กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดพุง ลดโรค (คลินิก DPAC)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

 

31.12

จากการสำรวจสภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนของกรมอนามัย ปี2563 พบว่าคนไทยอายุมากกว่า ๑๕ ปีขึ้นไป เพศชายมีภาวะอ้วนลงพุง ร้อยละ ๒๔ และเพศหญิงร้อยละ ๖๐ โดยพบในผู้หญิงมากกว่าชาย ถึง ๒.๕ เท่าตัว ภาวะอ้วนลงพุงส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กรรมพันธุ์ และไม่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง ประเทศไทยเรียกว่า โรควิถีชีวิตคือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรคแต่เกิดมาจากสาเหตุการใช้วิถีชีวิตแบบสังคมคนเมืองสมัยใหม่ที่มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งในปี 2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จะดำเนินการพัฒนาคลินิกไร้พุง และเข้าสู่การประเมินรับรองมาตรฐานคลินิกไร้พุง จึงจัดทำโครงการลดพุงลดโรคเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญการส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกันส่งผลให้ประชาชนในตำบลปันแตมีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็งอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกายและอารมณ์ในกลุ่มหญิง-ชาย วัยทำงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญการส่งเสริมสุขภาพ 2. เพื่อสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในกาลดน้ำหนักและทำกิจกรรมร่วมกัน
  1. คลินิก DPAC มาตรฐาน ประเมินเปรียบเทียบกับเกณฑ์คลินิก DPAC ของกรมอนามัย
  2. ข้อมูลกลุ่มเสี่ยงในคลินิก DPAC ที่มีภาวะเสี่ยงลดลงร้อยละ 5 ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC สสจ.พัทลุง
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้และคำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง 1 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้และคำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง 1 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง 1 วัน งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด  จำนวน 35 คน x 2 มื้อ x
25 บาท  เป็นเงิน 1,750 บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด  จำนวน 35 คน x
1 มื้อ x 60 บาท  เป็นเงิน 2,100 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ข้อมูลกลุ่มเสี่ยงในคลินิก DPAC ที่มีภาวะเสี่ยงลดลงร้อยละ 5 ประมวลผลจากฐานข้อมูล HDC สสจ.พัทลุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5650.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาคลินิกไร้พุงตามเกณฑ์มาตรฐาน 7 องค์ประกอบ

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาคลินิกไร้พุงตามเกณฑ์มาตรฐาน 7 องค์ประกอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาคลินิกไร้พุงเพื่อให้บริการแก่ กลุ่มวัยทำงานที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดังนี้
- ซักประวัติ
-ให้บริการตรวจวิเคราะห์สุขภาพ
- การให้บริการด้านสุขภาพ
- การให้คำปรึกษา
- การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
- การให้สุขศึกษารายบุคคล รายกลุ่มการจัดการบรรยายพิเศษ
- การจัดนิทรรศการ การเผยแพร่ความรู้ด้วยสื่อ
- การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
- มอบสมุดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้รับบริการ -นัดและติดตามประเมินผล -ส่งต่อผู้รับบริการในรายที่มีปัญหาไปยังโรงพยาบาลตามขั้นตอนตามระบบการส่งต่อ
เพื่อดูแลรักษา และให้คำปรึกษาที่เหมาะสม
งบประมาณ - ค่าป้ายการดำเนินงานในคลินิก DPAC จำนวน 5 ป้าย x 1,000 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าแฟ้มประจำตัวผู้เข้าร่วมโครงการ  จำนวน 30 แฟ้ม ๆ ละ  100 บาท
เป็นเงิน 3,000 บาท -  ค่าวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 30 ชุด ๆ ละ 50 บาท  เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คลินิก DPAC มาตรฐาน ประเมินเปรียบเทียบกับเกณฑ์คลินิก DPAC ของกรมอนามัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับบริการจากคลินิก DPAC ที่มีมาตรฐาน
2.ลดอัตราป่วยในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


>