กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลตนเอง RDU ฉบับอสม.เชี่ยวชาญตำบลปิยามุมัง ปี ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง

ตำบลปิยามุมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจปัญหาในชุมชนที่เกี่ยวกับงานคบส. คปสอ.ยะหริ่ง ปี 2561 พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดเรียงลำดับได้ ดังนี้ 1. ร้านชำจำหน่ายอาหารพร้อมบริโภคไม่มีเลข อย./วัน เดือน ปี ผลิต หมดอายุ คิดเป็น 100% ของปัญหาทั้งหมด นั่นคือ ทุกตำบลในอำเภอยะหริ่งพบปัญหาเดียวกันนี้ 2. ผู้ประกอบการไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ คิดเป็น 83.3% 3.ร้านชำจำหน่ายยาอันตราย/ยาชุด/ยาปฏิชีวนะในชุมชน คิดเป็น 77.8% 4. ร้านชำจำหน่ายอาหารที่ไม่มีฉลาก/เครื่องหมาย อย คิดเป็น 50%. 5. ร้านชำจำหน่ายอาหารนำเข้าจากมาเลเซีย เป็นต้น จากปัญหาข้างต้นจะเห็นได้ว่าร้านชำเป็นหนึ่งในแหล่งกระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน และมีผลต่อผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากสะดวก มีความคุ้นเคย จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำและประชาชนให้มีองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเชื่อมต่อกับการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU) โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย อีกทั้ง ส่งผลให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตามสโลแกนงานคุ้มครองผู้บริโภค คปสอ.ยะหริ่ง ที่ว่า “ผู้บริโภคยุคใหม่ รู้ซื้อ รู้ใช้ รู้ระวังภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน”
ตำบลปิยามุมังมีจำนวนร้านชำจำนวน 33 ร้าน จากการสำรวจร้านชำปี 2563 พบจำนวนร้านที่ขายยาอันตรายจำนวน 10 ร้าน ร้อยละ 30.30 ถือว่าเป็นเปอร์เซ็นที่สูง โดยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบเป็นยาชุด ยาลูกกลอน ยาที่นำเข้า/ ผลิตจากมาเลเซีย เป็นยาที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด ทำให้ได้รับความนิยมบวกกับการหาซื้อง่ายตามร้านชำในหมู่บ้านด้วยเหตุนี้ส่งผลให้เกิดการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมกับโรคที่เป็น เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่อมไร้ท่อต่างๆ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย และเพื่อเป็นการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างปลอดภัย ทั้งทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนผู้มารับบริการ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมังจึงได้จัดทำโครงการนี้เป็นการแปรรูปสมุนไพรเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้มีการใช้ยาสมุนไพรแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันในครัวเรือนได้ถูกต้อง
2.เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเกิดการรวมกลุ่มสร้างเสริมสุขภาพที่ดี
3.เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันในการบรรเทาโรค
4.เพื่อพัฒนาร้านชำในชุมชน ให้มีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1.ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ ๑.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสาธิตฝึกปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 6๐ คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสาธิตฝึกปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 6๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย
จำนวน 60 คน x 50 บาท x 1 มื้อ                       เป็นเงิน 3,000.- บาท     -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย
จำนวน 60 คน x 25 บาท x 2 มื้อ                  เป็นเงิน  3,000 .- บาท     -ค่าวิทยากรฝึกปฏิบัติ 2 คน x 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600    เป็นเงิน 3,600.- บาท     -ค่าวัสดุอุปกรณ์การบรรจุ น้ำมันไพร ยาดมสมุนไพร (ขวดแก้ว)   เป็นเงิน 1,500.- บาท
-ค่าวัตถุดิบสาธิตการทำน้ำมันไพร ยาดมสมุนไพร เช่น เมนทอล พิมเสน การบูร วาสลีน    เป็นเงิน  8,000.- บาท     -ค่าเอกสารประกอบจำนวน 60 ชุดๆละ 5 บาท          เป็นเงิน 300.-  บาท     -ค่าป้ายโครงการขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร 1 ผืน      เป็นเงิน 750.-  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20150.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่2. พัฒนาร้านชำต้นแบบในชุมชน ตามเกณฑ์คุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่2. พัฒนาร้านชำต้นแบบในชุมชน ตามเกณฑ์คุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ลงสำรวจชี้แจงเกณฑ์ร้านชำคุณภาพ เป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน 33 ร้าน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 825.- บาท -ค่าตอบแทนติดตามสุ่มสำรวจร้านชำ จำนวน 5 คน x 100 บาท x 2 ครั้ง
เป็นเงิน 1,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1825.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,975.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันไพร ยาดมสมุนไพร ทำให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดี
2.ผู้ประกอบการมีความรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภคร้านชำในตำบลมีคุณภาพ


>