30 คน คนละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ   เป็นเงิน  900 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร 2 ท่าน จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน  1,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 60 คน คนละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 2  มื้อ   เป็นเงิน  3,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 60 คน คนละ 50 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ   เป็นเงิน  3,000 บาท
-กระดาษประกาศนียบัตร ราคา 20 บาท x  15 แผ่น เป็นเงิน 300 บาท
-แผ่น DVD ราคา 10 บาท x  2 แผ่น เป็นเงิน 20 บาท
-ป้ายไวนิลความรู้ 1 x 1.5 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท x 6 แผ่น เป็นเงิน 1,350 บาท -กระดาษโปสเตอร์สีบางสองหน้า ราคา 5 บาท x 20 แผ่น เป็นเงิน 100 บาท -เชือกฟอกขาว ราคา 80 x 3 กิโล เป็นเงิน 240 บาท
-กาวลาเท็กซ์ 16 ออนซ์ ราคา 35 x 1 ขวด เป็นเงิน 35 บาท -ซองจดหมาย ราคา 42 บาท x 1 แพ็ค เป็นเงิน 42 บาท -ฟิวเจอร์บอร์ดขนาดกลาง ราคา 78 x 6 แผ่น
เป็นเงิน 468 บาท -เยื่อกาวขนาด 1 นิ้ว ราคา 30 x 3 ม้วน เป็นเงิน 90  บาท
-ปากกาลูกลื่น ราคา 5 บาท x 5 ด้าม เป็นเงิน 25 บาท -เชือกฟางขนาดกลาง ราคา 20 บาท x 2 ม้วน เป็นเงิน 40 บาท -เจลล้างมือแอลกอฮอล์ ราคา 150 บาท x 1 ขวด เป็นเงิน 150 บาท
-ค่าถ่ายเอกสาร ราคา 1 บาท x  100 แผ่น เป็นเงิน 100 บาท -ลำโพงล้อลากและไมค์ ราคา 4,000 บาท x 1 เครื่อง เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17497.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,497.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดกลุ่มแกนนำการออกกำลังกายในชุมชนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกในชุมชน
2. สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพกาย และจิตที่ดี
3. สามารถป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ในบุคคลที่ไม่มีโรคประจำตัว และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในบุคคล
ที่มีโรคประจำตัว
4. สมาชิกในชุมชนเกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


>