กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดพุง ลดโรค (คลินิก DPAC)
รหัสโครงการ 64-L3321-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 15,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 15,150.00
รวมงบประมาณ 15,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากร(อายุมากกว่า 15 ปี) ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง
31.12

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคอ้วนลงพุง มีสาเหตุเริ่มต้นจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม กินอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล และไขมันสูงร่วมกับการไม่ออกกำลังกาย ทำให้น้ำหนักมากเกินไป พุงยื่น สำหรับคนไทยผู้ชายไม่ควรมีรอบเอวเกิน      90 เซนติเมตร ผู้หญิงไม่ควรมีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร ผู้ที่มีปัญหาอ้วนลงพุง มักจะมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่  โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพาตที่เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตัน ทำให้สมองขาดเลือด นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และยังอาจก่อให้เกิดโรคตับเรื้อรัง จากการที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ ซึ่งนำไปสู่โรคตับแข็งได้ ผู้ป่วยเมตะบอลิคซินโดรม อาจจะไม่มีอาการผิดปกติอะไรยกเว้น “อ้วนลงพุง” ดังนั้น หากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ  ก็จะไม่ทราบว่ามีความดันโลหิตสูง น้ำตาลสูง หรือมีไขมันผิดปกติ บางรายที่ความดันโลหิตสูง อาจจะมีอาการปวดศีรษะหรือ เวียนศีรษะ ส่วนรายที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเข้าขั้นเบาหวาน อาจมีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย หรือมีอาการอื่น ๆ ของโรคเบาหวาน


จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2557 พบว่าทั่วโลกมีผู้ใหญ่ถ้ามีภาวะน้ำหนักเกิน (ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25กก./ตร.ม.ขึ้นไป) ประมาณ 1,900 ล้านรายและเป็นโรคอ้วน (ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30กก./ตร.ขึ้นไป) อย่างน้อย    600 ล้านราย นั้นคือ ร้อยละ 39 ของผู้ใหญ่ในโลกนี้ มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน อีกด้วย ในประเทศไทย โรคอ้วน  เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากถึง 20,000 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 5.1 ของการเสียชีวิตทั้งหมดในปี พ.ศ. 2557 และจากผลสำรวจสุขภาพล่าสุด พบว่าคนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไปป่วยเป็นโรคอ้วน ติดอันดับ 5 ของเอเชียแปซิฟิก โดยมีคนอ้วนมากถึง  17 ล้านคนทั่วประเทศ และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 4 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งสิ้น  115 คน ซึ่งเป็นต้นแบบในการทำงานด้านสุขภาพในชุมชน จากผลการคัดกรองสุขภาพพบว่าผู้ที่มีรอบเอว และ BMI เกินเกณฑ์ จำนวน 44 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 38.26 ซึ่งหลักสำคัญในการดูแลสุขภาพและการลดรอบเอวเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือ การดูแลและให้ความรู้ด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิต และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา  ควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้หลากหลายและพอเพียง งดหวาน มันเค็ม หมั่นดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์        ที่พอเหมาะควบคู่กับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากไม่มีเวลาออกกำลังกายมากพอก็ควรเดินให้ได้วันละ 10,000 ก้าว และพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าน้ำหนักตัวลดลง ร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักเดิม ไขมันในช่องท้องจะลดลงไปได้ถึงร้อยละ 30
การบริการคลินิก DPAC ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต เป็นรูปแบบการให้บริการจัดบริการตรวจสุขภาพ ประเมินสภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ รวมทั้งการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง ทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มหญิง – ชาย วัยทำงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพ และสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกัน จากข้อมูลข้างต้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคอ้วนในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขแล้วจะเกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน    ที่ตามมาอีก โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง  โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสูญเสียทางเศรษฐกิจเนื่องจากค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ ที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่หากสามารถแก้ไขปัญหาโรคอ้วนได้ก็จะให้อัตราการป่วยโรคเรื้อรังอื่น ๆ ในพื้นที่ตำบลปันแต ลดลงด้วย  และพัฒนาและขยายผลการดำเนินงานคลินิกไร้พุง (DPAC) และแก้ไขพัฒนากระบวนการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วน มีพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน

1.อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วน มีพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน    ร้อยละ 80

1.00
2 2.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วน มีน้ำหนักตัว ที่ลดลง

1.อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วน มีน้ำหนักตัวที่ลดลง อย่างน้อยร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะอ้วน

0.00
3 3.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วน ได้รับการกระตุ้นเตือนในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วน ได้รับการกระตุ้นเตือนในการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
0.00
4 4.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วนได้รับการฝึกออกกำลังกาย

4.อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะอ้วนได้รับการฝึกออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 15,150.00 0 0.00
1 ก.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง 1 วัน 30 15,150.00 -

กิจกรรมให้ความรู้และคำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง 1 วัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะอ้วนเข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนที่ดีขึ้น
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะอ้วนที่เข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักที่ลดลง
  3. ลดภาวะเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน
    ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 14:11 น.