กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการให้ความรู้การบริหารจัดการขยะอย่างบูรณาการโดยใช้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงโดยการปลูกพืชผักสวนครัวในล้อรถยนต์

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้การบริหารจัดการขยะอย่างบูรณาการโดยใช้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงโดยการปลูกพืชผักสวนครัวในล้อรถยนต์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองหลา

โรงเรียนบ้านต้นส้าน

โรงเรียนบ้านต้นส้าน หมู่ที่6ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กไทยในปัจจุบันส่งผลตอสุขภาพของเด็กเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากสภาวะปัจจุบันอาหารที่เด็กรับประทานในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทขนมขบเคี้ยวน้ำอัดลมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ล้วนมีสารปนเปื้อนหรือสารปรุงแต่งรสอาหารและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการเด็กคืออาหารประเภทผักต่างๆที่หาซื้อจากท้องตลาดล้วนปนเปื้อนด้วยสารเคมีประเภทยาฆ่าแมลงบ้างสารเร่งการเจริญเติบโตบ้างซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทั้งสิ้น
โรงเรียนเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่พัฒนาเด็กอย่างรอบด้านเพื่อให้เด็กได้เจริญเติบโตแข็งแรงสมบูรณ์ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและปลอดภัยแต่โรงเรียนดูแลนักเรียนได้เฉพาะที่โรงเรียนเท่านั้นและเพื่อให้การดูแลสุขภาพนักเรียนประสบผลสำเร็จกับตัวนักเรียนเอง ผู้ปกครองเองมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งเพราะทุกฝ่ายต้องประสานความร่วมมือกันจึงจะประสบผลสำเร็จได้
โรงเรียนบ้านต้นส้านตำบลคลองหลาอำเภอคลองหอยโข่งจังหวัดสงขลาตระหนักและเห็นคุณค่าของสุขภาพนักเรียนจึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการทำแปลงผักโดยใช้ยางล้อรถยนต์การปลูกพืชผักสวนครัวและการเลือกรับประทานผักที่ปลอดสารเคมีโดยใช้หลักการเกษตรอินทรีย์ที่บูรณาการกับการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนซึ่งโรงเรียนได้มีโครงการโรงเรียนปลอดขยะโดยการคัดแยกขยะและจะใช้ขยะแห้งที่ย่อยสลายได้ทำปุ๋ยหมักและใช้ปุ๋ยหมักที่ได้นำมาปลูกผักในล้อยางรถยนต์และในแปลงผักส่วนขยะแห้งที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ก็นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการประดิษฐ์เป็นสิ่งของต่างๆตามสภาพของขยะแต่ละชนิดนอกจากนั้นยังใช้ขยะเปียกที่ได้จากโรงอาหารมาทำน้ำหมักชีวภาพแล้วนำน้ำหมักชีวภาพที่ได้มารดผักที่ปลูกแทนการใช้ปุ๋ยเคมีขึ้นเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อนักเรียนและยังอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากขยะและผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากพืชผักในท้องถิ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนสามารถคัดแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

 

0.00
2 2.เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองสามารถทำแปลงปลูกพืชสวนครัวโดยใช้ยางรถยนต์ได้

 

0.00
3 3.เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองรู้วิธีการปลูกพืชผักสวนครัวที่ปลอดสารเคมีและตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีในพืชผักที่รับประทานโดยใช้การปลูกผักอินทรีย์ในชีวิตประจำวัน

 

0.00
4 4.เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักเลือกผักที่ปลอดสารเคมีไว้รับประทาน

 

0.00
5 5.เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำน้ำหมักชีวภาพจากขยะเปียกในครัวเรือนและนำไปใช้ในการปลูกพืชผักได้

 

