โครงการแกนนำสูงวัย ฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก
ชื่อโครงการ | โครงการแกนนำสูงวัย ฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก |
รหัสโครงการ | 64-L3366-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลศรีบรรพต |
วันที่อนุมัติ | 17 มีนาคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ธันวาคม 2564 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายแพทย์ชุติมันต์ พงศ์ไตรภูมิ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ ให้การยกย่องนับถือเนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่สังคมจำเป็นต้องเตรียมการและนำไปสู่การใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สุขภาพช่องปากจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของสุขภาพโดยรวม ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาในช่องปากและเนื้อเยื่อ เช่น น้ำลาย การรับรส เนื้อเยื่ออ่อนและเนื้อเยื่อแข็งในช่องปากรวมถึงฟัน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายขึ้น ซึ่งประเด็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ การสูญเสียฟัน ฟันผุและรากฟันผุ โรคปริทันต์ แผลและมะเร็งช่องปาก สภาวะน้ำลายแห้ง ฟันสึก และสภาวะช่องปากอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับโรคทางระบบ จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 ในปี 2560 ที่ได้ทำการสำรวจในผู้สูงอายุพบว่ามีปัญหาการสูญเสียฟันที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของภาวะขาดสารอาหาร การมีปัญหาในการสื่อสาร การเข้าสังคม รวมถึงการมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันระหว่างโรคเรื้อรังกับโรคในช่องปาก โดยที่การสูญเสียฟันโดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปากในกลุ่มอายุ 80-85 ปี เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 31.0 ส่วนฟันถาวรที่เหลืออยู่จำนวนหนึ่งก็มีปัญหา ซึ่งในจำนวนนี้มีฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาคิดเป็นร้อยละ52.6 และโรคปริทันต์อักเสบร้อยละ 36.3 โดยที่รอยโรคเหล่านี้มีการสะสมมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ และมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป ซึ่งโรคในช่องปากเหล่านี้ก็สามารถนำไปสู่การสูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุได้อีกเช่นกัน นอกจากนี้การตรวจเนื้อเยื่อในช่องปากของผู้สูงอายุพบว่าบางส่วนมีเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ซึ่งแม้จะพบจำนวนไม่มากแต่หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งช่องปากได้
ผลการสำรวจเป็นไปในทางเดียวกันกับผู้สูงอายุในอำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ดังนั้นผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมเพื่อลดโอกาสการเกิดความเจ็บปวด การสูญเสียฟัน ซึ่งส่งผลต่อระบบสุขภาพ และคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุ โดยวิธีการป้องกันโรคในช่องปากสำคัญ คือการทำความสะอาดช่องปากด้วยวิธีการที่เหมาะสม ร่วมกับการส่งเสริมทันตสุขภาพโดยวิธีการให้ความรู้และวิธีปฏิบัติในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วย รวมถึงการให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองรอยโรคและลดปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการลดการสูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุ แผนกทันตกรรมโรงพยาบาลศรีบรรพตจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพปากและฟัน จึงเห็นสมควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุตำบลเขาปู่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี มีสุขภาพช่องปากดี จึงได้จัดทำโครงการ แกนนำสูงวัย ฟันสวย ยิ้มใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้และสามารถเป็นกระบอกเสียงในการดูแลสุขภาพช่องปากจากสูงวัยสู่ทุกวัย โดยสามารถให้ความรู้แก่คนในครอบครัวหรือแม้แต่เพื่อนวัยเดียวกัน ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลให้คนรุ่นหลังสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างเหมาะสมซึ่งจะลดการสูญเสียฟัน และส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตโดยรวมดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ตำบลเขาปู่ -ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องโรคในช่องปาก -ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม -ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับการส่งเสริมการป้องกันโรคเบื้องต้น |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 | กิจกรรมที่ 1การสำรวจตนเองและค้นหาปัญหา กิจกรรมที่ 2การตรวจสุขภาพช่องปาก กิจกรรมที่ 3ให้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมที่ 4ให้การส่งเสริมการป้องกันโรคเบื้องต้น | 0 | 15,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 15,000.00 | 0 | 0.00 |
1 ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่อง โรคในช่องปากและการดูแลช่องปากได้อย่างถูกต้อง 2 ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้องและสามารถเป็นกระบอกเสียงในการดูแลสุขภาพช่องปากแก่ผู้อื่นได้ 3 เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุภายในชมรมผู้สูงอายุและให้การส่งเสริมการป้องกันโรคเบื้องต้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2564 10:38 น.