กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาสาสมัครสาธารณสุขห่วงใย ใส่ใจ ภาวะโภขนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตำบลย่านซื่อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ

ชมรม อสม.ตำบลย่านซื่อ

1. นายอุเส็นหลงกาสา ประธานกลุ่ม อสม.ตำบลย่านซื่อ
2. นายอับดลฆอนี รูบามาสมาชิก
3. นางเสาวนี หลงสมันสมาชิก
4. นายดลเลาะ หมันเส็นสมาชิก
5. นายอรุณ สาและ สมาชิก

พื้นที่รับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

 

5.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

 

6.00

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ปีซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมเด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กแรกเกิด – ๖ปีมีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐หรือประมาณ ๔ ล้านคน
จังหวัดสตูล ได้เริ่มใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ( DSPM ) และคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง ( DAIM ) ในการคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย จากการคัดกรองพบเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยร้อยละ ๕๔.๗๔ (เป้าหมาย ร้อยละ๘๕) มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ ๔๕.๒๖ และเมื่อได้กระตุ้นพัฒนาการ ๑ เดือน โดยการให้คำแนะนำ / สอนพ่อ-แม่ / ผู้ปกครอง เพื่อกระตุ้นพัฒนาการที่บ้านอย่างต่อเนื่อง พบว่า เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ๙๔.๕๕ จะเห็นได้ว่าเด็กที่พัฒนาการสงสัยล่าช้าสามารถกลับมามีพัฒนาการสมวัยได้ หากได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม และต่อเนื่องซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านซื่อยังเป็นปัญหาของเด็กกลุ่มแรกเกิด – 6 ปี ที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่่อลด เด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม  ลดลง

5.00 4.00
2 เพื่อลดเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย ลดลง

6.00 5.00
3 เพื่อกระตุ้นให้เด็กพัฒนาการสงสัยล่าช้า/พัฒนาการล่าช้าให้ฟื้นสู่สภาพปกติให้เด็กแรกเกิด – ๖ปีมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมได้อย่างเหมาะสม

เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตาม ร้อยละ ๑๐๐

5.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 320
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้บริการคัดกรองพัฒนาการและเด็กในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการคัดกรองพัฒนาการและเด็กในชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างในการสาธิตแก่ พ่อ-แม่ ผู้ดูแลเด็ก จำนวน  5 หมู่บ้าน จำนวน 320 คน คนละ 25 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 1ุ6000 บาท           ค่าวัสดุดำเนินการ              -เครื่องชั่งน้ำหนักเด็ก จำนวน   5  อัน  อันละ 800  บาท เป็นเงิน  4,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
             ๑.พ่อแม่/ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กเข้าใจและให้ความร่วมมือในการฝึกทักษะปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน              ๒.เด็กได้รับการตรวจพัฒนาการตามวัยตามที่กรมอนามัยกำหนด และได้รับการกระตุ้น มีพัฒนาการสมวัย
ผลลัพธ์
             ๑.เด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย ได้รับการส่งต่อหน่วยบริการทุติยภูมิ ที่มีแพทย์ หรือกุมารแพทย์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก และครอบครัว
             ๒.เด็กที่มีปัญหาทางโภชนาการจะได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.พ่อแม่/ผู้ปกครองที่ดูแลเด็กเข้าใจและให้ความร่วมมือในการฝึกทักษะปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน
๒.เด็กได้รับการตรวจพัฒนาการตามวัยตามที่กรมอนามัยกำหนด และได้รับการกระตุ้น มีพัฒนาการสมวัย


>