0.00
6 6.เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองรู้จักทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ในครัวเรือนและนำไปใช้ในการปลูกพืชผักได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 63
กลุ่มวัยทำงาน 63
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่1 กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัวที่ปลอดสารเคมี กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการทำปุยหมักกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการทำน้ำหม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่1 กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัวที่ปลอดสารเคมี กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการทำปุยหมักกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการทำน้ำหม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1   กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัวที่ปลอดสารเคมี
กิจกรรมที่ 2   กิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน
ชั้นประถมศึกษาปีที่  1,2  (จำนวนนักเรียน  34  คน  ผู้ปกครอง  34  คน )  รวม 68  คน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  1  มื้อ  มื้อละ50บาท/คน  ( 68 x 50 ) เป็นเงิน 3,400 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท/คน  68 x(25x2)
เป็นเงิน 3,400 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน  6  ชั่วโมง  ชั่วโมงละ 600 บาท ( 6 x 600)  เป็นเงิน  3,600 บาท     รวมค่าใช้จ่าย   10,400  บาท ชั้นประถมศึกษาปีที่  3,4  (จำนวนนักเรียน  29  คน  ผู้ปกครอง  29  คน )  รวม  58  คน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  1  มื้อ  มื้อละ50บาท/คน  ( 58 x 50 ) เป็นเงิน 2,900 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท/คน  58 x(25x2)
เป็นเงิน 2,900 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน  6  ชั่วโมง  ชั่วโมงละ 600 บาท ( 6 x 600)  เป็นเงิน  3,600 บาท รวมค่าใช้จ่าย   9,400  บาทรวมค่าใช้จ่ายการอบรมกิจกรรมที่ 1,2 เป็นเงิน  19,800  บาท ค่าวัสดุฝึก                - เมล็ดพันธ์ผักชนิดต่างๆ         -  ผักกวางตุ้ง    ราคาห่อละ  20  บาท  จำนวน  20  ห่อ (20 x 20)  เป็นเงิน 400 บาท
        -  ผักคะน้า    ราคาห่อละ  20  บาท  จำนวน  20  ห่อ (20 x 20)  เป็นเงิน 400 บาท         -  ผักกาด     ราคาห่อละ  20  บาท  จำนวน  20  ห่อ  (20 x 20)  เป็นเงิน 400 บาท         -  มะเขือ      ราคาห่อละ  20  บาท  จำนวน  20  ห่อ (20 x 20)  เป็นเงิน 400 บาท    -  พริก     ราคาห่อละ  20  บาท  จำนวน  20  ห่อ (20 x 20)  เป็นเงิน 400 บาท        -  ผักบุ้ง  ราคาถุงละ  50  บาท  จำนวน  6  ถุง (6  x  50 )เป็นเงิน  300  บาท         - ขี้วัว  ราคาถุงละ  50  บาท จำนวน 30  ถุง ( 30 x 50 ) เป็นเงิน  1,500  บาท
        - บัวรดน้ำ  ราคาใบละ  85  บาท  จำนวน  6  ใบ ( 6 x 85) เป็นเงิน 510 บาท         - สายยางรดน้ำต้นไม้  ราคากิโลกรัมละ  70  บาท  จำนวน  20  กิโลกรัม (20x70)           เป็นเงิน  1,400 บาท     รวมค่าวัสดุกิจกรรมที่1,2   เป็นเงิน  5,710  บาท, รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่  1,2    ทั้งสิ้น    (19,800  +  5,710 )  =  25,510 บาท กิจกรรมที่ 3     กิจกรรมการคัดแยกขยะและการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ กิจกรรมที่ 4     กิจกรรมการทำปุยหมักจากเศษขยะย่อยสลาย
กิจกรรมที่ 5     กิจกรรมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผลไม้รสเปรี้ยว ชั้นประถมศึกษาปีที่  1,2  (จำนวนนักเรียน  34  คน  ผู้ปกครอง  34  คน )  รวม 68  คน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  1  มื้อ  มื้อละ50บาท/คน  ( 68 x 50 ) เป็นเงิน 3,400 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท/คน  68 x(25x2)
เป็นเงิน 3,400 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน  6  ชั่วโมง  ชั่วโมงละ 600 บาท ( 6 x 600)  เป็นเงิน  3,600 บาท     รวมค่าใช้จ่าย   10,400  บาท ชั้นประถมศึกษาปีที่  3,4  (จำนวนนักเรียน  29  คน  ผู้ปกครอง  29  คน )  รวม  58  คน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  1  มื้อ  มื้อละ50บาท/คน  ( 58 x 50 ) เป็นเงิน 2,900 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท/คน  58 x(25x2)
