กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาภาวะโภชนาการ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

โรงเรียนวัดพรุเตาะ

โรงเรียนวัดพรุเตาะ ม.5 ต.ทุ่งใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กรมอนามัยได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาภาวะโภชนาการ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้านสุขภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านการศึกษาโดยการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนให้เป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์กลางของการพัฒนาสุขภาพ รวมทั้งพัฒนาชุมชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 และเพื่อให้โรงเรียนมีแนวทางการดำเนินงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน กรมอนามัยได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมทั้ง 10 องค์ประกอบโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพขึ้นใน พ.ศ. 2556 โดยแบ่งระดับการรับรองโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็น 3 ระดับ คือ ระดับทอง เงิน และทองแดง
การพัฒนานักเรียนตามแนวทางของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชนเพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพชุมซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมดำเนินการกับฝ่ายการศึกษามาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2541 ก่อให้เกิดผลเป็นที่น่าพอใจ โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการและสามารถพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพจนผ่านการประเมินรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปีติดต่อกันเป็นลำดับ สำหรับเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ใช้ในช่วงที่ผ่านมา ประกอบด้วย ตัวชี้วัดภายใต้องค์ประกอบ 10 ประการ โดยเน้นกระบวนการของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเป็นทิศทางแก่โรงเรียน แต่ยังมิได้ให้ความสำคัญกับการวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพมากนัก ดังนั้นเมื่อการพัฒนางานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดำเนินมาจนถึงโรงเรียนบรรลุเกณฑ์ในปี 2562 กรมอนามัยจึงเห็นสมควรที่จะยกระดับเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง โดยจัดทำเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ให้มีตัวชี้วัดที่เน้นการวัดผลทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน และผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการขึ้นเพื่อพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้โรงเรียนวัดพรุเตาะไปสู่เป้าหมายโณงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร และพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนด้านสุขภาพอันจะนำไปสู่กันพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
โรงเรียนวัดพรุเตาะจึงจัดทำโครงการพัฒนาภาวะโภชนาการ สุขภาพและสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วน คือ การดำเนินงานด้านความปลอดภัยภายในสถานศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพของการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร และกิจกรรมนักเรียนแกนนำเด็กไทยทำได้และ อย.น้อย เพื่อขับเคลื่อนการทำงานผ่านแกนนำนักเรียนผ่านการร่วมมือจากองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อสม. และเครือข่ายการดำเนินงานของนักเรียน อย.น้อย
ทั้งนี้โครงการพัฒนาภาวะโภชนาการ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) เพื่อการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนในการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารทั้งในโรงเรียนและชุมชน โดยเน้นรูปแบบการดำเนินกิจกรรมในลักษณะภาคีเครือข่ายในระดับการศึกษา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภครวมทั้งตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

ร้อยละของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภครวมทั้งตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียนเพิ่มขึ้น

40.00 90.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี

จำนวนสถิติการขาดเรียนของนักเรียนลดลง

25.00 10.00
3 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ประสบการณ์ และการมีส่วนร่วมของสมาชิกชมรม อย.น้อย ในเรื่องการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียน

สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนฝ่านกิจกรรมหน้าเสาธงหรือการใช้เสียงตามสาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

7.00 28.00
4 เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ของสมาชิกชมรม อย.น้อย ในการตรวจสอบสารเจือปนในอาหาร

สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถสุ่มตรวจวิเคราะห์สารเจือปนในอาหารอย่างง่ายในห้องครัวและโรงอาหารโรงเรียนได้ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

2.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 64
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปรับปรุงห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์ด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับปรุงห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์ด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปรับปรุงห้องปฏิบัติการ ห้องสุขา ห้องครัวและอุปกรณ์ด้านสุขภาพให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา โดยใช้งบประมาณ ดังนี้
1. ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ (ตารางเมตรละ 500 บาท) ราคาป้ายละ 200 บาท จำนวน 30 ป้าย = 6,000 บาท
2. แก้วน้ำสแตนเลสสำหรับนักเรียน จำนวน 6 โหลๆ ละ 290 บาท = 1,740 บาท
3. อ่างล้างจานหลุมเดียว จำนวน 4 ชุดๆ ละ 900 บาท = 3,600 บาท
4. กระติกน้ำ ขนาด 25 ลิตร จำนวน 1 ใบๆ ละ 399 บาท = 399 บาท
5. ถังน้ำ จำนวน 1 โหลๆ ละ 300 บาท = 300 บาท
6. ถังมีฝาปิด จำนวน 4 ใบๆ ละ 170 บาท = 680 บาท
7. ไม้กวาดก้านมะพร้าว จำนวน 2 โหลๆ ละ 360 บาท = 720 บาท

รวมเป็นเงิน 13,439 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13439.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม อย.น้อย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อย.น้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท = 2,500 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท = 2,500 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรจากสาธารณสุขให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ความปลอดภัยทางด้านอาหารของคนไทยในปัจจุบัน
จำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท = 600 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ ให้ความรู้เรื่องการอ่านฉลากยา เครื่องดื่ม อาหารและสาธิตการทดสอบอาหารด้วยสารทดสอบตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร
จำนวน 3 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท = 1,800 บาท
5. ชุดทดสอบสารบอแรกซ์ (ผงกรอบ) จำนวน 3 ชุดๆ ละ 200 บาท = 600 บาท
6. ชุดทดสอบซาลิซิลิค (สารกันรา) จำนวน 3 ชุดๆ ละ 700 บาท = 2,100 บาท
7. ชุดทดสอบฟอร์มาลีน (น้ำยาดองศพ) จำนวน 1 ชุดๆ ละ 1,100 บาท = 1,100 บาท
8. ชุดทดสอบโซเดียมไฮโตรซัลเฟต (สารฟอกขาว) จำนวน 4 ชุดๆ ละ 200 บาท = 800 บาท
9. ชุดทดสอบโคลอฟอร์มในน้ำและน้ำแข็ง จำนวน 1 ชุดๆ ละ 1,200 บาท = 1,200 บาท
10. ชุดทดสอบหายาฆ่าแมลงในผักและผลไม้ จำนวน 1 ชุดๆ ละ 800 บาท = 800 บาท
11. ชุดทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 1 ชุดๆ ละ 850 บาท = 850 บาท
12. ชุดทดสอบไอโอดีนในเกลือ จำนวน 4 ชุดๆ ละ 200 บาท = 800 บาท
13. ป้ายไวนิล (ขนาด 1.5 เมตร*3 เมตร) ป้ายละ 675 บาท จำนวน 2 ป้าย = 1,350 บาท
14. แผ่นพับ/ใบความรู้ประชาสัมพันธ์ เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 4 เดือน จำนวน 80 ใบๆ ละ 15 บาท = 4,800 บาท

รวมเป็นเงิน 21,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21800.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1. ค่าถ่ายเอกสาร 100 ชุดๆ ละ 8 บาท = 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,039.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนและแกนนำ อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคตีที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยในอาหารมากขึ้น
2. นักเรียนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความปลอดภัยในอาหารทั้งในโรงเรียนและชุมชน
3. สมาชิกชมรม อย.น้อย สามารถตรวจวิเคราะห์อาหารที่มีสารปนเปื้อนด้วยวิธีการอย่างง่ายได้


>