กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ส่งเสริมและการป้องกันสุขภาพการใช้โทรศัพท์มือถือ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

กองทุนสร้างความเข้มแข็งบ้านกูเว

1.นายแวอาลีวาเต๊ะ ประธานกองทุนฯ
2.นายแวยูโซ๊ะวาจิรองประธานกองทุนฯ
3.นายซุลกิปลี ยูโซีะเลขานุการฯ
4.นายอาฮามัด มะวาซอกรรมการ
5.นายอัยมาน บูละกรรมการ

บ้านกูเว หมู่ที่ 4 ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

50.00
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

50.00

ด้วยสภาพการดำเนินชีวิตภายของประชาชนชุมชนในปัจจุบัน เห็นว่าเทคโลโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีกับการใช้โทรศัพท์มือถือ ทุกคน ทุกครัวเรื่อนมีการใช้งานกัน แต่ด้วยสภาพกับการใช้งานของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือนั้น ร้อยละ 70-80 เปอร์เซ็นสนใจแต่มองหน้าจอโทรศัพท์โดยไม่ห่วงที่จะหันมาดูแลสุขภาพของต้นเอง และการดูแลใส่ใจคนในครอบครัว ไม่สามารถที่จะสร้างเข้าใจแยกแยะข้อดี และขอเสียที่อาจเกิด และได้รับผลกระทบจากการใช้โทรศพท์เป็นเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเรียน พ่อแม่ไม่ค่อยจะเอาใส่ใจ ไม่ค่อยอบรมถึงข้อดี ขอเสียปล่อยปะละเลยเพื่อให้ต้นเองนั้นไม่เกิดความรำคาญการเอาแต่ใจของลูก ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันการใช้โทรศัพท์มันทำลายชีวิตโดยไม่รู็สึกตัว เช่น ไม่สนใจในการออกกำลังกาย ขาดการพบปะ พูดคุยอย่างสร้างสรรค์ ไม่สนใจเพื่อฟูน ก้าวร้าวต่อพอแม่ ปวดสายตา สายตาสั้น เป็นต้น
ด้วยเหตุผลนี้กรรมการกองทุนฯได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึ้งได้จัดโครงการ ส่งเสริมและการป้องกันสุขภาพการใช้โทรศัพท์มือถือ นี้ขึ้น เพื่อที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มความสามรถในการป้องกัน ดูแลสุขภาพอนามัยกับการใช้โทรศัพท์มือถือ ให้กับเด็กและผู้ปกครองบ้านกูเว หมู่ที่ 4 ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

50.00 70.00
2 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

50.00 80.00
3 ส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจและเพิ่มความสามรถในการป้องกันดูแลสุขภาพอนามัยกับการใช้'โทรศัพท์มือถือ

ร้อยละของเด็กและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและเพิ่มความสามรถในการป้องกันดูแลสุขภาพอนามัยกับการใช้'โทรศัพท์มือถือ

60.00 80.00
4 เพื่อส่งเสริมการลดจำนวนเวลากับการใช้โทรศัพท์มือถือบุคคลที่อยู่ในภาวะเสี่ยง

ร้อยละของเด็กสามารถลดจำนวนเวลากับการใช้โทรศัพท์มือถือได้

60.00 80.00

1.เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจและเพิ่มความสามรถในการป้องกันดูแลสุขภาพอนามัยกับการใช้'โทรศัพท์มือถือ
2.เพื่อส่งเสริมการลดจำนวนเวลากับการใช้โทรศัพท์มือถือบุคคลที่อยู่ในภาวะเสี่ยง
3.เพื่อสนับสนุนให้เกิดและเห็นความความสำคัญในการออกกำลังกายมากขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ประสานงาน และจัดประชุม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ประสานงาน และจัดประชุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุม/วางแผนคณะทำงาน

2.กิจกรรมประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการฯให้ประชาชนทั่วไปรับทราบ

3.ประสานบุคคลเป้าหมาย

4.จัดทำทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 11 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 กรรมการมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ
ร้อยละ 85 ประขาชนหรือบุคคลเป้าหมายเข้าใจในกระบวการจัดโครงการ
ร้อยละ 80 เด็กวัยเรียนและประชาชนวันทำงานสามารถเข้าร่วมโครงการได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสาร

ชื่อกิจกรรม
การอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าวิทยากร 5 ชม. x 600 บาทเป็นเงิน 3000บาท

2.ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม 50 คน x 60 บาท เป็นเงิน 3000 บาท

3.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 2500 บาท

4.ค่าป้ายไวนิล 3 x 1.5 เมตร เป็นเงิน 1125 บาท

5.ค่าเอกสาร วัสดุ (สมุด ปากกา ) 50 คน x 85 บาท เป็นเงิน 4250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 70 ของเด็กและวัยรุ่น มีกิจกรรมทางกายเพียงพอระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน

2.ร้อยละ 70 ของเพิ่มออกกำลังกายในการดูแลสุขภาพ

3.ร้อยละ 80 ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงข้อดี ขอเสียเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13875.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,875.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและเพิ่มความสามรถในการป้องกันดูแลสุขภาพอนามัยกับการใช้'โทรศัพท์มือถือได้มากขึ้น
2.สามารถลดจำนวนเวลากับการใช้โทรศัพท์มือถือบุคคลที่อยู่ในภาวะเสี่ยง
3.สนับสนุนให้เกิดและเห็นความความสำคัญในการออกกำลังกายมากขึ้น
4.ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงข้อดี ขอเสียเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือมากขึ้น


>