กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในเยาวชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังมะปราง

รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

“การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” กรมอนามัยได้กำหนดนิยาม หมายถึง จำนวนการคลอดบุตรมีชีวิตของหญิงอายุ 15-19 ปี หรือ 10-14 ปี ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี (Adolescent birth rate) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 โดยได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่เพียงแต่เป็นปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังเป็นปัญหาด้านประชากรที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอีกด้วย
ในปี 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง ปีงบประมาณ 2563 มีหญิงคลอดทั่งหมด 31 คน มีจำนวนการคลอดในหญิงอายุ น้อยกว่า 20 ปี จำนวน 5 คน จำนวนการคลอดในหญิงอายุ 15 - 17 ปี จำนวน 3 คน จำนวนการคลอดในหญิงอายุ 18 - 19 ปี จำนวน 1 คนและพบว่าหญิงตั้งครรภ์ ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564 พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์ อายุ 12-14 ปี จำนวน 1 คน และอายุ 15-19 ปี จำนวน 3 คน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยประวัติตั้งครรภ์ มีทั้งการคลอดก่อนและหลังการสมรส โดยส่วนหนึ่งเป็น การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา ประกอบกับขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสมจากครอบครัว รวมถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง จึงอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งหลวง ตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในเยาวชน โดยเน้นเป้าหมายนักเรียนในโรงเรียน ให้มีองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษา การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทักษะการปฏิบัติตนที่เหมาะสม และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ครั้งที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ วัยรุ่น 1.อบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ครั้งที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ วัยรุ่น 1.อบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน ๆละ 1 มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน  1,25๐ บาท 2.ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ  ขนาด 1 x 3 เมตร  เป็นเงิน 390  บาท 3.วัสดุอุปกรณ์ 4,000 บาท มีรายละเอียดดังนี้ 3.1 ปากกา 50 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท 3.2 ถุงผ้าในใส่เอกสาร จำนวน 50 ใบๆละ 60 บาท
     เป็นเงิน 3,000 บาท 3.3 สมุดปกอ่อน 50 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท 4.ค่าวิทยากร 1 คน 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท                                      รวมเป็นเงิน   6,840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6840.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ครั้งที่ 2 ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผลกระทบอันเกิดจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 1.อบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดอบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ครั้งที่ 2 ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผลกระทบอันเกิดจากการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 1.อบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน ๆละ 1 มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน  1,25๐ บาท 4.ค่าวิทยากร 1 คน 2 ชม.ๆละ600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท                                      รวมเป็นเงิน   2,450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2450.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ครั้งที่ 3 ความรู้ ทักษะ และ การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 1.อบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ครั้งที่ 3 ความรู้ ทักษะ และ การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 1.อบรมเชิงปฏิบัติการนักเรียนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 2.ทำแบบทดสอบก่อนและหลังการจัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน ๆละ 1 มื้อๆละ25 บาท เป็นเงิน  1,25๐ บาท 2.ค่าจัดทำประกาศนียบัตร จำนวน 50 ใบๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท 4.ค่าวิทยากร 1 คน 2 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท                                      รวมเป็นเงิน   2,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 .เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์) และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
2.การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น มีจำนวนลดลง
. 3.เยาวชนและชุมชนเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์) และการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัย
3. อันควร
4. เยาวชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โรคเอดส์) และการป้องกันการ
ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
5. เยาวชนและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจ สามารถปรับตัว ปรับเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน.


>