กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อบรมให้ความรู้เฝ้าระวังและแก้ปัญหาการบริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

โรงเรียนอนุบาลควนขนุน

นายจินดา แสงขาว

โรงเรียนอนุบาลควนขนุน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งเป็นผู้สื่อสารไปยังเพื่อนนักเรียนครอบครัวและชุมชนตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตาให้อย.น้อยโดยการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง
เพื่อให้นักเรียนสมาชิกอย.น้อยมีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพประกอบกับอย.น้อยจะมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำหน้าที่ทำให้การทำงานบางครั้งไม่ต่อเนื่องเพราะการขาดความรู้และทักษะที่จะนำไปปฏิบัติดังนั้นกลุ่มบริหารงานทั่วไป / งานอนามัยโรงเรียนโรงเรียนอนุบาลควนขนุนได้กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้มีศักยภาพในตัวเองสามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผลจึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการบริโภค โดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้เพื่อให้กลุ่มนักเรียนอย.น้อยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับการจัดอบรมอย.น้อยในโรงเรียนเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่ อย.น้อยและช่วยให้โรงเรียนตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. ให้นักเรียนกลุ่ม อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์ สามารถเลือกซื้อหรือเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว

1.ร้อยละของ นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนเป็นประจำทุกวัน

30.00 70.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อย ไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในโรงเรียน

2.  นักเรียนมีอนามัย  สุขภาพร่างกายแข็งแรงตามหลักสุขบัญญัติ  10  ประการ

10.00 70.00
3 3 เพื่อให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู พ่อค้า ผู้ปกครองและบุคลากรภายในโรงเรียนและชุมชนในเรื่องการเฝ้าระวังความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและชุมชน

3.  นักเรียนมีสุขภาพกาย  สุขภาพจิตที่ดี  ร่าเริง  แจ่มใส  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน  ครูและผู้อื่น

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 144
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/07/2021

กำหนดเสร็จ 16/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เฝ้าระวังและแก้ใขปัญหาการบริโภค

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เฝ้าระวังและแก้ใขปัญหาการบริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโตนดด้วน บาท 1. ค่าอาหารว่าง2มื้อๆละ 25 บาทจำนวน 144คน เป็นเงิน7,200 บาท 2. ค่าทำป้ายโครงการ 1ป้ายขนาด 1 x 3.5 เมตร เป็นเงิน 500บาท 3. ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน2 คน จำนวน6ชั่วโมง คนละ 1,800 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4. ค่าเอกสาร 144ชุด ชุดละ 12 บาท ราคา 1,728บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2564 ถึง 16 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนได้รับความรู้ความข้าใจและมีทัศนคติต่อการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
  2. สมาชิกของกลุ่มมีความตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียง
  3. สมาชิกแกนนำสามารถตรวจวิเคราะห์อาหาร อย่างน้อยเรื่องสารบอแรกช์สารฟอกขาวฟอร์มาลินได้
  4. นักเรียน ครู ผู้ประกอบการ ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13028.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,028.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนได้รับความรู้ความข้าใจและมีทัศนคติต่อการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย
2.สมาชิกของกลุ่มมีความตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียง
3.สมาชิกแกนนำสามารถตรวจวิเคราะห์อาหาร อย่างน้อยเรื่องสารบอแรกช์สารฟอกขาวฟอร์มาลินได้
4. นักเรียน ครู ผู้ประกอบการ ผู้ปกครอง และบุคลากรในโรงเรียน


>