กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแกนนำสูงวัย ฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

โรงพยาบาลศรีบรรพต

ตำบลเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ ให้การยกย่องนับถือเนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่สังคมจำเป็นต้องเตรียมการและนำไปสู่การใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สุขภาพช่องปากจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของสุขภาพโดยรวม ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาในช่องปากและเนื้อเยื่อ เช่น น้ำลาย การรับรส เนื้อเยื่ออ่อนและเนื้อเยื่อแข็งในช่องปากรวมถึงฟัน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายขึ้น ซึ่งประเด็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ การสูญเสียฟัน ฟันผุและรากฟันผุ โรคปริทันต์ แผลและมะเร็งช่องปาก สภาวะน้ำลายแห้ง ฟันสึก และสภาวะช่องปากอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ในปี 2560 ที่ได้ทำการสำรวจในผู้สูงอายุพบว่ามีปัญหาการสูญเสียฟันที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะขาดสารอาหาร การมีปัญหาในการสื่อสาร การเข้าสังคม รวมถึงการมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันระหว่างโรคเรื้อรังกับโรคในช่องปาก โดยที่การสูญเสียฟันโดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปากในกลุ่มอายุ 80-85 ปี เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 31.0 ส่วนฟันถาวรที่เหลืออยู่จำนวนหนึ่งก็มีปัญหา ซึ่งในจำนวนนี้มีฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาคิดเป็นร้อยละ52.6 และโรคปริทันต์อักเสบร้อยละ 36.3 โดยที่รอยโรคเหล่านี้มีการสะสมมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป ซึ่งโรคในช่องปากเหล่านี้ก็สามารถนำไปสู่การสูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุได้อีกเช่นกัน นอกจากนี้การตรวจเนื้อเยื่อในช่องปากของผู้สูงอายุพบว่าบางส่วนมีเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ซึ่งแม้จะพบจำนวนไม่มากแต่หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งช่องปากได้
ผลการสำรวจเป็นไปในทางเดียวกันกับผู้สูงอายุในอำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ดังนั้นผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมเพื่อลดโอกาสการเกิดความเจ็บปวด การสูญเสียฟัน ซึ่งส่งผลต่อระบบสุขภาพ และคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุ โดยวิธีการป้องกันโรคในช่องปากสำคัญ คือการทำความสะอาดช่องปากด้วยวิธีการที่เหมาะสม ร่วมกับการส่งเสริมทันตสุขภาพโดยวิธีการให้ความรู้และวิธีปฏิบัติในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วย รวมถึงการให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองรอยโรคและลดปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการลดการสูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุ แผนกทันตกรรมโรงพยาบาลศรีบรรพตจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพปากและฟัน จึงเห็นสมควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุตำบลเขาปู่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี มีสุขภาพช่องปากดี จึงได้จัดทำโครงการ แกนนำสูงวัย ฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้และสามารถเป็นกระบอกเสียงในการดูแลสุขภาพช่องปากจากสูงวัยสู่ทุกวัย โดยสามารถให้ความรู้แก่คนในครอบครัวหรือแม้แต่เพื่อนวัยเดียวกัน ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลให้คนรุ่นหลังสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างเหมาะสมซึ่งจะลดการสูญเสียฟัน และส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตโดยรวมดียิ่งขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ตำบลเขาปู่

-ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องโรคในช่องปาก -ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม -ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับการส่งเสริมการป้องกันโรคเบื้องต้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1การสำรวจตนเองและค้นหาปัญหา กิจกรรมที่ 2การตรวจสุขภาพช่องปาก กิจกรรมที่ 3ให้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมที่ 4ให้การส่งเสริมการป้องกันโรคเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1การสำรวจตนเองและค้นหาปัญหา กิจกรรมที่ 2การตรวจสุขภาพช่องปาก กิจกรรมที่ 3ให้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมที่ 4ให้การส่งเสริมการป้องกันโรคเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ค่าวัสดุทันตกรรม (ฟลูออไรด์วาร์นิช) จำนวน 4 หลอด x 695 บาท = 2,780 บาท 2 ค่าวัสดุทันตกรรม (ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์) จำนวน 1 ขวด x 2,000 บาท = 2,000 บาท
3 แปรงทาฟลูออไรด์ (micro brush) จำนวน 1 กล่อง x 120 บาท = 120 บาท 4 กระดาษเช็ดพื้นผิว จำนวน 2 กระปุก x 250 บาท = 500 บาท 5 ชุดทำความสะอาดช่องปาก จำนวน 50 ชุด × 45 บาท = 2,250 บาท 6 แปรงซอกฟัน 1 กล่อง × 750 บาท = 750 บาท 7 ชุดไหมขัดฟัน 5 ชุด × 55 บาท = 275 บาท 8 โมเดลสอนแปรงฟัน จำนวน 2 ชุด × 1,350 = ราคา 2,700 บาท 9 อุปกรณ์สร้างสื่อทันตสุขภาพ 2,625 บาท 10 ค่าสถานที่จัดอบรม 1,000 บาท หมายเหตุ: ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่อง โรคในช่องปากและการดูแลช่องปากได้อย่างถูกต้อง
2 ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้องและสามารถเป็นกระบอกเสียงในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้อื่นได้
3 เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุภายในชมรมผู้สูงอายุและให้การส่งเสริมการป้องกันโรคเบื้องต้น


>