กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคมือเท้าปากในพื้นที่เขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้าน ทุ่งหลวง ประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ทำให้มีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และภายในปาก และสร้างความเจ็บปวด โดยผู้ป่วยจะมีไข้ร่วมกับอาการป่วยอื่น ๆ ด้วย เช่น ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ไม่อยากอาหาร พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี แต่สามารถเกิดกับเด็กโตและผู้ใหญ่ได้เช่นกัน โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นและหายป่วยภายในเวลาประมาณ 7-10 วัน อาการของโรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัว 3-6 วัน โดยหลังจากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียสเจ็บคอ ไม่อยากอาหาร ปวดท้อง และอ่อนเพลีย หลังจากมีไข้ 1-2 วัน จะเริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายในตามมา สาเหตุของโรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสสายพันธุ์ค็อกซากี้ เอ16 (Coxsackie A16 Virus) และบางส่วนอาจเกิดจากเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) โดยเชื้อไวรัสสามารถติดต่อกันได้ผ่านการไอหรือจาม การสัมผัสของเหลวหรือของเสียที่ปนเปื้อนเชื้อ นอกจาก 2 สายพันธุ์นี้ ยังมีไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ ที่สามารถเป็นต้นเหตุของโรคมือเท้าปากได้ คือ กลุ่มเอนเทอโรไวรัส เช่น กลุ่มโปลิโอไวรัส (Polioviruses) กลุ่มค็อกซากี้ไวรัส (Coxsackieviruses) กลุ่มเอ็กโค่ไวรัส (Echoviruses) และกลุ่มเอนเทอโรไวรัสชนิดอื่น ๆ (Enteroviruses) การรักษาโรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปากไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดในทันที หากป่วยด้วยโรคนี้ ผู้ป่วยควรพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ดูแลอาการหรือรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการป่วย แล้วรอจนกว่าอาการเหล่านั้นจะหายไป แต่หากอาการป่วยไม่บรรเทาลง มีอาการป่วยที่ยิ่งทรุดหนัก หรือมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นเกิดขึ้นอีก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป ภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปาก อาการส่วนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก คือ ภาวะขาดน้ำ เพราะการป่วยทำให้เกิดแผลอักเสบภายในปากและลำคอ ทำให้กลืนลำบากและสร้างความเจ็บปวดขณะกลืนน้ำหรืออาหาร ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบตามมา มักเป็นอาการป่วยทั่วไปที่ไม่รุนแรง ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสพบได้น้อยมาก คือ อาการเล็บมือเล็บเท้าหลุด หรือภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส และภาวะสมองอักเสบ การระบาดของโรคมือ-เท้า-ปาก ในประเทศไทยในขณะนี้แม้ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดอาการไม่รุนแรง แต่อย่างไรก็ดีต้องระวังอาการข้อมูลเฝ้าระวังโรคจากสำนักระบาดวิทยา ปี 2563 ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 พบผู้ป่วย 17,575 รายจาก 77 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 26.86 ต่อแสนประชากร อายุที่พบมากที่สุดเรียงลำดับคือ 1 ปี (26.90%)2 ปี (23.40%)3 ปี (17.35%) ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวงได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปากในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อป้องกันควบคุมโรคไม่ให้โรคแพร่กระจาย และลดการป่วยของเด็กจึงได้จัดทำโครงการโรคมือเท้าปากในเด็กก่อนวัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งหลวง ขึ้น พร้อมทั้งให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือเท้าปากที่ถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 2.เพื่อเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ไม่ให้มีการแพร่ระบาดจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในโรงเรียนไปสู่ชุมชน

ข้อที่ 2.อัตราป่วยด้วยโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง และไม่เกิดการระบาดของโรคสู่ชุมชนร้อยละ 90

0.00

ข้อที่ 1.เพื่อควบคุม ป้องกัน โรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ข้อที่1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่มีการเฝ้า โรคมือ เท้า ปาก อย่างต่อเนื่องร้อยละ 90

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 ดำเนินการจัดหาวัสดุ เคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 ดำเนินการจัดหาวัสดุ เคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวัสดุอุปกรณ์ควบคุมและป้องกันโรค ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ---น้ำยาถูพื้นขนาด 1800 มล.จำนวน 10 ขวดๆละ 136บาท เป็นเงิน 1,360 บาท --ไฮเตอร์น้ำยาซักผ้าขาว 2500 มล. จำนวน 3 ขวดๆละ 69 บาท เป็นเงิน 207 บาท   --บรีสเอกเซลผงซักฟอก สูตรเข้มข้น 250 กรัม จำนวน 3 ถุงๆละ 30 บาท เป็นเงิน 90 บาท   --เดทตอลน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอเนกประสงค์ 100 มล. จำนวน 3 ขวดๆละ 225 บาท เป็นเงิน 675 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2332.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 60 คน ในเด็กก่อนวัยเรียน - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งหลวง - โรงเรียนบ้านช่องลม 1.จัดกิจกรรมส่งเสริมป้องกันโรค 1.1.ให้สุขศึกษาความรู้โรคมือ เท้า ปาก 1.2จัดกิจกรรมสาธิตการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 60 คน ในเด็กก่อนวัยเรียน - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งหลวง - โรงเรียนบ้านช่องลม 1.จัดกิจกรรมส่งเสริมป้องกันโรค 1.1.ให้สุขศึกษาความรู้โรคมือ เท้า ปาก 1.2จัดกิจกรรมสาธิตการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.ค่าไวนิลให้ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปากขนาด 13 เมตร จำนวน 3 ผืนๆละ 390 บาท เป็นเงิน 1,170 บาท 3.ไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 13 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 390 บาท เป็นเงิน 390 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3060.00

กิจกรรมที่ 3

ชื่อกิจกรรม
ระบุชื่อกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,392.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่มีการเฝ้า โรคมือ เท้า ปาก อย่างต่อเนื่อง
2.อัตราป่วยด้วยโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง และไม่เกิดการระบาดของโรคสู่ชุมชน
3.ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ สามารถควบคุมและป้องกันโรคมือเท้าปากได้


>