กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยรักษ์สะอาด แยกขยะด้วยมือเรา (โรงเรียนตาดีกาอัลฮาดี ลูโบ๊ะบาตู)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

โรงเรียนตาดีกาอัลฮาดี ลูโบ๊ะบาตู

1.นายฮาซิม เจ๊ะยอ (ประธาน)
2.นายมูฮำหมัดอาสัน ยูโซ๊ะ (กรรมการ)
3.นายซัยนัลอาบีเด็ง มะ (กรรมการ)
4.นางฮามีดะห์ แนมะ(กรรมการ)
5.นางซูไอนี สาอิ (กรรมการ)

โรงเรียนตาดีกาอัลฮาดี ลูโบ๊ะบาตู หมู่ที่ 4 ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในแต่ละวันของศูนย์ตาดีกา อัลฮาดี-บ้านลูโบ๊ะบาตู พบมีขยะเกิดขึ้นจากกิจวัตรประจำวัน อาทิเช่น กระดาษ ถุงพลาสติก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กล่องนม เศษอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบขยะที่มาจากผู้ปกครองและผู้ที่สัญจรผ่านเส้นทางที่ตั้งศูนย์และเพื่อนบ้านซึ่งอยู่ภายในบริเวณเส้นทางเดียวกัน ด้วยการจัดการที่ยังไม่ดีมากนักทำให้เกิดขยะตั้งกองรวมกันบ้าง กระจัดกระจายไปตามริมถนนบ้าง ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีและไม่น่าดู และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค เช่น หนู แมลงสาป แมลงวัน จากการวิเคราะห์พบว่า ร้อยละ 70% ของขยะภายในศูนย์เป็นขยะที่นำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ ดังนั้นการคัดแยกขยะจะทำให้ศูนย์รู้ว่าควรกำจัดขยะแต่ละประเภทอย่างไรจึงเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและงบประมาณหรือขยะเช่นใดบ้างที่ควรนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ การคัดแยกขยะเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อระบบการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และจะสามารถช่วยลดปัญหาขยะริมถนนและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคด้วย
ศูนย์ตาดีกา อัลฮาดี-บ้านลูโบ๊ะบาตู เล็งเห็นความสำคัญและต้องการลดปริมาณขยะในศูนย์สร้างกระบวนการคัดเกียร์ให้เกิดขึ้นและสามารถป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจจากการทิ้งขยะผสมรวมกันอาจทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนส่งผลให้เด็กไม่มีสมาธิในการจัดการเรียนการสอนทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณนาฬิกาไม่น่าดูและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรคส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนในศูนย์ตาดีกาและสามารถนำขยะที่ได้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ของนักเรียนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองโดยนำวัสดุเหลือมาประยุกต์ใช้กลับมาเป็นนวัตกรรมเกิดประโยชน์กับการเรียนรู้ของเด็กโดยตรงและเป็นการปลูกฝังเด็กได้คิดเองทำเองใช้เองซึ่งจะสร้างองค์ความรู้ในการจัดการเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมช่วยลดขยะในศูนย์และยังสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่เด็กตั้งแต่ยังเล็กการที่เราปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักคิดด้วยตนเองตั้งแต่เด็กให้รู้จักวิธีรักษาตนเองรู้จักการแก้ปัญหาการรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นการปลูกจิตสำนึกที่ดีมีวินัยให้กับเด็กตั้งแต่เยาว์วัยและมีและเมื่อสิ่งที่เขาทำเป็นตัวอย่างที่ดีจะเป็นการสร้างประโยชน์กับตนเองและชุมชนในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและคณะครูในโรงเรียนตาดีกา อัลฮาดี ลูโบ๊ะบาตู รู้จักการแยกขยะได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละของนักเรียน ผู้ปกครองและคณะครูในศูนย์ตาดีกา อัลฮาดี-บ้านลูโบ๊ะบาตู รู้จักการแยกขยะได้อย่างถูกต้อง

70.00 75.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ผู้ปกครองและคณะครูในโรงเรียนตาดีกา อัลฮาดี ลูโบ๊ะบาตูรู้คุณค่าของขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนตาดีกา

ร้อยละของนักเรียน ผู้ปกครองและคณะครูในโรงเรียนตาดีกา อัลฮาดี ลูโบ๊ะบาตูรู้คุณค่าของขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนตาดีกา

70.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครองและคณะครูเรื่องการเรียนรู้ชนิดของขยะและสีของถังขยะแต่ละชนิด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครองและคณะครูเรื่องการเรียนรู้ชนิดของขยะและสีของถังขยะแต่ละชนิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครองและคณะครูเรื่องการเรียนรู้ชนิดของขยะและสีของถังขยะแต่ละชนิด (จำนวนนักเรียน 80 คน แยกเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 40 คน)
1.1 ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย(ขนาด 1.5*2.5 เมตร) เป็นเงิน 720 บาท
1.2 ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 1.3 ค่าอาหาร (จำนวนนักเรียน 80 คน) คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 1.4 ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม (จำนวนนักเรียน 80 คน) คนละ 2 มื้อ มื้อละ25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 1.5 ค่าวัสดุและอุปกรณ์สำหรับผู้เข้ารับการอบรม (จำนวนนักเรียน 80 คน) คนละ 55 บาทเป็นเงิน 4,400 บาท 1.6 เจลล้างมือออแกนิค จำนวน 10 ขวด ขวดละ 195 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2564 ถึง 17 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถนำไปปฎิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18070.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 แยกขยะด้วยมือเรา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 แยกขยะด้วยมือเรา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การดำเนินกิจกรรมตลอดปีการศึกษา (ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง) รายละเอียดดังนี้ 1. ให้นักเรียนเก็บขยะในช่วงเช้าก่อนเข้าแถวและก่อนกลับบ้าน 2. ให้นักเรียนแยกขยะลงถังตามชนิดของขยะ 2.1 ค่าจัดซื้อถังขยะ 2 ถังขนาดถังละ 690 บาท (ขนาด 60 ลิตร ถังขยะทั่วไปและถังขยะรีไซเคิล) เป็นเงิน 1,380 บาท
2.2 ค่าจัดซื้อไม้กวาดดอกหญ้า จำนวน 15 ด้าม ด้ามละ 55 บาท(ขนาด 60 ซม.) เป็นเงิน 825 บาท 2.3 ค่าจัดซื้อไม้กวาดทางมะพร้าว จำนวน 10 ด้ามด้ามละ 65 บาท (ขนาด 160 ซม.) เป็นเงิน 650 บาท 2.4 ค่าจัดซื้อที่โกยขยะ จำนวน 10 ด้าม ด้ามละ 60 บาท (ขนาด 23 × 27 × 68 ซม.)เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้นและสามารถนำไปปฎิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3455.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,525.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียน ผู้ปกครองและคณะครูในโรงเรียนตาดีกา อัลฮาดี-บ้านลูโบ๊ะบาตู รู้จักการคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องได้ด้วยตัวเอง
2.นักเรียน ผู้ปกครองและคณะครูในโรงเรียนตาดีกา อัลฮาดี-บ้านลูโบ๊ะบาตู คุณค่าของขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมภายในศูนย์ตาดีกา


>