กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพวัยเจริญพันธุ์ เตรียมพร้อมอย่างไรให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

นางฮาดีบ๊ะ แวอาลี

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

87.37
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

81.91
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

90.32

เมื่อหญิงมีการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา มีการเปลี่ยนทางอารมณ์และร่างกายมีความต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์กับทารกที่อยู่ในครรภ์ปัจจุบันจะพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ถือว่าเป็นปัญหาที่รุนแรง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เอง และทารกในครรภ์ด้วย ภาวะเสี่ยงของหญิงที่ตั้งครรภ์ ได้แก่ ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีด มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมักมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม มีอัตราการตายขณะคลอดและหลังคลอดสูง มารดาตกเลือดหลังคลอด มีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง และมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดสูง เช่นกัน สาเหตุสำคัญของภาวะเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ การขาดสารอาหาร จำพวกธาตุเหล็ก และ กรดโฟลิค
จากสถิติ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ พบว่า ในปีงบประมาณ 2560 2561 และ 2562 มีภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์รายใหม่ และ หญิงตั้งครรภ์ในระยะใกล้คลอด ร้อยละ 12.4, 3.95 และ4.71 ตามลำดับ และพบว่า และพบมารดาหลังคลอดมีภาวะตกเลือดหลังคลอดในปีงบประมาณ 25602561 และ 2562ร้อยละ 10.34, 6.19 และ4.80 ตามลำดับ และในปี 2563 ยังมีหญิงตั้งครรภ์บางส่วนที่ยังไม่มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และยังไม่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ ปัญหาเหล่านี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก สติปัญญาในการเรียนรู้ และยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของครอบครัว จากปัญหาดังกล่าวนี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการการส่งเสริมสุขภาพวันเจริญพันธุ์ เตรียมพร้อมอย่างไรให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 25ุ64

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

87.37 90.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

81.91 90.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

90.32 95.00
4 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอด

ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอด ไม่เกินร้อยละ 10

0.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 75
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้สุขภาพวัยเจริญพันธุ์ การเปลี่ยนเปลี่ยนด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ขณะตั้งครรภ์ ภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้สุขภาพวัยเจริญพันธุ์ การเปลี่ยนเปลี่ยนด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ขณะตั้งครรภ์ ภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้สุขภาพวัยเจริญพันธุ์ การเปลี่ยนเปลี่ยนด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ขณะตั้งครรภ์ ภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 75 คน * 25 บาท2 มื้อ = 3,750 บาท 2.ค่าอาหาร จำนวน 75 คน *60 บาท * 1 มื้อ = 4,500 บาท 3.ค่าวิทยากร 6 ชม. * 600 บาท 1 วัน = 3,600 บาท 4.ค่าไวนิลโครงการขนาด 1.5 * 2 เมตร * 250 บาท * 1 ผืน =750 บาท รวมทั้งสิ้น 12,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมร้อยละ 100 2.ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ 1.ลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอด
2.ลดภาวะการตกเลือดของมารดาหลังคลอด
3.หญิงตั้งคครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ 4.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์ 5.หญิงหลังคลอดได้รับการดูแล 3 ครั้งตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอด
2.ลดภาวะการตกเลือดของมารดาหลังคลอด
3.หญิงตั้งคครรภ์มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์
4.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์
5.หญิงหลังคลอดได้รับการดูแล 3 ครั้งตามเกณฑ์


>