กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดแมลงในตำบลปันแต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

พื้นที่หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

49.17
2 จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

 

33.34

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพจากสารเคมี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  1. จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต
  2. ประเมินผลจากผลการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 553
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในปะชาชน อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจสารเคมีตกค้างในปะชาชน อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เตรียมข้อมูลสถานะสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายในการคัดกรอง ประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป
  2. สำรวจความต้องการคัดกรองของกลุ่มเป้าหมาย
  3. ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทราบ พร้อมนัด วัน เวลาและสถานที่ในการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเสี่ยง
  4. เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส
  5. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเสี่ยง
  6. จำแนกประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ออกเป็น ๔ ระดับประกอบด้วย ระดับไม่ปลอดภัย ระดับเสี่ยง ระดับปลอดภัย ระดับปกติ

งบประมาณ 1.ค่าชุดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน ๑๐ ชุด ชุดละ ๙๕๐ บาท เป็นเงิน ๙,๕๐๐ บาท 2.ค่าเข็มเจาะเลือด จำนวน 3 กล่อง กล่องละ 1,000 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าสำลีแอลกอฮอล์ กล่องละ 185 บาท จำนวน 8 กล่อง เป็นเงิน 1,480 บาท 4.ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานของเกษตรกรจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท จำนวน 6๐0 ชุด เป็นเงิน 6๐0 บาท รวมเป็นเงิน14,580บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันห้าร้อยแปดสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14580.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม แจ้งผลการตรวจหาสารเคมีในเลือด ให้คำแนะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกร การเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษ การล้างผักและผลไม้สดอย่างถูกวิธีประชาชนที่ผลการตรวจพบระดับสารเคมีในเลือด ระดับไม่ปลอดภัยและเสี่ยง แนะนำเข้าสู่กระบวนการขับสารพิษ ๒ วิธีคือ การอบสมุนไพร และการรับประทานชาชงรางจืด
งบประมาณ 1. ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับการล้างผักที่ถูกวิธี หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท
จำนวน 6๐0 ชุดเป็นเงิน 6๐0 บาท 2. ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่อง รางจืด หน้า-หลัง แผ่นละ ๑ บาท
จำนวน 6๐0 ชุด เป็นเงิน 6๐0 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท (หนึ่งพันสองร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประเมินผลจากผลการตรวจสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,780.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง


>