กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพและสุขอนามัยเด็กปฐมวัยห่างไกลโรค (03-07)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคีรีลาด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคีรีลาด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความปลอดภัย สะอาด และถูกสุขอนามัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ เด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ครูผู้ดูแลเด็กได้รับการฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น
จากเหตุผลดังกล่าว เพื่อเป็นการตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขอนามัยในเด็กเพื่อห่างไกลจากโรคติดต่ออย่างง่าย ตลอดจนการดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กปฐมวัยเพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กมีความรู้และความเข้าใจในเรื่อง ดังกล่าวดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคีรีลาด จึงเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและการดูแลสุขอนามัยในเด็กเพื่อห่างไกลจากโรคติดต่อรวมถึงการป้องกันที่ดีทางศูนย์จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและสุขอนามัยเด็กปฐมวัยห่างไกลโรคขึ้น พร้อมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในเด็ก เพื่อเด็กและผู้ปกครองสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัย ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของเด็ก

ร้อยละ 80% ของเด็กปฐมวัย ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ในการดูและสุขภาพของเด็กมากขึ้น

100.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้ทราบถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพและอนามัยของตนเอง

ร้อยละ 80% ของเด็กปฐมวัยให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพและอนามัยของตนเองมากขึ้น

100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 21
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยในเด็กปฐมวัยให้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยในเด็กปฐมวัยให้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ จำนวน 1 แผ่น (ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.) =    1,000 บาท

2.  ค่าตอบแทนวิทยากร  (1 คน x 5 ชม. x 300 บาท)

1,500 บาท

3.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (21 คน × 3 มื้อ x 25 บาท)

  1,575 บาท

  1. อาหารกลางวัน (21คน x 50 บาท x 1 มื้อ)  =  1,050 บาท
  2. ค่าวัสดุ   ค่าวัสดุประกอบการอบรม (21 ชุด x 50 บาท)   ค่ากระเป๋าเอกสารพร้อมสกรีน (21 ชุด x 45 บาท)   ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์

-  หน้ากากอนามัยผู้ใหญ่ 1 กล่อง x 150 บาท
-  หน้ากากอนามัยเด็ก 1 กล่อง x 170 บาท -  เจลล้างมือ ขนาด 250 มล. 2 ขวด x 300 บาท

-  น้ำยาฆ่าเชื้อเดทตอล ขนาด200มล. (4 ขวด x 200 บาท)

= = 
  1,050 บาท   945 บาท   1,720 บาท

รวม    8,840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2564 ถึง 3 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

21 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8840.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมการดูแลช่องปากให้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมการดูแลช่องปากให้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ จำนวน 1 แผ่น (ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม.)    =    1,000 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร  (1 คน x 3 ชม. x 300 บาท) =  900 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (42 คน × 1 มื้อ x 25 บาท)    =    1,050 บาท
  4. ค่าวัสดุ   ค่าวัสดุประกอบการอบรม

-  แปรงสีฟัน (21คน x 35บาท) =735 บาท -  ยาสีฟัน (21คน x 25 บาท) =525 บาท -  ผ้าขนหนู (21คน x 60 บาท) =1,260 บาท -  แก้วน้ำสแตนเลส (21คน x85บาท)=1,785บาท -  โมเดลฟันพร้อมแปรงสีฟัน (1 ชุด x3,500 บาท) =3,500 บาท

  7,805 บาท

  ค่ากระเป๋าเอกสารพร้อมสกรีน (21 ชุด x 45 บาท)    =    945 บาท
  ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
-  หน้ากากอนามัยผู้ใหญ่ (1 กล่อง x 150 บาท)
-  หน้ากากอนามัยเด็ก (1 กล่อง x 170 บาท) -  เจลล้างมือ (ขนาด 250 มล. 2 ขวด x300 บาท)    =    920 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2564 ถึง 17 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

21 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12620.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ เยี่ยมบ้านนักเรียน จำนวน 7 ครั้ง (เดือนละ 1 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ เยี่ยมบ้านนักเรียน จำนวน 7 ครั้ง (เดือนละ 1 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าพาหนะเดินทางเยี่ยมบ้านนักเรียน จำนวน 21 คน    (เดือนละ 5 วัน x 2 คน x 50 บาท) จำนวน 7 ครั้ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

2 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็กปฐมวัย ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ
2. ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีทักษะในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก และโรคติดต่ออื่นๆ
3. เด็กปฐมวัยเจ็บป่วยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดน้อยลง
4. เด็กปฐมวัยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น และปลอดภัยจากโรค
5. เด็กปฐมวัยมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น


>