กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิกขยับอีกนิดด้วยตาราง 9 ช่อง
รหัสโครงการ 64-L5166-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่2 บ้านโหนด
วันที่อนุมัติ 10 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 กุมภาพันธ์ 2564 - 16 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 25 มีนาคม 2564
งบประมาณ 16,997.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุนันฑา ขาวสุข
พี่เลี้ยงโครงการ นายอดินันต์ ยามาสัน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ; WHO) ได้สำรวจพบว่า โรคที่มีส่วนทำให้ประชากรเสียชีวิตมากที่สุดถึงร้อยละ 70 คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ non-communicable diseases ; NCDs (WHO, 2019 ) เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคอ้วน เป็นต้น ซึ่งสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การขาดการออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ความเครียด เป็นต้น การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นพื้นฐานสำคัญอันดับแรกของการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย (วายุ, 2562) จากงานวิจัยพบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ช่วยให้การบีบตัวของหัวใจดีขึ้น ความตึงตัวของหลอดเลือดลดลง มีการขยายตัวมากขึ้น ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL-C) และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ ทั้งนี้จะต้องเป็นการออกกำลังกายในระดับปานกลาง โดยในขณะออกกำลังกายจะเพิ่มการเผาผลาญอย่างน้อยร้อยละ 40 - 60 ของความต้องการออกซิเจนสูงสุด และต้องมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องวันละ 30 - 45 นาที เป็นเวลา 3 - 4 วัน ใน 1 สัปดาห์จะสามารถลดความดันโลหิตได้ 4 - 9 มิลลิเมตรปรอท (นิพพาภัทร์, จิณวัตร และบุปผา, 2560) ดังนั้น การป้องกันที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้วิธีหนึ่งคือการออกกำลังกาย ในปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพนั้น ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นจากประชาชนเกือบทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จากการทำแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับการออกกำลังกายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 20.39 น. คนที่ไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อยมีจำนวน 57,122 คน คิดเป็นร้อยละ 46.8คนที่ออกกำลังกายบางครั้งจำนวน 8,783 คน คิดเป็นร้อยละ 7.2 และคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำจำนวน 56,124 คน คิดเป็นร้อยละ 46.0 จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 122,029 คน พบว่ามีคนจำนวนมากกว่าครึ่งที่ไม่การออกกำลังกายซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของคนไทยในอนาคตได้ จากการสำรวจแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มตัวอย่าง หมู่ 2 บ้านโหนด ตำบลคลองหลา จำนวน 67 คน พบว่า ประชากรในชุมชนจำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 68.66 มีโรคประจำตัว โดยโรคที่พบ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน และประชากรมีพฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 46.27 อีกทั้งจากการสอบถามส่วนใหญ่พบว่าประชากรยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน การส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชนจึงถือเป็นการจัดปัจจัยเอื้อที่สำคัญ ฉะนั้นการเสริมสร้างสุขภาพโดยเฉพาะการออกกำลังกายของประชากรก็ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับประชากรมีความรู้ในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง มีความใส่ใจในสุขภาพที่ดี หากมีชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นแกนนำหลักในการออกกำลังกาย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพภาวะร่างกายของประชาชนในพื้นที่ นำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์เเข็งแรง เกิดเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพและส่งผลให้ประชาชนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากชุมชนบ้านโหนดมีศิลปะการแสดงที่หลากหลาย มีครูสอนมโนราห์อยู่ในชุมชนซึ่งเป็นศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ที่พบเห็นได้เฉพาะภาคใต้ของไทย จึงได้นำการรำมโนราห์มาประยุกต์กับการออกกำลังกายที่เรียกว่า “โนราบิก” เป็นการประยุกต์ศิลปะท่ารำของมโนราห์มาเป็นการเต้นแอโรบิก เพื่อคนในชุมชนสามารถมีกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยความเพลิดเพลิน และคุ้นเคยกับเสียงเพลงมโนราห์ ซึ่งโนราบิกยังเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย เนื่องจากเน้นการขยับร่างกายโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เอ็น ข้อต่อที่ไม่ต้องใช้แรงกระแทกของร่างกาย มีการเคลื่อนไหวร่างกายได้ทุกส่วน ส่งผลดี ต่อระบบการหายใจ และการไหลเวียนโลหิต (บุญประจักษ, รัถยานภิศ, วัลลภา, และเบญจวรรณ, 2562) และตารางเก้าถูกนำมาใช้ในการยืดเหยียดและคลายกล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกายโนราบิก ซึ่งจะช่วยเพิ่มออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายมากขึ้น ส่งเสริมให้ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายดียิ่งขึ้น จากการจัดประชาคมและสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 16 คน เมื่อวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่ที่ 2 มีมติที่จะแก้ปัญหาเรื่องการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังของสมาชิกในชุมชน จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 68.75 ดังนั้นทางกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2 บ้านโหนด ร่วมกับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จึงจัดทำโครงการ “บ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิก ขยับอีกนิดด้วยตาราง 9 ช่อง” เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาวะสุขภาพที่ดีต่อชุมชน องค์กร และสังคม อีกทั้งสร้างผู้นำออกกำลังกายให้มีทักษะในการถ่ายทอดที่ถูกต้องและเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายของสมาชิกในชุมชน เมื่อชุมชนมีสุขภาวะสุขภาพที่ดีย่อมส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน องค์กร สังคม ประเทศชาติให้มีศักยภาพและมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้านต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.. เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถตอบคำถามจากแบบสอบถามได้อย่างน้อย 7 ใน 10 ข้อ

