กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.ด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบันประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริมและสนับสนุน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน
แกนนำสุขภาพโรคไม่ติดต่อเป็นบุคคลที่สำคัญและมีบทบาทหน้าที่ ในการดำเนินงานและให้การช่วยเหลือ เป็นผู้ประสานงานและเป็นตัวเชื่อมระหว่างภาครัฐกับประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานกิจกรรมด้านสาธารณสุขดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด แต่ในหลายปีที่ผ่านมา นโยบายและการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาวการณ์ทำให้แกนนำสุขภาพต้องมีบทบาทหน้าที่และภารกิจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทำให้ในปัจจุบันแกนนำสุขภาพ ขาดแรงจูงใจ ความมั่นใจ ทักษะ วิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขตามนโยบายและกิจกรรมที่แปรเปลี่ยนไป การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะแกนนำสุขภาพจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาเครือข่ายและศักยภาพ อสม. ด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่ออันจะช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆ ในระดับพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ อสม.ทราบบทบาทและภารกิจของ อสม.ในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามบริบทและสภาพปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลง

๑.ร้อยละ 90 แกนนำสุขภาพทราบบทบาทและภารกิจ   ของแกนนำสุขภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชน

0.00
2 ๒. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของ อสม. ในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม

๒. อสม.มีความรู้ หลังการอบรมมากกว่าร้อยละ 80

0.00
3 ๓. เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็น ปัญหาสำคัญของชุมชน

๓. แกนนำสุขภาพมีคณะทำงานในการดูแลสุขภาพ
    ๕ กลุ่มวัย ร้อยละ  80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ ภาคทฤษฎี 1.อบรมเนื้อหาวิชาการ เรื่อง บทบาทหน้าที่ อสม. เรื่อง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 2.ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพ แกนนำสุขภาพ ภาคทฤษฎี 1.อบรมเนื้อหาวิชาการ เรื่อง บทบาทหน้าที่ อสม. เรื่อง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 2.ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ
  จำนวน 60 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท  เป็นเงิน  3,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 60 คนๆละ
  1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน  3,600 บาท 3.ค่าวิทยากรในการอบรม จำนวน 3 คน 2 ชม.ๆละ 600บาท
  เป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่าวัสดุในการอบรม  รายละเอียดดังต่อไปนี้   4.1 ปากกาจำนวน  60 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 600  บาท   4.2 ถุงผ้าใส่เอกสารจำนวน 60 ใบๆละ 60 บาท
        เป็นเงิน 3,600  บาท   4.3 ถ่านไฟ AAA  แพ็คละ 45 บาท จำนวน  2 แพ็ค
       เป็นเงิน 90 บาท   4.4 กระดาษ A 4 จำนวน 1 ดรีมๆละ 150 บาท        เป็นเงิน 150 บาท                           เป็นเงิน 4,440 บาท 5.ไวนิล ขนาด 1 x 3 เมตรจำนวน 1 แผ่น ๆละ  390  บาท                                      รวมเป็นเงิน  15,030 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15030.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.ทราบบทบาทและภารกิจของ แกนนำสุขภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชนตามบริบท
และสภาพปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลง
2.แกนนำสุขภาพมีความรู้ ทักษะที่จำเป็นและเร่งด่วนของแกนนำสุขภาพในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม
กับสภาพปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่
3. แกนนำสุขภาพมีระบบการเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน


>