เป็นเงิน 2,900 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน  6  ชั่วโมง  ชั่วโมงละ 600 บาท ( 6 x 600)  เป็นเงิน  3,600 บาท รวมค่าใช้จ่าย   9,400  บาท     รวมค่าใช้จ่ายการอบรมกิจกรรมที่  3,4,5  เป็นเงิน  19,800  บาท ค่าวัสดุฝึก -ขี้วัว ราคากระสอบละ50บาท  จำนวน  40  กระสอบ  (40x50)  เป็นเงิน   2,000 บาท     - ปุ๋ยยูเรีย  ราคากระสอบละ350  บาท  จำนวน  1 กระสอบเป็นเงิน   350 บาท         - หัวเชื้อ  EM  ราคาชวดละ  30  บาท  จำนวน  3  ขวด  (3x30)  เป็นเงิน  90  บาท         - กากน้ำตาลจำนวน 50  กิโลกรัม  กิโลกรัมละ 30  บาท  (50 x30)เป็นเงิน  1,500บาท         - ถังสำหรับทำน้ำหมักจำนวน 10  ถัง  ถังละ 250 บาท  (10x250) เป็นเงิน  2,500บาท รวมค่าวัสดุกิจกรรมที่3,4,5      เป็นเงิน   6,440  บาท, รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่  3,4,5    ทั้งสิ้น  (19,800 +6,440)  =   26,240  บาท กิจกรรมที่ 6     กิจกรรมการทำน้ำยาล้างจานจากน้ำหมักชีวภาพจากเศษผลไม้รสเปรี้ยว กิจกรรมที่  7    กิจกรรมการทำสบู่สมุนไพรจากพืชผักและผลไม้ในท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่  1,2  (จำนวนนักเรียน  34  คน  ผู้ปกครอง  34  คน )  รวม 68  คน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  1  มื้อ  มื้อละ50บาท/คน  ( 68 x 50 ) เป็นเงิน 3,400 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท/คน  68 x(25x2)
เป็นเงิน 3,400 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน  6  ชั่วโมง  ชั่วโมงละ 600 บาท ( 6 x 600)  เป็นเงิน  3,600 บาท     รวมค่าใช้จ่าย   10,400  บาท ชั้นประถมศึกษาปีที่  3,4  (จำนวนนักเรียน  29  คน  ผู้ปกครอง  29  คน )  รวม  58  คน -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน  1  มื้อ  มื้อละ50บาท/คน  ( 58 x 50 ) เป็นเงิน 2,900 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท/คน  58 x(25x2)
เป็นเงิน 2,900 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน  6  ชั่วโมง  ชั่วโมงละ 600 บาท ( 6 x 600)  เป็นเงิน  3,600 บาท รวมค่าใช้จ่าย   9,400  บาท     รวมค่าใช้จ่ายการอบรมกิจกรรมที่  5,6   เป็นเงิน  19,800  บาท     ค่าวัสดุ       - อุปกรณ์ทำน้ำยาล้างจาน  4  ชุด  ชุดละ 120บาท ( 4x120) เป็นเงิน  480   บาท           - กลีเซอร์ลีน ราคากิโลกรัมละ 150 บาท จำนวน  4  กิโลกรัม (4X150)  เป็นเงิน 600บาท           - ขมิ้นชัน  ราคาถุงละ  30  บาท จำนวน  1  ถุง   (1x 30)  เป็นเงิน   30  บาท           - น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นราคาขวดละ 250 บาทจำนวน 1 ขวด เป็นเงิน 250 บาท           - น้ำผึ้งรวงราคาขวดละ 500 บาท จำนวน 1 ขวดเป็นเงิน    500 บาท           - พิมสบู่   ราคาชิ้นละ  200 บาท จำนวน  5  ชิ้น เป็นเงิน  1,000 บาท          - ถังลูกในสำหรับกวนสบู่  ราคาใบละ  250  บาท จำนวน  2 ใบ  เป็นเงิน  500 บาท          รวมค่าวัสดุกิจกรรมที่  6,7      เป็นเงิน   3,360 บาท, รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่  6,7      ทั้งสิ้น  (19,800 +3,360)  =   23,160  บาท ค่าใช้จ่ายการอบรมและค่าวัสดุกิจกรรมที่  1- 7  รวม ( 25,510 + 26,240  + 23,160 ) เป็นเงินทั้งหมด   74,910  บาท    - ค่าทำป้ายการอบรม 1 ป้าย  เป็นเงิน  600 บาท รวมงบประมาณในการทำโครงการทั้งหมด    75,510  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
75510.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 75,510.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนและผู้ปกครองสามารถคัดแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2. นักเรียนและผู้ปกครองสามารถปลูกผักปลอดสารเคมีในล้อยางรถยนต์ได้
3.นักเรียนและผู้ปกครองตระหนักถึงพิษภัยของผักที่มีสารเคมีและสามารถปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานเองได้
4.นักเรียนและผู้ปกครองสามารถบริหารจัดการขยะในครัวเรือนให้เกิดประโยชน์โดยบูรณาการกับการทำเกษตรอินทรีย์ได้


>