50.00 80.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะในการออกกำลังกายแบบโนราบิกและตาราง 9 ช่องที่ถูกต้อง

ร้อยละ 100 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านผ่านแบบประเมินการออกกำลังกายแบบโนราบิก และตาราง 9 ช่อง

60.00 100.00
3 3.เพื่อสร้างแกนนำการออกกำลังกายแบบโนราบิก และตาราง 9 ช่อง ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ร้อยละ 100 ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผ่านการอบรมและได้รับประกาศนียบัตร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.. เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกลุ่มเสี่ยง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีทักษะในการออกกำลังกายแบบโนราบิกและตาราง 9 ช่องที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อสร้างแกนนำการออกกำลังกายแบบโนราบิก และตาราง 9 ช่อง ในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

14 - 16 ก.พ. 64 1.อบรมกลุ่มแกนนำ เรื่องการออกกำลังกายและตาราง 9 ช่อง 2.อบรมกลุ่มแกนนำ เรื่องโนราบิก 3.กิจกรรมโครงการบ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิกขยับอีกนิดด้วยตาราง 9 ช่อง 17,497.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. อบรมกลุ่มแกนนำ เรื่องการออกกำลังกายและตาราง 9 ช่อง
      - บรรยายให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายโดยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   - ความหมาย รูปแบบการออกกำลังกาย
      - ความแตกต่างระหว่างการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย (Exercise Vs Physical activity)   - อธิบายกลไกการออกกำลังกายที่ทำให้กลุ่มเสี่ยงไม่เกิดโรคเรื้อรัง และการออกกำลังกายที่เหมาะสมแต่ละช่วงวัย   - ประวัติความเป็นมาของการเต้นตาราง 9 ช่อง และประโยชน์ของการเต้นตาราง 9 ช่อง   - สอนทักษะการเต้นตาราง 9 ช่อง โดยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  2. อบรมกลุ่มแกนนำ เรื่อง โนราบิก   - บรรยายให้ความรู้เรื่องโนราบิก โดยนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   - ประวัติความเป็นมาของโนราบิก   - ประโยชน์ของโนราบิก
  3. กิจกรรมโครงการบ้านโหนดร่วมแรงสร้างแกนนำ รำโนราบิกเสริมความคิดด้วยตาราง 9 ช่อง   - ชมนิทรรศการเกี่ยวกับการออกกำลังกาย   - กิจกรรมสันทนาการ   - การแสดงโนราบิก โดย กลุ่มแกนนำชุมชนที่ผ่านการอบรม   - มอบเกียรติบัตรให้กับแกนนำชุมชนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และร่วมบันทึกข้อตกลง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดกลุ่มแกนนำการออกกำลังกายในชุมชนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับสมาชิกในชุมชน
  2. สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพกาย และจิตที่ดี
  3. สามารถป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ในบุคคลที่ไม่มีโรคประจำตัว และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในบุคคล ที่มีโรคประจำตัว
    1. สมาชิกในชุมชนเกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2564 00:00 น.