กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลตนเอง RDU ฉบับอสม.เชี่ยวชาญตำบลปิยามุมัง ปี ๒๕๖๔
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจปัญหาในชุมชนที่เกี่ยวกับงานคบส. คปสอ.ยะหริ่ง ปี 2561 พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุดเรียงลำดับได้ ดังนี้ 1. ร้านชำจำหน่ายอาหารพร้อมบริโภคไม่มีเลข อย./วัน เดือน ปี ผลิต หมดอายุ คิดเป็น 100% ของปัญหาทั้งหมด นั่นคือ ทุกตำบลในอำเภอยะหริ่งพบปัญหาเดียวกันนี้ 2. ผู้ประกอบการไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ คิดเป็น 83.3% 3.ร้านชำจำหน่ายยาอันตราย/ยาชุด/ยาปฏิชีวนะในชุมชน คิดเป็น 77.8% 4. ร้านชำจำหน่ายอาหารที่ไม่มีฉลาก/เครื่องหมาย อย คิดเป็น 50%. 5. ร้านชำจำหน่ายอาหารนำเข้าจากมาเลเซีย เป็นต้น จากปัญหาข้างต้นจะเห็นได้ว่าร้านชำเป็นหนึ่งในแหล่งกระจายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน และมีผลต่อผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากสะดวก มีความคุ้นเคย จึงจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำและประชาชนให้มีองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเชื่อมต่อกับการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use : RDU) โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย อีกทั้ง ส่งผลให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตามสโลแกนงานคุ้มครองผู้บริโภค คปสอ.ยะหริ่ง ที่ว่า “ผู้บริโภคยุคใหม่ รู้ซื้อ รู้ใช้ รู้ระวังภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน”
ตำบลปิยามุมังมีจำนวนร้านชำจำนวน 33 ร้าน จากการสำรวจร้านชำปี 2563 พบจำนวนร้านที่ขายยาอันตรายจำนวน 10 ร้าน ร้อยละ 30.30 ถือว่าเป็นเปอร์เซ็นที่สูง โดยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบเป็นยาชุด ยาลูกกลอน ยาที่นำเข้า/ ผลิตจากมาเลเซีย เป็นยาที่มีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายชนิด ทำให้ได้รับความนิยมบวกกับการหาซื้อง่ายตามร้านชำในหมู่บ้านด้วยเหตุนี้ส่งผลให้เกิดการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมกับโรคที่เป็น เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่อมไร้ท่อต่างๆ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมัง ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย และเพื่อเป็นการส่งเสริมการแพทย์แผนไทย การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างปลอดภัย ทั้งทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนผู้มารับบริการ ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปิยามุมังจึงได้จัดทำโครงการนี้เป็นการแปรรูปสมุนไพรเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 98 21,975.00 2 21,975.00
7 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ ๑.จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสาธิตฝึกปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 6๐ คน 60 20,150.00 20,150.00
7 ส.ค. 66 กิจกรรมที่2. พัฒนาร้านชำต้นแบบในชุมชน ตามเกณฑ์คุณภาพ 38 1,825.00 1,825.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันไพร ยาดมสมุนไพร ทำให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเกิดการรวมกลุ่มเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดี 2.ผู้ประกอบการมีความรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภคร้านชำในตำบลมีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 11:42 น.