กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 64

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะหา

กองสาธารณสุขฯ

1.นายกฤตภาส ปฐมนุพงษ์
2.นางมาซือน๊ะ ดอเลาะฮีแต

เทศบาลตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมาตรา 50 ( 4 ) ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ เนื่องจากในปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงและมีการระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกทุกเพศ และทุกวัย แนวโน้มคาดว่าจะมีผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดทั้งปี หากไม่มีการเร่งรัดการป้องกันและควบคุม ซึ่งในการลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะต้องลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง อันจะเป็นการตัดวงจรการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

เทศบาลตำบลยะหา ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้มีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคภัยต่างๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 2 เพื่อลดอัตราการป่วย และเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก 3 เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตระหนักถึงความสำคัญของโรคไข้เลือดออก 4 เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลมีความรู้ ความเข้าใจ ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 5 เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลมีสุขภาพที่ดี 6 เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลมีความรู้ในเรื่องสาเหตุ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วยด้วยโรค ไข้เลือดออก ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ...

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 64

ชื่อกิจกรรม
โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 64
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1x3 จำนวน 1 ป้ายๆละ 750.-บาท 2.ค่าจัดทำแผ่นพับโรคไข้เลือดออก จำนวน 120 แผ่นๆละ 2 บาท เป็นเงิน 240.-บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื้่ม จำนวน 120 คนๆละ 25บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท 4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม จำนวน 120 ชุดๆละ 75 บาท เป็นเงิน 9,000.-บาท (กระเป๋าเอกสาร สมุด ปากกา) 5. ค่าทรายอะเบต จำนวน 1 ถังๆละ 3,500.-บาท 6.ค่าสมนาคุณวิทยากรฝึกอบรม จำนวน 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200.-บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 17,690.-บาท  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17690.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,690.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สามารถลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
2.โรงเรียน บ้าน ชุมชน ในเขตเทศบาล ปลอดลูกน้ำและยุงลาย
3.ประชาชนในเขตเทศบาลมีความรู้่ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของโรคไข้เลือดออกมากขึ้น


>